"ล่อง รอยราชดำเนิน : นิทรรศการผสานวัย” 121 ปีเรื่องเล่าผ่านถนนประวัติศาสตร์


เพิ่มเพื่อน    

   

สนามมวยราชดำเนินในยุคแรก

       นับจากปีพ.ศ.2542 ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างถนนราชดำเนินขึ้น จนถึงปัจจุบันถนนแห่งนี้มีอายุ 121ปีแล้ว ในหลวงร.5 ทรงสร้างถนนเส้นนี้  เพื่อใช้เสด็จพระราชดำเนินระหว่างพระบรมมหาราชวังกับพระราชวังดุสิต และให้ประชาชนได้ใช้เดินทาง ถนนราชดำเนินนอก สะพานมัฆวานรังสรรค์ และถนนเบญจมาศ ต่อมาในปี พ.ศ. 2444 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างถนนราชดำเนินกลาง ตั้งแต่สะพานเสี้ยว ตรงไปข้างคลองบางลำพูต่อกับถนนราชดำเนินนอก  


    ต่อมามีการก่อสร้างถนนราชดำเนินในมาจรดถนนหน้าพระลาน โดยสร้างขยายแนวถนนจักรวรรดิวังหน้าเดิม เริ่มจากแยกจุดบรรจบระหว่างถนนหน้าพระลานและถนนสนามไชย เลียบท้องสนามหลวงฝั่งตะวันออก และไปบรรจบถนนราชดำเนินกลางที่สะพานผ่านพิภพลีลา แล้วเสร็จใน พ.ศ. 2446 มีสถานที่สำคัญอย่าง ท้องสนามหลวง อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย อนุสรสถาน 14 ตุลา ศาลาเฉลิมไทย โรงแรมรัตนโกสินทร์ ป้อมมหากาฬ   สะพานผ่านฟ้าลีลา และอีกมากมาย 

แยกมัฆวาน ที่ผ่านเหตุการณ์ทางการเมืองหลายครั้ง


    ถนนราชดำเนิน กลายเป็นถนนประวัติศาสตร์ ที่มีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้นมากมาย ทั้งงานพระราชพิธี ในสมัยรัชกาลที่ 9 การเสด็จออกมหาสมาคม ณ สีหบัญชร พระที่นั่งอนันตสมาคม ในพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี หรือเหตุการณ์ทางการเมือง  ที่ใช้ถนนราชดำเนินน เป็นสถานที่ชุมทางการเมืองในช่วงวิกฤตการณ์ของประเทศหลายต่อหลายครั้ง อาทิ การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 เหตุการณ์ 14 ตุลา เหตุการณ์ 6 ตุลา และเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ปี2535 และอีกหลายเหตุการณ์ ทำให้ถนนแห่งนี้เปรียบเสมือนสัญลักษณ์ของประชาธิปไตย และบรรยากาศทั้งสองฝากของถนนยังเต็มไปด้วยวิถีชีวิต ทั้งอาชีพหมอดู แรงงาน พ่อค้าแม่ขาย ห้างร้านต่างๆมากมาย เรียกได้ว่าเป็นศูนย์กลางความเจริญเลยทีเดียว


    ปัจจุบันหลายสิ่งหลายอย่างของถนนราชดำเนิน ได้ถูกพัฒนาปรับเปลี่ยนไปตามกาลเวลา ภาพความจำบางอย่าง หรือสถานที่บางแห่งได้กลายเป็นเพียงแค่ความทรงจำที่ยังมีชีวิต ที่คนในยุคนั้นอยากจะบอกเล่าเรื่องราวต่างๆ ให้กับรุ่นต่อไปได้ฟัง เพื่อให้รับรู้ว่าถนนราชดำเนินงดงาม สง่า มีความสุข สนุก หรือบางช่วงเวลาก็โศกเศร้า ผ่านนิทรรศการ “ล่อง รอยราชดำเนิน : นิทรรศการผสานวัย” ซึ่งเป็นนิทรรศการหมุนเวียนชุดใหม่ประจำปี 2563 ของสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ(มิวเซียมสยาม)  โดยสามารถเข้าชมฟรีตั้งแต่วันนี้- 31 สิงหาคม 2563 ณ มิวเซียมสยาม และย้ายไปจัดแสดงที่ หอสมุดเมืองกรุงเทพฯ ถ.ราชดำเนินกลาง ในวันที่ 8 กันยายน - 31 ตุลาคม 2563 

ภาพโรงแรมรัตนโกสินทร์ในอดีต โรงแรมเดียวที่ตั้งริมถนนราชดำเนิน เมื่อประมาณ 40กว่าปีที่แล้ว เคยเป็นโรงแรมหรูที่สุด


