ไม่มาดร้ายแค่หวังดี! ‘ทอน’ยันม็อบมุ้งมิ้งเปล่าจาบจ้วงแตพู่ดความจริงที่กระอักกระอ่วน


เพิ่มเพื่อน    

 

แจงวุ่น "บิ๊กแดง" เปล่าน้ำตาริน แค่น้ำตาคลอเพราะอายุมากแล้ว เผยอีกไม่กี่วันก็ไม่ต้องเจอกับเรื่องแบบนี้แล้ว เพราะเกษียณ ขณะที่แกนนำม็อบนับถอยหลังชุมนุมใหญ่อีกรอบ ขู่พรึ่บ!ทั่วถนนราชดำเนิน “อานนท์” วอนอย่าเติมเชื้อไฟ หาเป็นม็อบล้มเจ้า ชี้เป็นเรื่องสุ่มเสี่ยง แต่ "ธนาธร" ยันสิ่งที่ผู้ชุมนุมพูดคือความจริงที่กระอักกระอ่วนในสังคมไทย ที่ไม่มีใครอยากรับฟัง ไม่มีใครอยากพูดถึงในที่สาธารณะ กลุ่มเสรีเทยพลัสจัดกิจกรรมม็อบไม่มุ้งมิ้งแต่ตุ้งติ้งค่ะคุณรัฐบาล พ่วงเรียกร้องสิทธิพนักงานบริการทางเพศ

    เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากสื่อลงข่าวพาดหัว “บิ๊กแดง” พล.อ.อภิรัชต์ คงสมพงษ์ ผบ.ทบ.น้ำตาคลอ  ขณะให้สัมภาษณ์ออกมาเตือน นศ.อย่าจาบจ้วงสถาบันฯ ใช้คำผรุสวาท ไม่เหมาะสม พร้อมลงภาพโฟกัสไปที่ตา โดยสื่อบางสำนักระบุว่า “บิ๊กแดงน้ำตาริน” เลยทีเดียว
    แหล่งข่าวใกล้ชิด พล.อ.อภิรัชต์เปิดเผยว่า ผบ.ทบ.ไม่สบายใจที่สื่อไปพาดหัวข่าวแบบนั้น อาจเพราะคิดในเชิงลบ เพราะการที่มีน้ำตาคลอนั้นเป็นเรื่องปกติของคนอายุมาก บางครั้งตาจะแห้งจนต้องหยอดน้ำตาเทียม หรือบางครั้งนั่งเฉยๆ น้ำตายังไหลออกมาเองเลย
    "เมื่อวานนี้ พล.อ.อภิรัชต์ไม่ได้ร้องไห้ ไม่มีสาเหตุ หรือสถานการณ์อะไรที่จะต้องร้องไห้ แต่น้ำตาคลอเพราะอายุมากแล้ว ตาก็จะเป็นแบบนี้ อีกหน่อยให้นักข่าวแก่อายุ 60 บ้าง จะรู้ว่าจะมีปัญหาเรื่องตาแบบนี้เหมือนกัน"
    ทั้งนี้ พล.อ.อภิรัชต์ถึงกับปรารภกับคนใกล้ชิดว่า “อีกไม่กี่วันก็ไม่ต้องเจอกับเรื่องแบบนี้แล้ว เกษียณแล้ว”
    นายสุภรณ์ อัตถาวงศ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า การออกมาพูดของ ผบ.ทบ.เป็นเรื่องที่ถูกต้องแล้ว เพราะมีความเป็นห่วงนิสิตนักศึกษาที่ไม่อยากให้มีการทำผิดกฎหมาย และก้าวล่วงสถาบันฯ ทั้งนี้ส่วนตัวก็เห็นด้วยกับเรื่องนี้ เพราะสถาบันพระมหากษัตริย์ถือเป็นที่รักและเคารพของคนทั้งประเทศ อีกทั้งการออกมาพูดของ ผบ.ทบ. ยังทำให้ประชาชนคนไทยรู้สึกอุ่นใจและสบายใจ
    นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.สาธารณสุข  กล่าวว่า ข้อเรียกร้องหลายเรื่องนำมาพิจารณาได้ เช่น การแก้รัฐธรรมนูญ ซึ่งพรรคภูมิใจไทยพร้อมแก้ไข แต่ต้องเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด มีสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) มีการทำประชามติ และถ้าทุกคนเห็นด้วยก็ยุบสภาเลือกตั้งใหม่ ซึ่งควรเป็นไปตามขั้นตอนทางการเมือง และเป็นกระบวนการประชาธิปไตย แต่ส่วนตัวไม่เห็นด้วยหากจะให้ยุบสภาโดยไม่แก้รัฐธรรมนูญ   เพราะไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง
    นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม อดีต ส.ส.พิษณุโลก เผยว่า ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา มีวาทกรรมไพร่กับอำมาตย์ ที่ระบอบทักษิณใช้ปลุกระดมมวลชน เพื่อแบ่งแยกประชาชน ปัจจุบันเกิดวาทกรรมคนรุ่นใหม่กับคนรุ่นเก่า รวมทั้งวาทกรรมคนรุ่นพ่อแม่ ลุงป้าน้าอา หรือคนแก่ โดยใช้วัยในการปลุกระดมแบ่งแยกประชาชนของพวกชังชาติ
    คำว่ารุ่นพ่อแม่ ลุงป้าน้าอา และคนแก่ เป็นคำที่ใช้ดูถูกเหยียดหยาม โดยเฉพาะในโซเชียลฯ ที่เหล่าอวตารสาวกชังชาติจะใช้ดูถูกคนอีกรุ่น และยกตนว่าเป็นคนรุ่นใหม่มาข่มเหง ผมอยากให้กำลังใจทุกท่านที่กลายเป็นเหยื่อ ที่พวกชังชาตินำวัยไปแบ่งแยก และพยายามด้อยค่า
อย่าได้หวั่นไหว
    ถ้าเทียบสมัย 14 ตุลา 2516 อาจพอฟังได้ เพราะยุคร่วม 50 ปีที่ผ่านมา คนเรียนมหาวิทยาลัยน้อยมาก เยาวชน นักศึกษา ในยุคนั้น จึงกลายเป็นปัญญาชนที่ชี้นำสังคม
    ในทางตรงข้าม ปัจจุบันคนรุ่นพ่อแม่ ลุงป้าน้าอา หรือคนแก่ไม่มีอะไรด้อยเลย เรียนหนังสือก็สูง รายได้ก็มี ประสบการณ์ก็มาก ผ่านการต่อสู้หลายรูปแบบ เจอทั้งผิดหวังและสมหวัง เราจึงต้องเชื่อมั่นในคุณค่าของความเป็นมนุษย์ ที่พวกชังชาติพยายามเหยียดและแบ่งแยก
    จึงอยากเชิญชวนลุงป้าน้าอาทุกท่าน อย่าได้หวั่นไหว ยังคงให้ความรัก ความเข้าใจ ความอบอุ่น และข้อเท็จจริง แก่ลูกหลาน เยาวชนคนรุ่นใหม่ของเรา
    ส่วนพวกชังชาติที่คอยยุแหย่ จาบจ้วงล้มล้าง สร้างความเกลียดชัง กระตุ้นการปฏิวัติ ซึ่งถือว่าเป็นศัตรูแผ่นดิน พวกผมขอรวบรวมไพร่พล รับผิดชอบคนเหล่านี้เอง
    สำหรับการชุมนุมของกลุ่มสหภาพนักเรียนนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย หรือ สนท. และกลุ่มเยาวชนปลดแอก  ยังคงดำเนินต่อไป
    นายอานนท์ นำภา ทนายความจากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ที่ไปร่วมเคลื่อนไหวทำกิจกรรมและขึ้นเวทีปราศรัยที่ถนนราชดำเนิน-อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย และขีดเส้นให้ยุบสภาใน 2 สัปดาห์ เผยว่า ช่วงก่อนไปถึงครบกำหนดสองสัปดาห์ คิดว่าจะเกิดปรากฏการณ์ที่เป็นลูกคลื่นแผ่ไปทั่วประเทศ จะเป็นไปโดยธรรมชาติ ไม่มีการจัดตั้ง คนจากส่วนกลางไม่ได้มีการไปนัดแนะให้ทำกิจกรรมอะไร
