"หมอนิธิ"เผยนับจากเดือนมิถุนายน ผู้ติดเชื้อโควิด มีโอกาสรอดชีวิตสูงกว่าการติดเชื้อในเดือนเมษาฯ


เพิ่มเพื่อน    

 

26ก.ค.63-ศ.นพ.นิธิ  มหานนท์ ผู้อำนวยการ รพ.จุฬาภรณ์ ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว เกี่ยวกับการรักษาผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในปัจจุบัน ที่ผู้ติดเชื้อ จะมีโอกาสรอดขีวิตสูงขึ้น ดังนี้ 

 

Covid...Now & Then

มีผู้สรุปข้อมูลเกี่ยวกับเจ้าโควิด-๑๙ ไว้ ถ้ารู้แล้วจะได้ไม่ตื่นเต้นตกใจกลัวจากต่างชาติสองรายที่เพิ่ง โผล่มา

หลังจากระลอกแรกของการระบาดผ่านพ้นไป และพบว่าผู้ที่ติดเชื้อหลังจากเกิดการระบาดไปแล้วสาม เดือน คือประมาณเดือนมิถุนายน มีโอกาสรอดชีวิตสูงกว่าผู้ที่ติดเชื้อในช่วงสามเดือนแรก คือในเดือน กุมภาพันธ์ เนื่องจากแพทย์และนักวิทยาศาสตร์ทั้งหลายเรียนรู้เกี่ยวกับเจ้าโควิด-๑๙ มากขึ้นกว่าเมื่อ สามเดือนก่อน (เสียดายเป็นข้อมูลจากต่างชาติเกือบทั้งสิ้นทั้งๆที่บ้านเรามีการระบาดเป็นประเทศต้นๆ ในโลก) จึงสามารถรักษาผู้ป่วยที่ติดเชื้อได้ดีขึ้น ข้อมูลที่กล่าวถึงนั้นพอสรุปได้ว่า

1. แรกเริ่ม เราคิดว่าเจ้าโควิด-๑๙ ทำให้ผู้ติดเชื้อเสียชีวิตด้วยโรคปอดอักเสบ เครื่องช่วยหายใจ จึงเป็นวิธีการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับผู้ป่วยที่หายใจลำบาก ตอนนี้ เรารู้แล้วว่า เจ้าไวรัสนี้ก่อให้ เกิดลิ่มเลือดในเส้นเลือดของปอดและส่วนอื่นๆของร่างกาย ทำให้การสร้างออกซิเจนน้อยลง และการให้ออกซิเจนด้วยเครื่องช่วยหายใจไม่สามารถช่วยได้ ถ้าเราไม่ป้องกันหรือกำจัดลิ่ม เลือดที่อุดตัน ดังนั้นเราจึงใช้ยาจำพวกแอสไพริน และเฮพารินที่ช่วยป้องกันลิ่มเลือดไม่ให้เป็น มากขึ้น แล้วให้ร่างกายค่อยๆละลายลิ่มเลือดไปเอง นี่เป็นหลักสำคัญในกระบวนการรักษา

2. ช่วงแรกของการระบาด เราเห็นผู้ป่วยที่ล้มตายกลางถนน หรือก่อนไปถึงโรงพยาบาลเนื่องจาก ขาดออกซิเจนในเลือด เพราะผู้ติดเชื้อโควิด-๑๙ มีภาวะ “Happy Hypoxia” คือมีการพร่อง ออกซิเจนในเลือดโดยไม่แสดงอาการจนกว่าจะเข้าขั้นวิกฤต หรือความเข้มข้นของออกซิเจนใน เลือดลดลงถึงระดับ ๗๐ เปอร์เซนต์ ซึ่งปกติคนเราจะเริ่มหายใจไม่ออก หากมีความเข้มข้นของ ออกซิเจนในเลือดต่ำกว่า ๙๐ เปอร์เซนต์ ด้วยเหตุนี้ ทำให้ผู้ที่ป่วยในช่วงเดือนกุมภาพันธ์จึงไป รับการรักษาที่โรงพยาบาลช้าไปไม่ทันการณ์ เพราะช่วงแรกๆนั้นเรากลัวกันว่าเตียงโรง พยาบาลรับคนไข้ได้ไม่พอ จึงให้เฉพาะคนไข้ที่มีอาการแล้วหรืออาการหนักเท่านั้นเข้ารักษาใน โรงพยาบาล ปัจจุบัน แพทย์เฝ้าระวังระดับความเข้มข้นของออกซิเจนในเลือดของผู้ป่วยโควิด ทุกราย โดยให้ผู้ติดเชื้อใช้เครื่องวัดออกซิเจน(Pulse Oximeter) ตรวจวัดความอิ่มตัวของ ออกซิเจนในเลือดเองที่บ้าน และนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลทันที หากระดับออกซิเจนลดต่ำกว่า ๙๓ เปอร์เซนต์ ซึ่งทำให้แพทย์มีเวลาพอที่จะปรับระดับออกซิเจนในเลือดเพื่อช่วยให้ผู้ป่วยมี โอกาสรอดชีวิตมากขึ้นและให้การรักษาอื่นๆได้ทันท่วงที