      นิทรรศการนี้ประกอบด้วย 4 ส่วน ได้แก่ 1.การแนะนำนิทรรศการและการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของถนนราชดำเนิน 2.ล่อง รอย ที่นำเสนอประวัติศาสตร์การประชันทางความคิดของคนหลายยุคสมัย 3.สถานที่สำคัญบนถนนราชดำเนิน และ 4.นิทรรศการของภัณฑารักษ์วัยเก๋า เพิ่มความสนุกให้กับผู้เข้าชมมากขึ้นเพียงสแกนคิวอาร์โค้ด รับฟังเรื่องราวผ่านการเล่าเรื่องภายในนิทรรศการฯ ตาม 8 เส้นทาง ได้แก่ 1.บทเพลงแห่งราชดำเนิน 2.อยู่ราชดำเนิน 3.หนังสือที่มีแต่นิยายชีวิต 4.วังปารุสก์ 5.ตามรายทาง 6.อย่าได้อ้างว่าฉันเป็นผู้หญิงของเธอ 70.ราชดำเนินเปอร์สเปคทิฟ และ8.รสชาติแห่งยุคสมัย 

สะท้อนภาพถนนราชดำเนินที่เป็นเวทีประชันความคิดทางการเมืองหลายต่อหลายครั้ง


    ราเมศ พรหมเย็น ผู้อำนวยการสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ(มิวเซียมสยาม) กล่าวว่า ถือว่าเป็นการจัดนิทรรศการครบรอบ 121 ปี ของถนนราชดำเนิน ซึ่งในทุกปีจะมีการจัดนิทรรศการหมุนเวียนประจำปีโดยเป็นการหยิบยกเรื่องราวประวัติศาสตร์สังคมวิถีชีวิตความเป็นไทยรวมถึงกระแสสังคมในประเด็นต่างๆมาพัฒนาเนื้อหาและนำเสนอผ่านรูปแบบนิทรรศการที่มุ่งเน้นการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ชมผ่านสื่อที่หลากหลายที่จะสามารถส่งเสริมให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self-Learning) เพื่อต่อยอดในการจุดประกายความคิดสร้างสรรค์ให้ผู้เข้าชมได้สนุกกับการเรียนรู้และพัฒนาความคิด

ทวีศักดิ์ วรฤทธิ์เรืองอุไร


    ด้านทวีศักดิ์ วรฤทธิ์เรืองอุไร ภัณฑารักษ์นิทรรศการฯ ให้ข้อมูลว่า นิทรรศการชุดนี้นอกจากจะให้ความรู้ ยังได้ถ่ายทอดทัศนคติของคนในหลายยุคสมัย  ทั้งเรื่องความคิดประชาธิปไตย เสรีภาพ ถนนราชดำเนินจึงเหมือนเป็นเวทีประชันความคิดกัน ในขณะเดียวกันก็สะท้อนความทรงจำของทุกคนให้เห็นว่าแม้จะคิดต่างแต่สามารถอยู่ด้วยกันได้ ดังนั้น  ในแต่ละจุดจะทำให้เราเห็นความคิดในสังคมไทย ผ่านการบอกเล่าจากภัณฑารักษ์วัยเก๋า ที่เข้าร่วมอมรบเชิงปฏิบัติการ ภัณฑารักษ์วัยเก๋าเล่าเรื่องราชดำเนิน จำนวน 16 คน ผสมผสานกับการลงพื้นที่รับฟังเรื่องราวของผู้คนที่อาศัยที่ถนนราชดำเนิน และวัตถุสิ่งของที่นำมาจัดแสดง ได้มีการเปิดรับให้เข้าร่วมนิทรรศการนี้ผ่านเพจ ล่อง ราชดำเนิน ในเดือนมกราคมที่ผ่านมา 

อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ที่มีเหตุการณ์ขุมนุมทางการเมืองเกิดขึ้นมากมาย บริเวณนี้ 


    8 เส้นทาง นิทรรศการที่บอกเล่าประสบการณ์ชองถนนราชดำเนิน  อย่างเส้นบทเพลงแห่งราชดำเนิน ที่จะมีเวทีมวยราชดำเนิน  อีกสัญลักษณ์ของราชดำเนิน ได้เห็นภาพวิถีนักมวยในสมัยนั้นอีกด้วย เหตุการณ์การเมืองที่แยกมัฆวาน การเปลี่ยนแปลงของวัดสระเกศ  วิถีชีวิตของชุมชน อย่าง ชุมชนตรอกสาเก ชุมชนวัดราชนัดดา หรือโซนในส่วนที่เป็นเรื่องราวสถานที่ อย่างอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย  ที่ถือได้ว่าเป็นแลนมาร์คของประเทศไทย  ซึ่งภาพของที่นี่มักจะพบเห็นได้ทั้งในชีวิตจริงหรือในภาพยนต์  อีกจุดโรงแรมรัตนโกสินทร์ ที่เคยเป็นโรงแรมระดับ 5 ดาวสุดหรูในเขตพระนคร  ห้างไทยนิยม ที่ก่อตั้งโดย จอมพล ป. พิบูลสงคราม ศูนย์รวมร้านตัดเสื้อ ร้านทำผมสตรี และคลังแม่บ้าน นอกจากนี้ยังมีห้างแบดแมนแอนด์โก ศาลพระแม่ธรณีบีบมวยผม ที่ด้านหลังศาลจะเป็นตลาด โรงเรียนสตรีวิทยา ศึกษาภัณฑ์ฯลฯ


