Eco-Efficiencyการพัฒนาที่ยั่งยืน!


เพิ่มเพื่อน    

    ต้องยอมรับว่าวันนี้เราอยู่ใน “โลกยุคดิจิทัล” ที่มีเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามามีบทบาทต่อการดำเนินชีวิตประจำวันของทุกหน่วยสังคม ประกอบกับรัฐบาลไทยประกาศนโยบาย Thailand 4.0 ในการเปลี่ยนรูปแบบโครงสร้างเศรษฐกิจสู่การขับเคลื่อนประเทศด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม ดังนั้นการพัฒนาประเทศหรือการจูงใจให้เกิดการลงทุนจากภาคเอกชนสิ่งสำคัญที่จะต้องคำนึงถึงคือ ต้องเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และสอดคล้องกับรูปแบบการพัฒนาของประเทศต่างๆ ทั่วโลก

                จะเห็นได้จากการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) หนึ่งในหน่วยงานภาครัฐที่มีหน้าที่กำกับดูแลนิคมอุตสาหกรรมของประเทศ รวมถึงจูงใจให้เอกชนเข้ามาลงทุน   ได้มีนโยบายขับเคลื่อนการดำเนินงานของ กนอ.เพื่อมุ่งเป้าสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยกำหนดให้มีการดำเนินงานเพื่อสร้างประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจ หรือ Eco-Efficiency ตามแนวปฏิบัติ ISO 14045 ซึ่งเป็นหนึ่งในมาตรฐานการด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม (ISO 14000)

                โดยมีวัตถุประสงค์ลดการบริโภคทรัพยากร หมายรวมถึง ลดการใช้วัตถุดิบตั้งต้นในการผลิต ไม่ว่าจะเป็นพลังงานและน้ำซึ่งได้ส่งเสริมการใช้ซ้ำและการนำกลับมาใช้ใหม่ของผลิตภัณฑ์ เพื่อลดผลกระทบที่มีต่อสิ่งแวดล้อม ลดการปล่อยของเสียทั้งน้ำเสีย อากาศเสีย ขยะ และสารพิษออกสู่สิ่งแวดล้อม รวมไปถึงเพิ่มผลิตภาพของผลิตภัณฑ์และการบริการ เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับผลประโยชน์จากผลิตภัณฑ์ สินค้า และบริการสูงสุด โดยส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติน้อยที่สุด

                ซึ่งมีแม่ทัพหญิงอย่าง สมจิณณ์ พิลึก ได้ประกาศนโยบายอย่างชัดเจนว่า กนอ.ใช้หลักการประเมินประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจ มาบริหารจัดการองค์กรให้มีศักยภาพในการแข่งขันมากขึ้น ควบคู่ไปกับความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมบนแนวคิด “การพัฒนาที่ยั่งยืน” โดยนำร่องการดำเนินงานในนิคมอุตสาหกรรมที่ กนอ.ดำเนินการเอง 12 แห่ง  ท่าเรืออุตสาหกรรม 1 แห่ง รวมทั้ง กนอ.สำนักงานใหญ่ ที่ได้ปรับปรุงการให้บริการสาธารณูปโภค โดยพิจารณาผลกระทบสิ่งแวดล้อมในรูปการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อนำไปสู่การปรับปรุงและเพิ่มค่า Eco-Efficiency หรือเพิ่มประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจของ กนอ.

                นอกจากนี้ ยังเน้นย้ำ กนอ.ประเมินจากการวิเคราะห์สัดส่วนระหว่างรายได้จากการให้บริการสาธารณูปโภค (หน่วยเป็นบาท) ต่อผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมในรูปก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากการให้บริการสาธารณูปโภค (kg CO2e) จากนิคมอุตสาหกรรมที่ กนอ.ดำเนินการเองในปี 62 พบว่าค่าประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจ ของนิคมอุตสาหกรรมสูงสุด 3 ลำดับแรก คือ นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด นิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง และท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด มีค่าเพิ่มขึ้น สะท้อนให้เห็นว่ามีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในนิคมอุตสาหกรรมลดลงจากการลดปริมาณการใช้ไฟฟ้า เช่น การเปลี่ยนหลอดไฟฟ้าเป็นหลอดประหยัดพลังงาน การติดตั้งระบบควบคุมปริมาณการใช้ไฟฟ้าของปั๊มสูบจ่ายน้ำประปา นอกจากนี้ ยังช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับองค์กรได้อีกด้วย

            ดังนั้น จะเห็นว่า กนอ.นำหลักในการเพิ่มประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจมาใช้กับทุกนิคมอุตสาหกรรม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการแข่งขันด้านศักยภาพการผลิตและการบริการ ตอบสนองความต้องการของประชาชน และนำมาซึ่งการยกระดับคุณภาพชีวิต โดยที่การแข่งขันนั้นจำเป็นต้องตระหนักถึงผลกระทบที่มีต่อระบบนิเวศ ภายใต้แนวคิดการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ และบริการให้มากขึ้น โดยใช้ทรัพยากรธรรมชาติและลดการเกิดของเสียหรือมลภาวะให้น้อยลง

                อย่างไรก็ตาม หลังจากนี้ก็คงได้แต่คาดหวังว่าปัญหามลพิษทางสิ่งแวดล้อมที่กำลังเป็นปัญหาใหญ่อยู่ในขณะนี้ไม่ว่าจะเป็นปัญหามลพิษทางอากาศอย่างฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ปัญหาโลกร้อน ขยะล้นโลก โดยเฉพาะขยะพลาสติก ที่กลายเป็นหาใหญ่ทำลายสิ่งแวดล้อมและสัตว์น้ำสัตว์บก ที่ทั่วโลกเร่งรณรงค์ให้ลดละการใช้พลาสติก แม่น้ำลำคลองที่เน่าเสีย จะเริ่มคลี่คลายลง เหมือนกับการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ซึ่งปัจจัยที่ทำให้การแพร่ระบาดของไทยคลี่คลายลงได้  เกิดขึ้นจากความร่วมมือของทุกภาคหน่วย ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชนและประชาชนทั่วไป เช่นเดียวกับการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เป็นพิษจะหมดไปได้ก็ต้องเกิดจากความร่วมมือของทุนฝ่ายเช่นกัน.

บุญช่วย ค้ายาดี

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"