สวทช. จับมือ มหิดล พัฒนาวิธีสกัดอาร์เอ็นเอของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ จากตัวอย่างแบบง่าย และชุดตรวจโรค โควิด-19 ด้วยเทคนิคแลมป์เปลี่ยนสีในขั้นตอนเดียว


เพิ่มเพื่อน    

16 ก.ค.63 กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับมหาวิทยาลัยมหิดล แถลงข่าว  “ความสำเร็จการพัฒนาวิธีสกัดอาร์เอ็นเอของเชื้อโควิด-19 และชุดตรวจโควิด-19 แบบรวดเร็ว ด้วยเทคนิคแลมป์เปลี่ยนสีในขั้นตอนเดียว (COVID-19 XO-AMP colorimetric detection kit) ” เพื่อประหยัดงบประมาณและลดการนำเข้าชุดสกัดอาร์เอ็นเอ และชุดตรวจจากต่างประเทศ พร้อมด้วยการลงนามความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนาด้านสุขภาพและการแพทย์ ระหว่าง คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล กับ สวทช.


ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า ตั้งแต่เดือนมกราคมที่ผ่านมา ทีมนักวิจัย สวทช. ได้คิดค้นและวิจัยนวัตกรรมที่จะรับมือกับการแพร่ระบาดที่เกิดขึ้น โดยนำองค์ความรู้ในเทคโนโลยีสาขาต่าง ๆ มาประยุกต์ใช้เพื่อรับมือกับสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ซึ่งเป็นโรคอุบัติใหม่ ได้ทำงานแข่งกับเวลา เพื่อช่วยสนับสนุนการทำงานของด่านหน้า ทั้งแพทย์ พยาบาล และบุคลากรทางการแพทย์ ทั้งเรื่องการตรวจยืนยัน ตรวจติดตาม และประเมินความเสี่ยง สำหรับผลงานวิจัยการพัฒนาวิธีสกัดอาร์เอ็นเอ (RNA) ของเชื้อไวรัสจากตัวอย่างแบบง่าย และ ชุดตรวจโรคโควิด-19 ด้วยเทคนิคแลมป์เปลี่ยนสีในขั้นตอนเดียว ซึ่งการพัฒนาวิธีสกัดอาร์เอ็นเอนี้ ได้นำไปทดสอบกับตัวอย่างโดยคณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล และ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์พบว่าให้ผลไม่แตกต่างจากชุดสกัดที่นำเข้าจากต่างประเทศ ถือเป็นจุดแข็ง สนับสนุนความมั่นคงด้านสุขภาพ ช่วยให้ประเทศมีความพร้อมในการรับมือต่อการระบาดของโรค และลดค่าใช้จ่ายในการนำเข้าชุดสกัดจากต่างประเทศ 

ส่วนชุดตรวจโรคโควิด-19 ด้วยเทคนิคแลมป์เปลี่ยนสีในขั้นตอนเดียวเป็นเครื่องมือที่เหมาะสำหรับการตรวจเชิงรุก ชุดตรวจนี้ มีความจำเพาะ (Specificity) 100% ความไว (sensitivity) 92% และมีความแม่นยำ (accuracy) ที่ 97% สามารถแสดงผลได้ภายใน 75 นาที ได้ผลเร็วกว่า RT-PCR ถึง 2 เท่า สามารถอ่านผลได้ด้วยตาเปล่า ไม่ต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญ หากสีเปลี่ยนจากม่วงเป็นเหลือง แสดงว่ามีการติดเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 อุปกรณ์ที่ใช้ในการตรวจมีราคาเพียง 10,000 บาท ถูกกว่า RT-PCR ถึง 100 เท่า ต้นทุนน้ำยาที่ใช้สำหรับแลมป์ต่ำกว่าน้ำยาที่ใช้กับ RT-PCR ถึง  3 เท่า เมื่อคำนวณต้นทุนราคาแล้ว ชุดตรวจโรค COVID-19 ด้วยเทคนิคแลมป์เปลี่ยนสีในขั้นตอนเดียว ที่ไบโอเทคพัฒนาขึ้นนี้มีราคาถูกกว่าชุดตรวจแลมป์นำเข้า 1.5 เท่า อีกด้วยผลงานทั้งสองชิ้นนี้ช่วยให้ประเทศลดการนำเข้าชุดสกัดอาร์เอ็นเอ และชุดตรวจเชื้อจากต่างประเทศ หากมีการระบาดเพิ่มเติม หรือต้องการตรวจเชิงรุก ผลงานนี้พร้อมนำมาใช้ได้ทันที ถือเป็นการยกระดับการวิจัยเพื่อการใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ของประเทศ เปลี่ยนจากการเป็นประเทศผู้นำเข้าเพียงอย่างเดียว ให้เป็นผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ได้เอง และในอนาคตอาจจะส่งออกไปต่างประเทศได้อีกด้วย” ดร.ณรงค์ กล่าว 