    หรือเส้นทางวังปารุสก์ ซึ่งวังนี้เคยเป็นบ้านของสมเด็จฯ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ พระราชโอรสในรัชกาลที่ 5 และเมื่อเจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถฯ และพระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ เสด็จไปศึกษาต่อต่างประเทศ วังปารุสก์ก็ได้กลายมาเป็นที่รับรองแขกของรัฐในรัชกาลที่ 6 และต่อมาก็ได้เป็นบ้านพักของพระยาพหลพลพยุหเสนา นายกรัฐมนตรีคนที่ 2 


    "และอีกจุดที่จะทำให้ได้สัมผัสเรื่องราวบนถนนราชดำเนินมากยิ่งขึ้น คือ สิ่งของของภัณฑารักษณ์วัยเก๋าที่ได้นำมาร่วมจัดแสดงเป็น mini exhibition ในสไตล์ของตนเอง ผ่าน kiosk คือ กระเป๋าเดินทางที่หมายถึงความทรงจำบนถนนราชดำเนิน ได้ส่งต่อมายังรุ่นต่อไป เพื่อให้รู้ว่าที่ถนนแห่งนี้เป็นถนนอีกเส้นหนึ่งของประวัติศาสตร์ไทย” ภัณฑารักษ์ กล่าว

    เขตนิธิ สุนนทะนาม ภัณฑารักษ์วัยเก๋า


    เขตนิธิ สุนนทะนาม ภัณฑารักษ์วัยเก๋า เจ้าของภาพวาด ความทรงจำในอดีต ที่วาด (ฝัน) ใหม่ และราชดำเนินยามค่ำคืน เล่าว่า เคยผ่านการอบรมภัณฑารักษ์วัยเก๋า ทำให้มีไฟในการกลับมาจับพู่กันวาดรูปอีกครั้ง  ซึ่งเป็นบรรยากาศอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยในตอนกลางคืน  เป็นภาพที่เราได้ย้อนเวลากลับไปในยุควัยรุ่น ที่กำลังเรียนเพาะช่างภาคค่ำ และภาพวัดสระเกศที่มีต้นไม้ปกคลุม  ซึ่งเป็นช่วงฝึกงานที่ศาลาเฉลิมไทย ทำให้ได้ใช้ชีวิตอยู่ถนนราชดำเนิน และที่สำคัญในยุคนั้นอุปกรณ์ในการเขียนภาพแพง ตนจึงใช้กิ่งไม้ ใบไม้ หรือบัตรนักศึกษาเป็นอุปกรณ์ในการวาด แต่ภาพที่ได้นำมาจัดแสดงชิ้นนี้  ได้ใช้บัตรกดเงินเป็นอุปกรณ์ทดแทนในสมัยนั้น และอีกภาพอีกความทรงจำคือ การมาเที่ยวตลาดนัดท้องสนามหลวง  มีการขายนก ไก่ เป็ด และได้เห็นโซนต้นมะขามที่มีหมอดูมานั่งทำนายดวงผู้คนที่ผ่านไปมา  ซึ่งตนเองก็ได้เรียนวิชาดูดวงกับหมอดูที่นั้นด้วย อีกทั้งในยามค่ำคืนก็ยังมีหญิงขายบริการมายืนใต้ต้นมะขาม เรียกได้ว่าเป็นศูนย์รวมที่หลากหลายสีสัน ซึ่งปัจจุบันภาพจำตอนนั้นกับตอนนี้เปลี่ยนไปมาก จากสิ่งไหนที่เคยเห็น หรือเคยมี ในตอนนี้ก็ไม่มีแล้ว แต่มันจะอยู่ในความทรงจำตลอดไป 

เล่าเรื่องเหตุการณ์พฤษภาทมิฬเมื่อปี2535


    อย่างไรก็ตามผู้สนใจสามารถเข้าชมฟรีตั้งแต่วันนี้- 31 สิงหาคม 2563 ณ มิวเซียมสยาม เวลา 10.00-18.00 น.(ปิดวันจันทร์)  และย้ายไปจัดแสดงที่ หอสมุดเมืองกรุงเทพฯ ถ.ราชดำเนินกลาง ในวันที่ 8 กันยายน - 31 ตุลาคม 2563 

  


 

 


 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"