รมช.สธ.ประธานพิธีMOUสถาบันยุวทัศน์-ม.เอกชน5แห่งรู้เท่าทันปัจจัยเสี่ยง


เพิ่มเพื่อน    

(สาธิต ปิตุเตชะ)

        สาธิต ปิตุเตชะ รมช.สธ. รองประธานกรรมการกองทุน สสส. คนที่ 1 เป็นประธานพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านการพัฒนาศักยภาพนักศึกษาเพื่อรู้เท่าทันปัญหาปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพกับ 5 มหาวิทยาลัยเอกชน เด็กมีความคิดสร้างสรรค์ แต่ขาดความรอบคอบ ผู้ใหญ่หนุนช่วยเพื่อให้เขาเดินหน้าตามเป้าหมาย ห่วงเด็กและเยาวชนไทยติดบุหรี่ 4 หมื่นคน ประสบอุบัติเหตุกลายเป็นผู้พิการกว่า 2 พันคน/ปี ถูกสภาพแวดล้อมชักจูงให้เล่นพนัน หนุนใช้พลัง 3 ประสานเดินหน้าลดปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพกลุ่มนักศึกษา

      พิธีลงนามข้อตกลงความร่วมมือโดยพชรพรรษ์ ประจวบลาภ เลขาธิการสถาบันยุวทัศน์แห่งประเทศไทย ผศ.ดร.ประเสริฐ ประวัติรุ่งเรือง อธิการบดีมหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ ดร.พรสวรรค์ พานิชชีวะ ผศ.ดร.วันวร จะนู รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ รศ.ดร.กฤษณ์ ทองเลิศ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยรังสิต ดร.เสนีย์ สุวรรณดี รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต โดยมีสักขีพยานในการลงนาม ดร.สาธิต ปิตุเตชะ รมช.สธ. บรรลือ วิศิษฏอนุพงษ์ ผอ.สำนักส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพนักศึกษา สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษาฯ ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม ผู้ช่วย ผจก.สสส. รวิศุทธ์ คณิตกุลเศรษฐ์ รองเลขาธิการสถาบันยุวทัศน์แห่งประเทศไทย กอบกิจ ประดิษฐผลพาณิช คณบดีคณะนิเทศศาสตร์ (ม.ธุรกิจบัณฑิตย์) ผศ.ดร.อรทิพา ส่องศิริ คณบดีคณะพยาบาลศาสตร์ (ม.สยาม) สุจินต์ เสนาแพทย์ รองคณบดีคณะนิติศาสตร์ (ม.รังสิต) ดร.ชัยวุฒิ จันมา คณบดีคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ (ม.นอร์ทฯ) ผศ.ดร.สุเทพ เดชะชีพ คณบดีคณะนิเทศศาสตร์ (ม.เกษมบัณฑิต)

(รวิศุทธ์ คณิตกุลเศรษฐ์)

      รวิศุทธ์ คณิตกุลเศรษฐ์ รองเลขาธิการสถาบันยุวทัศน์แห่งประเทศไทย กล่าวต้อนรับประธานในพิธีและผู้มีเกียรติในพิธีลงนามความร่วมมือ ด้วยการนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับสถาบันยุวทัศน์แห่งประเทศไทย โดยการสร้างสำนึกร่วมทางด้านการศึกษา กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ สนับสนุนนโยบายภาครัฐในเรื่องเด็กและเยาวชน พัฒนาการมีส่วนร่วมทำงานขับเคลื่อนมาแล้ว 10 ปี จนถึงวันนี้เข้าสู่พิธีลงนามความร่วมมือให้เป็นจริง

(เมธชนนท์ ประจวบลาภ)

      เมธชนนท์ ประจวบลาภ หัวหน้าสำนักการศึกษา ศาสนา วัฒนธรรมและสิทธิมนุษยชน กล่าวว่า พิธีลงนาม MOU ปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพ เด็กและเยาวชน ระหว่างสถาบันยุวทัศน์แห่งประเทศไทยและสถาบันอุดมศึกษาเอกชน โดยมี รมช.สาธารณสุขเป็นประธานลงนาม การสร้างองค์ความรู้ถึงเรื่องอันตราย ปัจจัยเสี่ยงเป็นหน้าที่ของสโมสรนักศึกษา องค์การนักศึกษา ด้วยการให้เยาวชนสื่อสารกันเองให้เกิดประโยชน์ และสนับสนุนให้นักศึกษาอยู่ภายใต้กรอบ เด็กคิด เด็กทำ เด็กหนุน ให้ผู้ใหญ่สนับสนุนการขับเคลื่อนนโยบายภาครัฐ เพื่อให้เยาวชนหลีกเลี่ยงบุหรี่มวน บุหรี่ไฟฟ้า การพนันออนไลน์ โดยสถาบันยุวทัศน์เป็นสื่อกลางระหว่าง 5 มหาวิทยาลัยเอกชน ผลักดันสนับสนุนการให้ความรู้ด้วยการสนับสนุนด้านองค์ความรู้และทรัพยากรต่างๆ จาก สสส. นำเสนอโครงการเพื่อลงไปปฏิบัติจริงในมหาวิทยาลัยของตัวเองเป็นเวลา 3 ปี