3. ในเดือนกุมภาพันธ์ เราไม่มียาใดๆ ในการต่อสู้กับเจ้าไวรัสโคโรนา ได้แต่รักษาไปตามอาการ ต่างๆ ที่เกิดจากการพร่องของออกซิเจนในเลือด ดังนั้น ผู้ป่วยส่วนใหญ่จึงมีอาการติดเชื้ออย่าง รุนแรง แต่ตอนนี้ เรามียาที่สำคัญ ๒ ตัวคือฟาวิพิราเวียร์ และ เรมดีซิเวียร์ ซึ่งเป็นยาต้านไวรัสที่ มีฤทธิ์ฆ่าโคโรนาไวรัส สามารถใช้ป้องกันผู้ป่วยไม่ให้เข้าสู่ภาวะวิกฤต และรักษาผู้ป่วยก่อนมี อาการขาดออกซิเจนในเลือด แต่เราเพิ่งจะเรียนรู้เรื่องนี้ในเดือนมิถุนายน และตอนนี้ก็มีแนวคิด ที่ว่าจะต้องให้ยาโดยเร็วที่สุด เพื่อกำจัดเชื้อหรือทำให้เชื้อเหลือน้อยโดยเร็ว เหมือนกับการ รักษาไข้หวัดใหญ่ที่เราให้ยาต้านไวรัสกับคนที่สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงทันทีแม้จะ ไม่มีอาการ

4. ผู้ป่วยจำนวนมากไม่ได้เสียชีวิตเพราะเจ้าไวรัสโคโรน่าเพียงอย่างเดียว แต่มีสาเหตุจาก ปฏิกิริยาตอบสนองที่ผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันของผู้ป่วยเอง ที่เรียกว่า “พายุไซโตไคน์” หรือ Cytokine Storm ด้วย โดยเซลล์ภูมิคุ้มกันมีปฏิกิริยาตอบสนองที่รุนแรงต่อการติดเชื้อและหลั่ง สารไซโตไคน์หลายชนิดพร้อมกันทันทีเพื่อกำจัดเจ้าไวรัสให้หมดไปในปริมาณมากสู่กระแส เลือด ที่ไม่เพียงจะทำลายไวรัสเท่านั้นแต่ยังฆ่าผู้ป่วยด้วย ซึ่งในเดือนกุมภาพันธ์ แพทย์ยังไม่มี ทางป้องกันไม่ให้ภาวะนี้เกิดขึ้น ปัจจุบัน เราทราบแล้วว่า สเตียรอยด์ ซึ่งเป็นยาที่หาได้ง่ายที่สุด

 

 และแพทย์ทั่วโลกใช้กันมากว่า ๘๐ ปี สามารถใช้ป้องกันภาวะพายุไซโตไคน์ในผู้ป่วยบางราย ได้ และขณะนี้เราเริ่มรู้จังหวะเวลาที่เหมาะสมที่จะใช้ยาสเตียรอยด์กันแล้ว (ถ้าให้เร็วไปกลับจะ เกิดผลเสีย เพราะจะไปกดภูมิคุ้มกันของคนไข้ ทำให้ไวรัสเติบโตได้มากขึ้น)

5. ขณะนี้ เราทราบแล้วว่า ผู้ที่มีภาวะพร่องของออกซิเจนในเลือดจะมีอาการดีขึ้นเมื่อนอนคว่ำ [Prone Position] นอกจากนั้น นักวิทยาศาสตร์ชาวอิสราเอลยังค้นพบว่า สาร “อัลฟา ดีเฟน ซิน” ที่เม็ดเลือดขาวของผู้ป่วยผลิตขึ้นและเป็นสาเหตุของลิ่มเลือดอุดตันในปอดนั้น สามารถ ป้องกันได้ด้วยยา “โคลชิซิน” [Colchicine] ที่ใช้รักษาโรคเกาต์มาหลายสิบปี

ดังนั้น เราจึงมั่นใจได้ว่า ผู้ป่วยโควิด-๑๙ ในปัจจุบันจะมีโอกาสรอดชีวิตสูงกว่าผู้ป่วยในเดือน กุมภาพันธ์อย่างแน่นอน ขอเพียงเราระมัดระวังง่ายๆ แต่เคร่งครัด ดังนี้

1. รักษาระยะห่างจากผู้อื่นอย่างน้อย ๑.๕ เมตร

2. ใส่หน้ากากในที่สาธารณะและเมื่อต้องติดต่อใกล้ชิดกับผู้อื่นเสมอ

3. ทำงานที่บ้าน ถ้าเป็นไปได้

4. หลีกเลี่ยงที่สาธารณะที่จอแจแออัด สั่งอาหารและสินค้ามาส่งที่บ้านแทน

5. ล้างมือให้บ่อยและรักษาสุขอนามัยสม่ำเสมอ

6. อยู่บ้าน หากมีมาตรการล็อคดาวน์

สรุปคือทำตัวให้สะอาดไว้ อยู่อย่างสะอาดให้เป็นนิสัย เวลารับประทานอาหาร อย่าพูดคุยเสียงดัง(กันน้ำลยากระเด็น???) อย่าใช้มือหยิบอาหารเข้าปาก เวลาไอจามต้องเอาผ้าเช็ดหน้าปิดปากและหันหน้าออกจากคนอื่น เข้าบ้าน สิ่งแรกที่ควรทำคือล้างมือล้างเท้า หรือถ้าไปสถานที่สาธารณะเช่นวัด หรือโรงพยาบาล กลับถึงบ้าน แล้วก็ควรอาบน้ำ สระผม เปลี่ยนเสื้อผ้าทันที.......ผมจำได้ว่าตอนเป็นเด็ก พ่อแม่ ครูบาอาจารย์สอนผม ไว้แบบนี้ อย่าลืมกันนะครับ เพราะไวรัสตัวนี้ยังอยู่กับเราไปอีกนาน รอบสองรอบสามคงต้องมา แต่ไม่น่าใช่จากต่างชาติสองคนนี่แน่ๆครับ(อันนี้แค่น้ำจิ้มทดสอบระบบ???)

นิธิ มหานนท์ 15 กรกฎาคม 2563


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"