ดร.สิทธิโชค ตั้งภัสสรเรือง ผู้อำนวยการศูนย์โอมิกส์แห่งชาติ สวทช. ให้ข้อมูลว่า  การสกัด RNA โดยใช้  Magnetic Bead เป็นวิธีการที่ทางทีมได้ใช้สกัดสาร RNA และ DNA ในพืชและสัตว์ อยู่แล้วประจำ ซึ่งเป็นครั้งแรกที่ได้มีการทดลองนำไปใช้กับคน โดยการสกัด RNA จากพืชบางชนิดมีแป้งสูง ทำให้ต้องเติมสารละลายบ้างอย่าง เพื่อช่วยดูดซับแป้งออก ขณะที่ของคนเป็นเซลล์ย่อยสลายไลสิสง่ายกว่าพืช ดังนั้นในขั้นตอนการสกัด RNA ของคนจึงไม่ซับซ้อนเท่าของพืช ซึ่งได้มีการร่วมทดชองในห้องแล็บทางมหิดลได้ทดลอง โดยวิธีการสกัดคือ มีการเก็บสารคัดหลั่ง จากเยื้อบุในโพรงจมูก และคอ ของผู้ที่ติดเชื้อโควิด-19 จากนั้นจึงใส่Lysis Buffer และบ่มที่อุณหภูมิ 55 องศา  เพื่อให้เซลล์แตก RNA ก็จะหลุดออกมา และใส่ Magnetic Bead วางบนแท่นแม่เหล็ก เพื่อให้สารจับกับ RNA แล้วดูดส่วนใสออกจากหลอดทดลอง ต่อไปคือใส่ Wash Buffer เพื่อทำความสะอาด Magnetic Bead  ดูดส่วนใสออกอีกรอบ และใส่ Elution Buffer ที่จะเปลี่ยนคุณสมบัติ เพื่อให้ Magnetic Bead ปลดปล่อย RNA ออกมา จากนั้นก็จะเข้าสู่กระบวนการตรวจหา RNA ของไวรัส ไม่ว่าจะด้วยเทคนิค RT-PCR, LAMP หรือ LAMP-XO โดยรวมแล้วใช้เวลาประมาณ 25 นาที ซึ่งอาจจะยังไม่ต่างจากวิธีการเดิมมากนัก แต่ข้อดีคือเราสารเคมีที่ใช้และเครื่องมือหาได้ง่ายในประเทศ ลดความเสี่ยงของการจาดแคลน เป็นผลให้สามารถผลิตได้เองในประเทศไทย ทั้งนี้วิธีสกัดอาร์เอ็นเอนี้สามารถนำไปใช้ได้กับไวรัสที่มีสารพันธุกรรมเป็นอาร์เอ็นเอได้ทุกชนิดไม่จำกัดเพียงไวรัสก่อโรคโควิด-19 ทั้งไวรัสก่อโรคในพืช สัตว์ และมนุษย์ ทำให้ในปัจจุบันมีบริษัทเอกชนสนใจ พร้อมรับถ่ายทอดเทคโนโลยีจำนวน 2 บริษัท คือ บริษัท ไบโอเอนทิสท์ จำกัด และ บริษัท อาฟเตอร์ แล็บ จำกัด