        ดร.สาธิต ปิตุเตชะรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะรองประธานกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ คนที่ 1 เป็นประธานพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านการพัฒนาศักยภาพนักศึกษาเพื่อรู้เท่าทันปัญหาปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพ จัดโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สถาบันยุวทัศน์แห่งประเทศไทย (ยท.) และมหาวิทยาลัยนำร่อง 5 แห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ มหาวิทยาลัยสยาม มหาวิทยาลัยรังสิต และมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต โดยมี ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม ผู้ช่วยผู้จัดการกองทุน สสส. และผู้แทนกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ร่วมลงนามเป็นสักขีพยาน ที่อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สสส. วันที่ 25 มิถุนายน 2563

      ดร.สาธิตกล่าวว่า  “ผมและสถาบันยุวทัศน์ฯ นำกิจกรรมทำงานร่วมกันรณรงค์ลดอุบัติเหตุในเยาวชนตั้งแต่ยังไม่ได้รับตำแหน่ง รมช.สธ. เห็นถึงความตั้งใจในการแก้ไขปัญหาขององค์กรด้วยการศึกษาข้อมูลอย่างถ่องแท้ เป็น key success เริ่มต้นจากแนวคิดเยาวชนนำเสนอ สื่อสาร ลงมือปฏิบัติ พวกเราเป็นคนเก่าแม้จะยังไม่สูงวัย แต่บ้านเมืองจะขาดสิ่งหนึ่งสิ่งใดไม่ได้ เด็กมีความคิดสร้างสรรค์ แต่ยังขาดความรอบคอบ เด็กควรได้รับการสนับสนุนจากผู้ใหญ่เพื่อให้เขาเดินหน้าตามเป้าหมาย แม้โครงการจะดีเพียงใด แต่ถ้าผู้ใหญ่ไม่สนับสนุน โครงการก็ไม่ประสบความสำเร็จ 100%

      รมช.สาธารณสุขกล่าวว่า การศึกษาผ่านมหาวิทยาลัยสื่อสารกับเด็กแก้ไขปัญหาการเลี้ยงลูก “ผมถูกเลี้ยงดูมาด้วยการถูกลงโทษ มีวินัยเคร่งครัด ผมจะนำมาใช้กับการเลี้ยงลูกในยุคนี้ เด็กสมัยใหม่มีความเป็นตัวของตัวเองสูง ยิ่งดูในคลิปสัมภาษณ์เยาวชนในการเลือกอาชีพในอนาคต จะเลือกตัดสินใจด้วยตัวเองหรือพ่อแม่เป็นผู้เลือกให้ ได้คำตอบว่าเด็กจำนวน 100% ตัดสินใจเลือกอาชีพด้วยตัวเองด้วยความมั่นใจ ในมิติสมัยใหม่แสดงว่า ถ้าเด็กรู้ว่าตัวเองชอบอะไรก็จะมีความมุ่งมั่นที่จะทำให้ประสบความสำเร็จด้วยประสิทธิภาพสูงสุดในตัวเขาเอง สิ่งเหล่านี้สังคมบ้านเมืองมีประสบการณ์สร้างสรรค์นำไปสู่การแก้ไขปัญหาให้ประสบความสำเร็จได้”