    อย่างที่กรุงเทพฯ พอจัดกันวันเสาร์ วันรุ่งขึ้นก็มีการจัดกิจกรรมที่เชียงใหม่ คือเป็นไปโดยธรรมชาติ โดยตอนนี้การเมืองไทยไม่เหมือนกับการเมืองเมื่อห้าปีสิบปีที่แล้ว ที่ต้องมีแกนนำหลัก แกนนำจังหวัด แต่ปัจจุบันไม่ใช่แล้ว ก็อาจจะมีผู้นำ แกนนำ แล้วก็มีผู้นำย่อยๆ ที่ไม่ได้ขึ้นตรงต่อกัน การเคลื่อนไหวจึงแปลกไปกว่าเดิม อย่างที่เกิดขึ้นที่เชียงใหม่ ก็คือการเคลื่อนไหวที่เป็นเอกเทศ ไม่ได้ขึ้นตรงต่อกัน แต่ข้อเรียกร้อง มีแกนกลางเดียวกันก็คือ เคลื่อนไหวเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญหรือให้มีการยุบสภา หยุดคุกคามประชาชน
    “สุดท้ายการชุมนุมที่กระจายอยู่ตามต่างจังหวัด จะกลับมาสู่กรุงเทพฯ อีกครั้งหนึ่ง ซึ่งผมคิดว่าการชุมนุมที่จะเกิดขึ้นเมื่อครบสองสัปดาห์หลังจากการชุมนุมเมื่อ 18 ก.ค. น่าจะเป็นการชุมนุมที่ใหญ่ที่สุดอีกครั้งหนึ่งของประเทศไทย” นายอานนท์กล่าว
    เมื่อถามว่า ที่บอกหากจะมีการนัดชุมนุมอีกครั้งที่กรุงเทพฯ คนจะมาเยอะ มองว่าเพราะปัจจัยอะไร เพราะสถานการณ์สุกงอม นายอานนท์กล่าวตอบว่า สถานการณ์สุกงอมหรือไม่ ยังมองไม่ขาดว่ามันสุกงอมหรือเปล่า แต่รู้สึกว่าเพราะคนมันทนมาเยอะ เลยทำให้คนออกมา คือมันผ่านการกดขี่มาเยอะ อย่างประชาชน พวกอายุ 40-50 ปีขึ้นไปที่มาร่วมชุมนุม ก็ผ่านการกดขี่ตั้งแต่สมัยเป็นเสื้อแดงมาแล้ว หลายคนก็ไม่พอใจ คนรุ่นใหม่ ก็ผ่านการกดขี่มาอีกแบบหนึ่ง เช่นเคยได้เลือกตั้งครั้งแรกตอนปี 2557 ก็มาโดนยึดอำนาจไป แล้วพอเลือกตั้งปี 2562 พรรคที่เขาเลือกคือพรรคอนาคตใหม่ ก็มาโดนยุบพรรค จึงมีความไม่พอใจการกดขี่ การทำร้าย ที่มีมาอย่างเนิ่นนาน
ไม่ใช่เรื่องล้มล้างสถาบันฯ
    ถามถึงกรณีมีการพูดถึงกันมากเกี่ยวกับการชุมนุมที่มีป้ายข้อความที่ไม่เหมาะสม พาดพิงสถาบันฯ คำถามดังกล่าว นายอานนท์ ทนายความจากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ชี้แจงว่า เป็นความเห็นส่วนตัวของคนที่มาชุมนุม แกนหลักของการชุมนุมครั้งนี้มีอยู่ 3 เรื่องเท่านั้น คือเรื่องยุบสภา แก้ไขรัฐธรรมนูญและหยุดคุกคามประชาชน คราวนี้เมื่อมีความเห็นหลากหลาย คนที่มีความเห็นวิพากษ์วิจารณ์สถาบันฯ อันนั้นเป็นความเห็นส่วนตัว หากเจ้าหน้าที่บ้านเมือง เห็นว่าผิดกฎหมาย ก็ดำเนินคดีไป มันไม่ได้เกิดจากการจัดตั้งหรืออะไรจากคนที่จัดการชุมนุมเลย คิดว่าเสรีภาพตรงนี้มันไปไกลแล้ว เราจะเอาความคิดของเราของคนรุ่นผมหรือคนที่แก่กว่าผม มาจับการชุมนุมในครั้งนี้แทบจะไม่ได้เลย
