แผ่นฤกษ์ทวารวดี ขุดพบที่เมืองเก่า


เพิ่มเพื่อน    


    กรมศิลปากรขุดพบแผ่นฤกษ์ในโบราณสถานสมัยทวารวดีที่นครปฐม มีลักษณะเป็นทรงกลม ก่อด้วยอิฐ จารึกอักษรโบราณอายุกว่าพันปี ชี้เป็นหลักฐานใหม่ในการศึกษาทางโบราณคดี
    เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคมนี้ นายประทีป เพ็งตะโก อธิบดีกรมศิลปากร เปิดเผยว่า กรมศิลปากรได้จัดสรรงบประมาณฉุกเฉินเร่งด่วนประจำปี 2563 ให้แก่สำนักศิลปากรที่ 2 สุพรรณบุรี ดำเนินการขุดแต่งโบราณสถานโคกแจง ต.ทุ่งน้อย อ.เมือง จ.นครปฐม โดยได้รับรายงานผลจากการขุดแต่ง พบว่า โบราณสถานโคกแจงเป็นศาสนสถานสมัยทวารวดี ก่อด้วยอิฐ ขนาดความกว้างด้านละประมาณ 7.20 เมตร ทำบันไดกึ่งกลางด้านทั้ง 4 ด้าน ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 10 ก.ค.ที่ผ่านมา ระหว่างการขุดศึกษาได้พบหลักฐานใหม่ เป็นแผ่นดินเผาทรงกลม ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 26.2 เซนติเมตร หนาประมาณ 1.2 เซนติเมตร วางอยู่ในตำแหน่งทิศตะวันตกเฉียงเหนือภายในพื้นที่กรอบอิฐ ซึ่งแผ่นดินเผาทรงกลมนี้พบการขีดช่องตารางคล้ายกับดวงฤกษ์ โดยมีลักษณะการขีดออกเป็นแฉกจากแกนกลาง แบ่งเป็น 12 ช่อง และขีดเส้นวงกลมซ้อนชั้นจากแกนกลางออกมาเป็นระยะ เกิดเส้นซ้อนทับกันเป็นช่องตารางย่อย และในแต่ละช่องตารางย่อยพบตัวอักษรจารโบราณกำกับอยู่เกือบทุกช่อง รวมถึงที่ริมขอบแผ่นดินเผาอีกด้วย  
    นายประทีปกล่าวว่า ได้มอบหมายให้ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญ นักภาษาโบราณ สำนักหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร ประกอบด้วย นางสาวพิมพ์พรรณ ไพบูลย์หวังเจริญ นักอักษรศาสตร์ทรงคุณวุฒิ, นายเทิม มีเต็ม ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาตะวันออก และนางศิวพร เฉลิมศรี นักภาษาโบราณชำนาญการพิเศษ พิจารณาเบื้องต้นจากรูปอักษรบางตัวที่ปรากฏ มีความเห็นว่ารูปอักษรดังกล่าวเป็นอักษรหลังปัลลวะ กำหนดอายุราวพุทธศตวรรษที่ 14 หรือประมาณกว่า 1,000 ปีมาแล้ว  
    “การพบโบราณวัตถุครั้งนี้เป็นเรื่องที่น่าทึ่ง เพราะเป็นครั้งแรกที่พบแผ่นฤกษ์ทรงกลมที่มีการจารึกตัวอักษรในวัฒนธรรมทวารวดีในประเทศไทย ก่อนหน้านี้เคยพบหลักฐานแผ่นอิฐมีการทำลวดลายพิเศษ สันนิษฐานว่าเป็นอิฐฤกษ์ที่เจดีย์จุลประโทน จ.นครปฐม และที่เจดีย์หมายเลข 1 เมืองโบราณอู่ทอง จ.สุพรรณบุรี ดังนั้น แผ่นฤกษ์มีตัวอักษรที่ใจกลางโบราณสถานโคกแจงจึงเป็นหลักฐานใหม่ที่จะช่วยให้การศึกษาทางโบราณคดีในส่วนของพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับโบราณสถานในวัฒนธรรมทวารวดีก้าวหน้าไปอีกขั้นหนึ่ง ปัจจุบันสำนักศิลปากรที่ 2 สุพรรณบุรี ได้นำแผ่นฤกษ์ไปเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระปฐมเจดีย์ เพื่อให้นักวิทยาศาสตร์ดำเนินการอนุรักษ์ตามกระบวนการ จากนั้นจะนำไปศึกษาวิเคราะห์รูปแบบอักษรที่จารึก และการศึกษาด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องต่อไป" นายประทีปกล่าว.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"