      สิ่งที่น่าเป็นห่วงก็คือเรื่องอุบัติเหตุ ปัญหาการสูบบุหรี่ เล่นการพนัน หัวใจสำคัญในการแก้ไขปัญหาซึ่งมีอยู่ 2 ทาง เรื่องนี้มีทั้งผู้ให้และผู้รับ ก็ไม่ได้แตกต่างไปจากการซื้อเสียงขายเสียง คนเห็นเรื่องการทุจริตเป็นเรื่องธรรมดา ด้วยข้ออ้างที่ว่าสิ่งเหล่านี้สังคมส่วนใหญ่เขาก็ทำกัน แต่บังเอิญเป็นเรื่องผิด ด้วยความคิดว่าใครๆ เขาก็โกงกัน เราก็โกงด้วย ไม่ว่ารัฐบาลจะมีอำนาจเก่งมาแต่ไหนก็ยากที่จะแก้ไขปัญหาได้ ดังนั้นการแก้ไขปัญหาเรื่องเด็กต้องแก้ไขทั้งสองทางควบคู่กันไปด้วย ทำให้ทั้งสองฝ่ายได้รับการยอมรับ เพื่อให้การแก้ไขปัญหาประสบความสำเร็จเป็นอย่างดีด้วย ขอขอบคุณทั้ง 5 มหาวิทยาลัยที่ให้โอกาสเด็กคิดและแก้ไขปัญหาด้วยตัวเอง “ผมขอติดตามให้คำแนะนำความถูกต้องเท่าที่จะทำได้ในฐานะเป็นผู้ใหญ่ สสส.ให้การสนับสนุนให้ทุกมหาวิทยาลัยขับเคลื่อนไปด้วยกัน”

      ปัญหาการสูบบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้าของเด็กและเยาวชนมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ข้อมูลจากแผนงานควบคุมยาสูบ ปี 2560-2564 ระบุว่า การสูบบุหรี่ของเด็กอายุระหว่าง 15-18 ปี มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นจากร้อยละ 6.58 เป็นร้อยละ 8.25 สอดคล้องกับข้อมูลมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ พบว่าปัจจุบันมีเยาวชนอายุต่ำกว่า 18 ปี ติดบุหรี่แล้ว 400,000 คน ซึ่งในจำนวน 10 คนที่ติดบุหรี่ 7 คนจะเลิกไม่ได้ตลอดชีวิต ส่วน 3 คนเลิกได้ แต่จะติดบุหรี่เฉลี่ยกว่า 20 ปี จำนวนตัวเลขเหล่านี้ยังไม่นับรวมการสูบบุหรี่ไฟฟ้าที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นจากกลยุทธ์ของอุตสาหกรรมยาสูบที่พยายามโฆษณาหลอกล่อเด็กและเยาวชน ขณะที่สถานการณ์ปัญหาการเล่นพนันออนไลน์ของเด็กและเยาวชนมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเช่นเดียวกัน ซึ่งองค์การอนามัยโลกระบุว่า การเสพติดพนันส่งผลกระทบต่อสุขภาพกาย จิต และต่อระบบสมอง กลุ่มเดียวกับการเสพยาเสพติด ทั้งนี้ ข้อมูลจากศูนย์ศึกษาปัญหาการพนัน พบเด็กและเยาวชนไทยกำลังใช้ชีวิตท่ามกลางสภาพแวดล้อมที่เสริมแรงให้เข้าสู่การเส้นทางการพนันถึงร้อยละ 94.2 ที่เด็กและเยาวชนเติบโตภายใต้สังคมที่แวดล้อมไปด้วยผู้เล่นพนัน ทั้งพ่อแม่ พี่น้อง ญาติ เพื่อนสนิท ซึ่งมีผลโดยตรงในการชักนำเข้าสู่จุดเริ่มต้นของการเล่นการพนัน

      ดร.สาธิต ปิตุเตชะ ให้สัมภาษณ์ว่า ทุกรัฐบาลให้ความสำคัญในการแก้ไขปัญหาเรื่องเด็กและเยาวชนด้วยการค้นหาทุกวิธีในการแก้ไขปัญหาเด็กแว้น ยาเสพติด การพนัน แต่ในวันนี้ได้คำตอบแล้วให้เด็กเป็นผู้ลงมือคิด แก้ไข และทำด้วยตัวเองเป็นการแก้ไขปัญหาได้อย่างตรงเป้าหมายที่สุด ครู ผอ.รร.จะพูดดีเท่าไหร่ ถ้าเด็กไม่ให้ความสนใจก็ไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงได้ ดังนั้นเราต้องให้เด็กวัยเดียวกันเปิดประตูให้เด็ก เยาวชนนำของดีมานำเสนอ สถาบันยุวทัศน์ฯ เปิดประตูบานแรกให้กับเด็กเพื่อจะพัฒนาเป็นผู้ใหญ่ที่ดีในอนาคต ลดปัญหาทั้ง 3 เรื่องให้เป็นจริงได้

(ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม)

        ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม ผู้ช่วยผู้จัดการกองทุน สสส. กล่าวว่า ปัญหาอุบัติเหตุทางถนนในเด็กและเยาวชนมีความรุนแรงไม่ต่างกับปัญหาข้างต้น โดยเฉพาะในกลุ่มนักเรียน นักศึกษา ที่ต้องใช้รถจักรยานยนต์เดินทางเสมอ ข้อมูลจากสถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ อ้างโดยศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน (ศวปถ.) สนับสนุนโดย สสส. ระบุว่าเด็กและเยาวชนที่ได้รับบาดเจ็บรุนแรง 100 คนจากอุบัติเหตุ จะกลายเป็นผู้พิการ 5 คน และทั้งปีจะมีเด็กและเยาวชนกลายเป็นผู้พิการกว่า 2,000 คน ที่ผ่านมา สสส.และภาคีเครือข่ายพยายามกระตุ้นสังคมในเรื่องนี้อย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี กระทั่งมองเห็นความร่วมมือกับสถาบันการศึกษา ซึ่งเป็นแหล่งบ่มเพาะเมล็ดพันธุ์ผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพออกสู่สังคม จึงจับมือกันทำพิธี MOU ขึ้น หลังจากนี้ สสส.จะสนับสนุนให้เกิดกลไกการทำงานร่วมกันของส่วนราชการ ภาคประชาสังคม เพื่อให้นักเรียน นักศึกษา รู้เท่าทันตัวเอง และรู้เท่าทันปัจจัยเสี่ยงบั่นทอนการมีสุขภาพแข็งแรงและมีอายุยืนยาว

 

(รศ.ดร.กฤษณ์ ทองเลิศ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยรังสิต)

 

      ในส่วนของปัญหาบุหรี่ แอลกอฮอล์ การพนัน ม.รังสิต ได้ร่วมมือกับนักศึกษาในการแก้ไขปัญหานี้ด้วยการสนับสนุนจาก สสส. จัดทำ Healthy Center ปลอดเหล้าและบุหรี่เป็นเวลา 3 ปี โดยสิ้นสุดสัญญาเมื่อปี 2552 จากเดิมผู้ใหญ่เป็นคนดำเนินการและให้เด็กปฏิบัติตาม แต่ในครั้งนี้เป็นการดำเนินการร่วมกับสถาบันยุวทัศน์ฯ เพื่อต่อยอดโครงการเดิมที่ทำไว้ แต่ครั้งนี้เป็นการผลักดันโดยเด็ก เยาวชน คิดสร้างสรรค์ และปฏิบัติภายในมหาวิทยาลัยด้วยองค์ความรู้

      “สถาบันอุดมศึกษาเอกชนมีภาคีที่เป็นสมาชิกทั้งหมด 50 มหาวิทยาลัยจากมหาวิทยาลัยเอกชน 70 แห่ง ขณะนี้ ดร.พรชัย มงคลวณิช อธิการบดีมหาวิทยาลัยสยาม เป็นนายกสถาบันอุดมศึกษาเอกชน ถ้าต้องการให้มหาวิทยาลัยเอกชนเข้าร่วมโครงการมากกว่านี้ก็จะสามารถเชิญชวนกันได้ สถาบันยุวทัศน์ฯ เป็นกลไกสำคัญที่จะขับเคลื่อนให้เกิดปรากฏการณ์สองวัยสร้างสรรค์ ทั้งนี้ นักศึกษาในโครงการให้ความร่วมมือทางสังคมเพื่อเป็นมาตรฐานสร้างสุขภาวะ หยุดปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยเด็ก โรคซึมเศร้าถึงขั้นกระโดดตึกฆ่าตัวตาย”

      โครงการนำร่องโดย 5 สถาบันอุดมศึกษาเอกชนที่เป็นภาคี เด็กเป็นผู้คิดและดำเนินงานโดยผู้ใหญ่ให้การสนับสนุนเป็นพี่เลี้ยง ซึ่งต่างจากครั้งก่อนๆ ที่ผู้ใหญ่สั่งให้เด็กลงมือทำด้วยคำพูดที่ว่า เชื่อฉันสิ แต่ในวันนี้เราต้องเปลี่ยนแปลงบทบาทด้วย social media เด็กต้องการพื้นที่ในการแสดงออกด้วยความคิดสร้างสรรค์ จะเห็นได้จาก youtuber เป็นงานสร้างสรรค์ของเด็ก เด็กจะมีความว่องไว มีความมุ่งมั่นที่จะทำให้เป็นจริง แต่ยังขาดความรอบคอบ ผู้ใหญ่ต้องมีบทบาทสนับสนุนด้วยความรอบคอบ คนสองวัยจะต้องทำงานผสมผสานไปด้วยกันอย่างที่เรียกว่าลองผิดลองถูกไปให้ถูกทาง ดังนั้นต้องร่วมมือกับรองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา ที่ผ่านมานั้น อ.ฉลอง แขวงอินทร์ จากมหาวิทยาลัยหัวเฉียว เป็นประธานเครือข่ายกิจการนักศึกษา สสอท. และ รศ.ดร.กฤษณ์ ทองเลิศ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยรังสิต เป็นที่ปรึกษาฝ่ายกิจการนักศึกษา

