มีตำรวจไว้ทำไม! 'ศรีสุวรรณ'ข้องใจไม่ดำเนินคดีม็อบทั้งที่ผิดพรก.ฉุกเฉิน


เพิ่มเพื่อน    

31 ก.ค. 63 - นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย เปิดเผยว่า ตามที่ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. มีมติขยายการบังคับใช้พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน (พ.ร.ก.ฉุกเฉิน) ต่อไปอีก 1 เดือน ในเดือน ส.ค. นี้ โดยจะไม่ใช้บังคับกับการชุมนุมสาธารณะ ตามที่สื่อได้นำเสนอข่าวไปก่อนหน้านี้นั้น

ในช่วงนี้ประเทศไทยอยู่ในช่วงการควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด19 ภายใต้การประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ทำให้การชุมนุมในช่วงเวลานี้เป็นการละเมิดกฎหมาย ตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ไม่ว่าจะเป็นการชุมนุม ทำกิจกรรม ที่เป็นการยุยงให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อย ตามข้อกำหนดฉบับที่ 1 ข้อ 5 และการชุมนุม หรือทำกิจกรรมในลักษณะที่เสี่ยงต่อการแพร่เชื้อโรค ตามประกาศของ ผบ.สส./หัวหน้าผู้รับผิดชอบในส่วนที่เกี่ยวกับความมั่นคง

ซึ่งหากมีการชุมนุมที่ผ่านมาไม่ว่าจะเป็นกลุ่มเยาวชนปลดแอก ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เมื่อวันที่ (18 ก.ค. 63) หรือหน้ากองบัญชาการกองทัพบก เมื่อวันที่ (20 ก.ค. 63) หรือการชุมนุมแสดงความเคลื่อนไหวทางการเมืองในต่างจังหวัด ในหลายๆ พื้นที่ (22 ก.ค. 63) จนกระทั่งล่าสุดคือกลุ่มอาชีวะช่วยชาติ เมื่อวันที่ 30 ก.ค.ที่ผ่านมา ล้วนแล้วแต่เป็นการทำกิจกรรมที่เกิดขึ้นก่อนถึงสิ้นเดือน ก.ค. 2563 ทั้งสิ้น ถือว่าการชุมนุม การทำกิจกรรมดังกล่าวเข้าข่ายเป็นความผิดตามข้อกำหนดที่ ศบค.ประกาศกำหนด ซึ่งจะต้องระวางโทษจำคุก ไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตาม มาตรา 18 แห่ง พ.ร.ก.ฉุกเฉิน

ในประเด็นที่นายกรัฐมนตรีและหรือ ศบค.ออกมาประกาศว่าจะมีการงดเว้นบังคับตามข้อกำหนดที่ออกตาม มาตรา 9 แห่ง พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เรื่องการชุมนุม ดังกล่าวนั้น พบว่าประกาศ เรื่องการขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร (คราวที่ 4) นั้นจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ส.ค.63 เป็นต้นไป ดังนั้น การชุมนุมทุกครั้ง ทุกกลุ่มที่ผ่านมาถือได้ว่าเป็นการชุมนุมที่ผิดกฎหมายทั้งสิ้น

แต่จนบัดนี้ ยังไม่ปรากฎว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจจะยังคงดำเนินการบังคับใช้กฎหมายกับผู้กระทำความผิด ที่ฝ่าฝืนข้อกำหนด ประกาศ คำสั่ง ข้อกฎหมายต่างๆ ทั้งสิ้น ข้ออ้างที่ว่ายังอยู่ระหว่างสอบสวนรวบรวมพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องในการดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไปนั้น จะใช้ระยะเวลาในการสอบสวนรวบรวมพยานหลักฐานกี่วัน กี่เดือน กี่ปี หรือเอาให้เต็มที่ 8 ปีเหมือนกรณีคดีของบอส-วรวุธ อยู่วิทยา

"บ้านเมืองมีขื่อมีแปร มีกฎหมายเพื่อใช้บังคับ หากตำรวจไม่เร่งรีบบังคับใช้กฎหมายปล่อยให้ผู้กระทำความผิดลอยนวล โดยไม่เกรงกลัวความผิดเยี่ยงนี้ แน่นอนว่าตำรวจย่อมมีความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา157 โดยตรง และในที่สุดประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศก็อาจจะถามกันอย่างเซ็งแซ่ว่า มีตำรวจไว้ทำไม” นายศรีสุวรรณ ระบุ.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"