    ถามย้ำอีกว่า แต่ก็ยังมีคนออกมาวิจารณ์กันว่าต้องการล้มสถาบันฯ นายอานนท์กล่าวตอบว่า ถ้าทุกคนสื่อสารกันตรงๆ หากใครมีข้อมูลก็นำออกมาแชร์กัน ออกมาวิพากษ์วิจารณ์กันตรงๆ อย่าไปบิดเบือนว่านักศึกษามีเบื้องหลังมาจากฝ่ายอดีตพรรคอนาคตใหม่ มันไม่จริงอยู่แล้ว มันเห็นชัดว่ามันไม่มี มันไม่ใช่ เรื่องล้มล้างสถาบันฯ ก็ไม่มี เพราะข้อเสนอก็ชัดอยู่แล้ว กับสามข้อที่ออกมา ส่วนคนที่เขาแสดงออกมาก็ให้ดูเป็นเรื่องๆ ไป หากเป็นสิทธิเสรีภาพที่เขาทำได้ มีเหตุมีผลก็ต้องฟังเขา ไม่ใช่เรื่องที่ไปปิดปากไม่ให้เขาพูด ก็ใช้วิธีการชี้แจงกลับ
    “อย่าไปเติมเชื้อไฟ เรื่องพวกนี้เป็นเรื่องสุ่มเสี่ยง การที่ไปป้ายสีว่าม็อบล้มเจ้าเป็นเรื่องสุ่มเสี่ยงมาก เพราะคนที่ไปม็อบเขาก็มีอารมณ์ความรู้สึก และสังคมรอบข้าง คนที่มีสติก็มี แต่คนที่ไม่มีสติแล้วไปเชื่อตามที่ข่าวออกหรือที่รัฐไปป้ายสี แล้วเกิดไปทำร้ายคนที่มาชุมนุม ก็จะเป็นปัญหาลุกลามบานปลาย คนที่ไม่เห็นด้วยกับม็อบ ก็ควรให้เหตุผลที่เป็นเหตุผลจริงๆ มันสุ่มเสี่ยงมากนะเรื่องม็อบล้มเจ้า เพราะประเทศเราผ่านการสูญเสียอย่างเช่นเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 มาแล้ว เรื่องการป้ายสีเรื่องล้มเจ้า ที่เมื่อสูญเสียแล้วมันเอาคืนไม่ได้ แล้วมันเป็นบาดแผลของประเทศของประวัติศาสตร์เลย” นายอานนท์กล่าว
    นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ประธานคณะก้าวหน้า ไลฟ์สดผ่านรายการ “ก้าวหน้า Talk : คุณถาม เราตอบ ว่าในประเทศที่มีประชาธิปไตยเข้มแข็ง ผู้นำกองทัพไม่มีอำนาจออกมาให้ความคิดเห็นทางการเมืองเช่นนี้ แต่เพราะปัจจุบันกองทัพไม่ได้อยู่ภายใต้รัฐบาล กองทัพไม่มีความยึดโยงกับประชาชน เราจะเห็นได้ตลอดว่าผู้นำกองทัพคนปัจจุบันแถลงข่าวแสดงความคิดเห็นทางการเมืองอยู่บ่อยครั้ง
    และที่สำคัญ เราจะเห็นได้ชัดถึงกรณีการเลือกปฏิบัติต่อประชาชนอย่างชัดเจน ระหว่างการตอบรับนักศึกษา-ประชาชนที่มารวมตัวหน้ากองทัพบกเพื่อถามถึงท่าทีดูถูกดูแคลนที่ออกมาจากอดีตรองโฆษกกองทัพบก ที่มีการปิดประตูใส่ แต่ขณะเดียวกันอีกฝั่ง ซึ่งนำโดยนายสาธิต เซกัล ขอเข้าพบ ผบ.ทบ. กลับมีการเปิดบ้านต้อนรับเป็นอย่างดี
พูดด้วยความหวังดี