      “ขณะนี้ ม.รังสิตมีศูนย์ Wisdom Media มีความพร้อมในการผลิตสื่อป้อนหน่วยงาน ซึ่งหลังจากนี้หากมีนโยบายการทำงานร่วมกันกับทั้ง 5 สถาบันออกมาอย่างชัดเจนแล้ว ทาง ม.รังสิตก็พร้อมที่จะใช้ศักยภาพดังกล่าวของศูนย์ขับเคลื่อนงานให้เป็นจริง”.

(พชรพรรษ์ ประจวบลาภ เลขาธิการสถาบันยุวทัศน์แห่งประเทศไทย (ยท.))

(ฝาแฝดผู้น้องกับเมธชนนท์ ประจวบลาภ หัวหน้าสำนักการศึกษา ศาสนา วัฒนธรรมและสิทธิมนุษยชน)

        บุตรชาย ปิยะ ดีรอด และกันยา (วิกานดา) ศรีเมือง สองพี่น้องฝาแฝดใช้นามสกุลของคุณตาและคุณยาย คุณตาทวี ประจวบลาภ เป็นรองประธานศาลฎีกา ก่อนหน้านี้เป็นอธิบดีศาลอาญา บิดาทำงานบริษัทนำเข้าอาหารทะเลแช่แข็ง ส่วนมารดาเปิดร้านอาหารในซอยเสนา ใกล้เคียงกับ รพ.เปาโลฯ อยู่ไม่ไกลจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน

      พชรพรรษ ปัจจุบันอายุ 25 ปี จบปริญญาตรีคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม และกำลังจะจบปริญญาตรีสาขาประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยสยาม ประสบการณ์เมื่อครั้งอายุ 14 ปี สมัยเรียนหนังสือชั้น ม.2 รร.แห่งหนึ่งย่านรามคำแหง เคยเป็นหัวโจกสร้างวีรกรรมชักชวนเพื่อนในห้องเรียนเดียวกันหนีเรียนไปเที่ยวพัทยาเพียงวันเดียว รวมค่าอาหาร และเก็บเงินคนละ 450 บาท ใครยังไม่มีเงินผ่อนจ่ายได้ ด้วยคำพูดโน้มน้าวใจว่า “พวกเราเหนื่อยกันไหมกับการที่เราต้องมาเรียนสัปดาห์ละ 5 วัน เราอยากพักผ่อนกันไหม...ผมเป็นคนอ่าน นสพ. ตั้งแต่เด็กๆ จำได้ขึ้นใจ ตอนนั้นอ่าน นสพ.ข่าวสด จำประโยคได้ขึ้นใจว่า หากครอบครัวใดดูแลเอาใจใส่และเข้าใจเด็กและเยาวชนก็จะมีพัฒนาการที่ดี ผมใช้คำพูดว่าเราพักผ่อนด้วยการไปเที่ยวกลับมาก็จะเรียนได้ดี เพื่อนหนีเรียนกันทั้งห้องไปเที่ยวกับผม”

      หัวโจกในการจัดการเที่ยวพัทยาครั้งนั้น เริ่มตั้งแต่การเช่ารถทัวร์ซึ่งเจ้าของเป็นเพื่อนกับแม่ในสนนราคา 7,000 บาท มารับหน้า รร. และขากลับมาส่งเด็กทุกคนที่หน้า รร.เช่นเดิม ตอนนั้นแม่ไม่รู้ว่าลูกหนีเรียนไปเที่ยว คิดว่าคุยกับทาง รร.เรียบร้อยแล้ว พี่ชายฝาแฝดรู้เพราะน้องชายฝาแฝดเล่าให้ฟัง เพียงแต่พูดว่ารับผิดชอบเองก็็แล้วกัน

 

