อาจารย์หมอย้ำการชุมนุม การตะโกนตะเบ็ง บางคนไม่ใส่หน้ากาก หยิบจับสิ่งของที่ใช้ร่วมกัน เสี่ยงแพร่โควิด


เพิ่มเพื่อน    

21 ก.ค.63-  รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Thira Woratanarat ถึง สถานการณ์ทั่วโลก...COVID-19

เมื่อวานติดไปเพิ่มอีก 203,904 คน ยอดรวมตอนนี้ 14,806,408 คน คาดว่าพรุ่งนี้จะทะลุ 15 ล้าน

อเมริกา ติดเพิ่ม 63,586 คน รวมแล้ว 3,951,040 คน คาดว่าพรุ่งนี้จะทะลุ 4 ล้านคนเช่นกัน

บราซิล ดูจะติดเพิ่มน้อยลงกว่าเดิม 20,257 คน คาดว่าจะเป็นผลจากช่วงวันหยุดเสาร์อาทิตย์ แนวโน้มสัปดาห์ก่อนก็เป็นเช่นนี้ พอวันธรรมดาจะพุ่งขึ้นมาอีก คงต้องรอดูว่าจะเป็นเช่นเดิมไหม ตอนนี้ยอดรวม 2,118,646 คน

อินเดีย ติดเพิ่ม 36,810 คน รวมแล้ว 1,154,917 คน

รัสเซีย ติดเพิ่ม 5,940 คน รวมแล้ว 777,486 คน

ขณะที่สเปน อิหร่าน ปากีสถาน อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ยังไม่ดีขึ้น ติดกันเป็นหลักพัน

กลุ่มประเทศยุโรปทั้งหลายส่วนใหญ่ติดกันหลักร้อย เช่นเดียวกับสิงคโปร์ และออสเตรเลีย นอกจากนี้ญี่ปุ่นก็น่าเป็นห่วงมาก พุ่งไปถึง 510 คนในวันเดียว ฮ่องกงก็ติดกันหลักร้อยโดยผู้ว่าการฯ ได้ออกมาบอกว่าคุมไม่อยู่ จนต้องหันมาให้มาตรการเข้มมากๆ

มาเลเซีย เกาหลีใต้ และจีน ติดกันหลักสิบอย่างต่อเนื่อง

อย่างที่เคยวิเคราะห์ไปแล้วว่า เมืองไทยตอนนี้มีความเสี่ยงเยอะขึ้นทั้งศึกนอกและศึกใน

ศึกในที่จะต้องจับตาดูคือ การปลดล็อคระยะที่ 5 กิจการเสี่ยงสูงตั้งแต่ต้นเดือนกรกฎาคม บทเรียนของต่างประเทศชี้ให้เราเห็นว่ามักจะเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ภายใน 2-6 สัปดาห์ ดังนั้นเราอาจต้องช่วยกันสังเกต ระมัดระวังกันมากๆ ถึงกลางสิงหาคม

ในขณะเดียวกัน การชุมนุมที่เกิดขึ้นเมื่อสัปดาห์ก่อนเป็นสิ่งย้ำเตือนเราให้เห็นว่า มีความแออัดของผู้คน ตะโกนตะเบ็ง บางคนใส่หน้ากากบางคนไม่ใส่หน้ากากป้องกัน และมีการหยิบจับสิ่งของที่อาจใช้ร่วมกันได้ ดังนั้นจึงเป็นความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรค...และถือเป็นความเสี่ยงมากที่สุดสำหรับศึกใน เป็นโจทย์หลักที่รัฐจำเป็นต้องหาทางจัดการไม่ให้เกิดขึ้นอีก