    “บทบาทของกองทัพที่ดีที่เหมาะสมในสังคมที่เป็นประชาธิปไตย คือกองทัพออกมาให้ความเห็นทางการเมืองไม่ได้ นี่เป็นเรื่องของฝ่ายการเมือง ไม่ใช่เรื่องของกองทัพ ภารกิจของกองทัพ ง่ายๆ สั้นๆ ตรงไปตรงมา คือสร้างกองทัพที่มีประสิทธิภาพ เข้มแข็ง พร้อมที่จะปกป้องประเทศหากมีการรุกราน เท่านี้เอง การบริหารประเทศเป็นเรื่องของฝ่ายรัฐบาล ไม่ใช่เรื่องของกองทัพ”
    นายธนาธรกล่าวถึงการชุมนุมของนักศึกษาว่า สิ่งที่นักศึกษาปราศรัยคือปัญหาที่คนรุ่นเราไม่กล้าพูดถึง นี่คือจุดสำคัญของสังคมไทย นักศึกษาได้ตั้งคำถามกับระบบระเบียบที่อยู่ในสังคมไทย แต่คนรุ่นเรามีวุฒิภาวะพอหรือไม่ที่จะเผชิญหน้ากับคำถามนี้อย่างตรงไปตรงมา
    “เวลาเราพูดเรื่องนี้เราไม่ได้พูดด้วยความมาดร้ายพยาบาท แต่เราพูดด้วยความหวังดี ว่ามีปัญหาที่นักศึกษา-คนรุ่นใหม่ได้พูดขึ้นมาแล้ว เรากล้ายอมรับมัน เรากล้าเผชิญกับความจริงหรือไม่ เรามีทางเลือกที่จะเอาเรื่องนี้ซุกไว้ใต้พรม ทำเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น ทำเหมือนว่าสิ่งที่พวกเขาพูดไม่เคยเกิดขึ้นในประเทศไทย แล้วปล่อยปัญหานี้ให้คนรุ่นเขาจัดการเอง หรือเมื่อรับฟังไม่ได้-ใจไม่กว้างพอที่จะเปิดรับความคิดเห็นเหล่านี้ ก็จับพวกเขาเข้าคุกหรือไล่ให้ไปอยู่ต่างประเทศ กำราบปราบปรามพวกเขา"
    ประธานคณะก้าวหน้ากล่าวว่า อย่าลืมว่านี่คืออนาคตของประเทศ และเราไม่ได้พูดถึงคนหลักสิบหลักร้อย แต่เรากำลังพูดถึงคนเป็นหลักหมื่นหลักแสน ข้อเสนอที่เรียบง่ายก็คือการยอมรับการดำรงอยู่ของปัญหาอย่างตรงไปตรงมา การจะหาทางออกด้วยกันได้เริ่มจากการยอมรับว่ามีปัญหาอยู่จริง ถ้าไม่ยอมรับกันตรงนี้แล้วไม่มีทางหาทางออกร่วมกันได้”
    นายธนาธรยังกล่าวถึงกรณีการโหวตให้ตั้งกรรมาธิการให้รับฟังนักศึกษา ว่าดูก็เหมือนว่าจะดี แต่ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นคือด้านหนึ่งตั้งกรรมาธิการขึ้นมาจะรับฟังความเห็น แต่อีกด้านหนึ่งจับยัดเยียดคดี ส่งตำรวจไปที่บ้าน ไปโรงเรียน ไปมหาวิทยาลัย
    ตกลงแล้วฝ่ายบริหารมีความจริงใจจะรับฟังความคิดเห็นของพวกเขาจริงหรือไม่ สุดท้ายคุณไม่ได้ฟังเขาแล้วไปหาว่าเขาจาบจ้วง คำถามที่ต้องถามถือคุณเปิดใจกว้างพอไหมที่จะฟังในสิ่งที่เขาพูด เพราะสิ่งที่เขาพูดคือความจริงที่กระอักกระอ่วนในสังคมไทยที่ไม่มีใครอยากรับฟัง ไม่มีใครอยากพูดถึงในที่สาธารณะ
I love dicks