แล้วกัน หลังจากนั้นทาง รร.เรียกทั้งพ่อแม่และคุณตามาตักเตือนและให้ลงโทษพักการเรียน 1 สัปดาห์ ปรากฏว่าหยุดได้เพียง 2 วัน ทางอาจารย์ก็ตามให้กลับมาเรียนหนังสือเหมือนเดิม

      “ผมเป็นคนพูดโน้มน้าวใจคนเก่ง การเป็นเด็กดีไม่ต้องรวย ไม่ต้องเรียนเก่ง ทำอะไรที่ครอบครัวไม่เดือดร้อน แต่ถ้าเราสูบบุหรี่จะมีคนเดือดร้อนหลายคน ถ้าเราเจ็บป่วย พ่อแม่ย่อมเดือดร้อน ประเทศชาติก็ต้องเดือดร้อน เพราะต้องเอาภาษีของประชาชนมาใช้ในการรักษาคนป่วย เป็นเรื่องที่ไม่คุ้มค่า ผมเตือนเด็กและเยาวชนว่า ถ้าเราไม่สวมหมวกกันน็อก เวลาขี่รถมอเตอร์ไซค์หรือซ้อนท้ายมอเตอร์ไซค์ หัวฟาดพื้น พ่อแม่ก็ต้องหาเงินมารักษา ถ้าพ่อแม่ไม่มีเงิน ใครจะเป็นคนจ่ายค่ารักษา รัฐบาลก็ต้องมาออกเงิน เงินทุกบาททุกสตางค์ที่มาจากภาษีของประชาชน ถ้าคนไม่สวมหมวกกันน็อกแล้วเกิดอุบัติเหตุถูกรถชนหรือชนคนอื่นจนบาดเจ็บ ก็ต้องเอาเงินของประเทศมารักษา เราก็ต้องใช้คำพูดหลอกล่อเพื่อให้เขาสวมหมวกกันน็อกเพื่อความปลอดภัยของตัวเองและคนอื่น”

      สิ่งเหล่านี้สำคัญที่เราจะต้องเปลี่ยนแปลง Mind Set วิธีคิดแบบชั่วคราว การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเป็นการเฉพาะหน้าหรือวิธีคิดแบบถาวร ดังนั้นจะต้องใช้สื่อรณรงค์ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทำซ้ำๆ อย่างต่อเนื่อง อย่างที่เราเรียกว่าสัปเหร่อไม่กลัวผี เขาไม่กลัวผี เพราะเขาทำงานอยู่กับผีซ้ำแล้วซ้ำเล่าทุกๆ วัน

      โครงการพัฒนาการสื่อสารและเฝ้าระวังกลยุทธ์การโฆษณาและการตลาดของธุรกิจบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้า ร่วมกับสำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงทางสังคม และสำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงหลัก สสส. ตระหนักดีถึงปัญหาข้างต้น ดังนั้นในฐานะองค์กรขับเคลื่อนงานด้านเด็กและเยาวชนมาอย่างต่อเนื่องกว่า 10 ปี จึงมีแนวคิดจับมือกับสถาบันอุดมศึกษา พื้นที่นำร่อง 5 แห่ง ภายใต้ความร่วมมือด้านการพัฒนาศักยภาพนักศึกษาเพื่อรู้เท่าทันปัญหาปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพ โดยมุ่งเน้นสร้างเครือข่ายสถาบันอุดมศึกษาและเครือข่ายนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา ในการดำเนินกิจกรรมรณรงค์ป้องกันด้านปัจจัยเสี่ยงทางด้านสุขภาพ ซึ่งหลังจากนี้ ยท.จะสนับสนุนทรัพยากรให้แกนนำนักศึกษาในมหาวิทยาลัยไปดำเนินกิจกรรมในรูปแบบต่างๆ ตั้งแต่การรณรงค์ วิทยากรผู้เชี่ยวชาญ ทักษะทางวิชาการ ไปจนถึงการผลักดันให้เกิดกระบวนการแก้ไขปัญหาต่างๆ ในมหาวิทยาลัยและชุมชนโดยรอบอย่างยั่งยืน ภายใต้แนวคิด เด็กคิด เด็กทำ เด็กนำ ผู้ใหญ่หนุน ต่อแต่นี้เด็กๆ จะช่วยกันเขียนโครงการขอรับการสนับสนุนจาก สสส. ยิ่งทำเป็นกลุ่มร่วมกันก็ยิ่งดี ผลประโยชน์จะตกอยู่กับประเทศชาติ.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"