ด้านนางวรรณสิกา เกียรติปฐมชัย หัวหน้าทีมวิจัยเทคโนโลยีวิศวกรรมชีวภาพและการตรวจวัด ศูนย์ไบโอเทค สวทช.  หนึ่งในทีมพัฒนาชุดตรวจโรค COVID-19 ด้วยเทคนิคแลมป์เปลี่ยนสีในขั้นตอนเดียว ให้ข้อมูลว่า สำหรับเทคนิคแลมป์เปลี่ยนสี (Colorimetric LAMP-XO) เป็นนำเทคโนโลยีแลมป์ กับการใช้สี XO ร่วมกัน ซึ่งเป็นสีที่ใช้ย้อมเซลล์ทั่วไป ทำให้สามารถดูผลได้ง่าย ไม่ต้องใช้วิธีการหรือเครื่องมือที่ยุ่งยาก และมีความจำเพาะ คือ ตรวจได้เฉพาะไวรัสโควิด-19 เท่านั้น ซึ่งเมื่อนำไวรัสไข้หวัดใหญ่ ซาร์ส หรือ เมอร์ส มาตรวจก็จะไม่แสดงผล โดยชุดตรวจของเราจะเป็นหลอดตรวจที่มีสี XO สีม่วงเติมไว้อยู่แล้ว และชุดตรวจที่มีสีเขียว วิธีการทำงานคือ เมื่อใส่สารสกัด RNA ในหลอดที่มีสีม่วง และเพิ่มปริมาณสารพันธุกรรมด้วยเทคนิคแลมป์ ด้วยอุณหภูมิ 65 องศา  เป็นเวลา 75 นาที ซึ่งเป็นเวลาที่เราทดสอบแล้วว่าผลจะออกมาชัดเจน และยังสามารถตรวจหาเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้แม้จะมีเชื้อน้อย ผลการทดสอบจะปรากฎสีหากไม่ติดเชื้อก็จะแสดงสีม่วงเช่นเดิม ถ้าติดเชื้อก็จะแสดงสีเหลือง แต่ทั้งนี้เพื่อความแม่นย่ำในกรณีที่สารยังเป็นสีม่วง ซึ่งอาจจะเกิดข้อสงสัยได้ 2 กรณี คือ ไม่ติดเชื้อจริง หรือสกัด RNA ไม่ได้ ปฏิกิริยาจึงไม่ทำงาน ดังนั้นอาจจะต้องตรวจพร้อมกับชุดตรวจสีเขียว เพื่อทดสอบคุณสมบัติของ RNA หากยังเป็นสีเขียว แสดงผลตรวจถูกต้อง ซึ่งในการทดสอบเราได้ทำการตรวจทั้ง 2 ชุดพร้อมกัน ทำให้เราลดเวลาจากการตรวจแบบเรียบไทม์ที่ใช้เวลาถึง 2.30 ชั่วโมง 


    "ขณะนี้ ไบโอเทคได้ขอให้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ประเมินเทคโนโลยี และ อย. กำลังพิจารณาเกณฑ์มาตรฐานที่เหมาะสมสำหรับเทคนิคแลมป์ เพื่อหามาตรฐาน ซึ่งชุดตรวจโรคโควิด-19 ด้วยเทคนิคแลมป์เปลี่ยนสีในขั้นตอนเดียวนี้ก็กำลังอยู่ในขั้นตอนของการพิจารณา ซึ่งก็มีบริษัทเอกชนได้แสดงความสนใจที่จะขอรับถ่ายทอดเทคโนโลยีแล้ว และถ้าอย.เห็นขอบ เราสามารถผลิตชุดตรวจนี้ได้ เดือนละ 40,000 เทสต์"


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"