    “คำถามคือเราจะจัดการกับความจริงที่ดำรงอยู่อย่างไร ที่ไม่มีใครอยากพูดในที่สาธารณะ แต่วันนี้มีคนออกมาพูดแล้ว เราจะจัดการกับเรื่องอย่างนี้อย่างไร ผมคิดว่าวิธีจัดการเรื่องอย่างนี้ที่ดีที่สุด คือการยอมรับการมีอยู่ของมัน การเผชิญหน้ากับมันอย่างเป็นผู้ใหญ่ อย่างมีวุฒิภาวะ อย่างตรงไปตรงมา ด้วยท่าที ด้วยความคิดที่ไม่อาฆาตมาดร้าย แต่ด้วยท่าทีที่ส่งให้เห็นถึงความปรารถนาดี ที่จะพาสังคมไทยออกจากความขัดแย้งนี้ไปด้วยกันอย่างสันติ”
    นายธนาธรกล่าวว่า นักศึกษาเหล่านี้เขาออกมาต่อสู้แทนคนที่ออกมาไม่ได้ เพราะหลายคนเป็นเสาหลักของครอบครัว หลายคนที่อยากจะออกมาจำเป็นต้องดูแลพ่อแม่ เนื่องด้วยสถานะต่างๆและสภาพเศรษฐกิจจึงออกมาไม่ได้ สิ่งที่รัฐบาลต้องการคือทำให้ทุกคนหวาดกลัว ไปเยี่ยมตามบ้าน ข่มขู่ผู้ปกครอง ถ้าเราไม่ออกมาปกป้องพวกเขา ในที่สุดเขาท้อถอยและยุติการต่อสู้ เพราะความหวาดกลัว ความเปลี่ยนแปลงก็จะไม่เกิด นี่คือช่วงเวลาแห่งความหวัง เราทุกคนต้องช่วยกันปกป้องพวกเขา
    หัวหน้าคณะก้าวหน้ากล่าวว่า สังคมที่เป็นประชาธิไตยนั้นไม่ได้มีแค่การเลือกตั้ง ประชาธิปไตยที่แข็งแรงได้ต้องประกอบไปด้วยส่วนอื่นๆ ด้วย รวมทั้งการทำงานของสื่อมวลชนที่ตรวจสอบอย่างอิสระ สื่อมวลชนคือด่านแรก ที่จะเลือกว่าเรื่องไหนประชาชนควรจะรู้ เรื่องไหนเราอยากให้ประชาชนรู้ ควรจะเอาเรื่องไหนควรจะเป็นข่าว สื่อเป็นคนเลือกเรื่องราวที่เกิดขึ้นมาเป็นข่าว สื่ออยากให้ประชาชนรู้และเข้าใจเรื่องไหน ถ้าสื่อไม่มีความรับผิดชอบต่อสังคม ก็จะปล่อยข่าวที่มอมเมาประชาชน ข่าวที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อประชาชน
    "สังคมประชาธิปไตยที่แข็งแรง สื่อมีสิทธิเสรีภาพ ต้องได้รับการปกป้อง มีสถานะพิเศษ ดังนั้นเพื่อจะตอบรับกับศรัทธาและสถานะพิเศษนี้ สื่อต้องเป็นคนทำหน้าที่กลั่นกรองเรื่องราวที่ประชาชนควรจะรู้ให้กับประชาชน เอาเรื่องราวที่ผู้มีอำนาจไม่อยากให้ประชาชนรู้มาบอกเล่าให้กับประชาชน นี่จึงเป็นประชาธิปไตยที่แข็งแรง" นายธนาธรกล่าว
    ช่วงเย็นวันเดียวกันนี้ กลุ่มเสรีเทยพลัส จัดกิจกรรมม็อบไม่มุ้งมิ้งแต่ตุ้งติ้งค่ะคุณรัฐบาล ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เรียกร้อง 3 ข้อ ประกอบด้วย 1.หยุดคุกคามประชาชน 2.ยุบสภา 3.แก้ รธน. และยังเรียกร้องแก้ประมวลแพ่งฯ เพื่อสมรสเท่าเทียม พร้อมชูป้ายประท้วงเรียกร้องในประเด็นที่ไม่ค่อยได้เห็นบ่อยนัก อาทิ สิทธิพนักงานบริการทางเพศ, I love dicks not dictators เป็นต้น.

 

 

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"