ศึกนอกนั้น เราดันทยอยปลดล็อคให้ 11 กลุ่มเป้าหมายเดินทางจากต่างประเทศเข้ามาด้วย นี่จะเป็นการบ้านหนักมากๆ เพราะเท่าที่ทราบมา ยังไม่มีประเทศใดที่รอดจากการระบาดระลอกสองได้หากเปิดรับต่างชาติเข้ามา ซึ่งอาจอธิบายได้ด้วยหลายเหตุผล เช่น ระบบการคัดกรอง กักตัว และติดตามของประเทศอาจไม่สมบูรณ์ วิธีการตรวจคัดกรองที่มีอยู่นั้นไม่ได้การันตีผล 100% จะมีโอกาสหลุดได้ รวมถึงแนวทางการปฏิบัติอาจไม่มีประสิทธิภาพ

ดังนั้นเราจึงเห็นเหตุการณ์ของระยองและกรุงเทพมหานครเกิดขึ้นมาในช่วงประมาณ 2 สัปดาห์หลังประกาศปลดล็อค เกิดผลกระทบมากมาย แต่ยังโชคดีที่จัดการแก้ไขสถานการณ์ได้ แต่จะต้องติดตามดูไปจนถึงปลายเดือนกรกฎาคมว่าจะมีการติดเชื้อเกิดขึ้นภายในประเทศหรือไม่

ข่าวล่าสุดที่ออกมาคือ ศบค.กำลังจะพิจารณาแผนการปลดล็อคระยะที่ 6 ซึ่งครอบคลุมถึงแรงงานต่างด้าว 3 ประเทศ รวมถึงคนต่างชาติมาถ่ายทำภาพยนตร์ จัดงานแสดงสินค้า ผู้ป่วยต่างชาติและญาติที่จะเข้ามารักษาตัวในไทย...กลุ่มเหล่านี้ก็จำเป็นอย่างยิ่งที่รัฐจะต้องมีกลไกที่ดำเนินการคัดกรอง กักตัว และติดตามอย่างเคร่งครัด

ระลึกไว้เสมอว่า การคัดกรองนั้นเชื่อใจต้นทางไม่ได้ ต้องทำเอง และวิธีที่เรามีกันอยู่นั้นมีโอกาสหลุดได้ คำนวณคร่าวๆ หากเข้ามา 30,000 คน มีโอกาสที่จะมีคนติดเชื้อ 150 คน (หากคิดจากอัตราตรวจพบ 0.5%) และจะมีโอกาสตรวจเจอผลลบ หลุดรอดได้ราว 20 คน ดังนั้นการกักตัวเพื่อสังเกตอาการและตรวจซ้ำ รวมถึงการติดตามจึงจำเป็นอย่างยิ่ง

สุดท้ายคือ ฟองสบู่ท่องเที่ยว หรือ Travel bubbles ที่จะมุ่งทำเงินจากการนำนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามานั้นเป็นความเสี่ยงระดับสูงสุด สถานการณ์ปัจจุบันมีการระบาดทั่วโลกรุนแรง จำเป็นต้องวางเรื่องนี้ไว้บนหิ้งไปอีกอย่างน้อย 6 เดือน แล้วค่อยมาประเมินสถานการณ์อีกทีครับ

ชอบที่ทางโฆษกศบค.กล่าวเมื่อวานตอนหนึ่งว่า "วันนี้ทุกคนต่างกลัวสถานการณ์โควิด-19 ทำให้เศรษฐกิจทรุดไปทั้งโลก ดังนั้นการขับเคลื่อนเศรษฐกิจวิถีใหม่จะพึ่งกระแสการท่องเที่ยวจากต่างประเทศอย่างเดียวไม่ได้ เพราะชัดเจนแล้วว่าเราเองก็ไม่อยากให้เขาเข้า เขาเองก็ไม่อยากจะเดินทาง ฉะนั้นสิ่งที่จะเกิดขึ้นต้องเป็นวิถีใหม่อื่นๆ ที่เราจะคิดและทำกัน"

ประเทศไทยจำเป็นต้องหาทางสร้างรายได้จากวิธีอื่นๆ แทนที่จะมาพึ่งจากนักท่องเที่ยวต่างชาติครับ ตราบใดที่โรค COVID-19 นี้ยังไม่มียารักษามาตรฐาน ไม่มีวัคซีนป้องกัน

ประเทศไทยต้องทำได้

ด้วยรักต่อทุกคน.
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"