ไม่ฟันธง'ทรู'ผิด! ทำเอกสารรั่วไหล งัด3ทางป้องกัน


เพิ่มเพื่อน    

   กสทช.เรียก "ทรู" ชี้แจงกรณีทำเอกสารสำคัญรั่วไหล แต่ยังไม่เอาผิด รอบอร์ดพิจารณาก่อน  ขณะที่ทรูออก 3 มาตรการป้องกัน พร้อมแจ้งความแทนลูกค้า 11,400 ราย เพื่อคุ้มครองสิทธิ "ฐากร" ปิ๊งไอเดียสร้างดาต้าเซ็นเตอร์ของตัวเอง มท.1 ขู่หาก จนท.ทำข้อมูลของ ปชช.รั่วไหล ต้องดำเนินการตามกฎหมาย  
    เมื่อวันที่ 17 เมษายน นายฐากร ตัณฑสิทธิ์  เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)  ได้เชิญบริษัททรูมูฟเอชเข้ามาชี้แจงข้อเท็จจริงในกรณีที่ปรากฏข่าวบนเว็บไซต์ว่า ทรูทำข้อมูลบัตรประชาชนของลูกค้าหลุดจำนวนมาก ณ สำนักงาน กสทช.
    โดยนายภคพงศ์ พัฒนมาศ รองผู้อำนวยการธุรกิจโมบายล์ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เปิดเผยถึงมาตรการป้องกันการทำข้อมูลลูกค้ารั่วไหล เพื่อไม่ให้เกิดกรณีข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้าทรูมูฟเอช ที่เก็บไว้บน Amazon S3 ซึ่งเป็นบริการฝากข้อมูลบนระบบคลาวด์ โดยไม่มีการเข้ารหัส ทำให้สามารถเข้าถึงข้อมูลกว่า 4.6 หมื่นไฟล์ หรือพื้นที่ความจุกว่า 32GB ตั้งแต่ปี ค.ศ.2014-2018 (พ.ศ.2557-2561) ว่า 1.จะส่งเอสเอ็มเอสและอีเมลแจ้งเตือนไปยังลูกค้า ให้ลูกค้าได้ทราบถึงมาตรการต่างๆ ที่ทรูได้ทำไป ให้ลูกค้าเกิดความเชื่อมั่นว่าทรูได้ทำอะไรไปบ้าง และในวันนี้ ส่วนของระบบไอทรูมาร์ทเองก็ไม่สามารถมีผู้แฮ็กข้อมูลเข้ามาได้แล้ว ทั้งนี้ คาดว่าเอสเอ็มเอสจะเริ่มทยอยส่งไปที่ลูกค้าตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป
    2.เพื่อคุ้มครองสิทธิของลูกค้าในกรณีที่ข้อมูลอาจจะถูกนำไปใช้อย่างผิดประเภท หรือผิดกฎหมาย ทรูจะดำเนินการแจ้งความให้กับลูกค้าทั้ง 11,400 รายนี้ เพื่อให้แน่ใจว่าสิทธิของลูกค้ายังคุ้มครองโดยถูกกฎหมาย
    3.ตั้งคอลเซ็นเตอร์และช่องทางที่จะให้ลูกค้าได้ติดต่อเข้ามา ไม่ว่าจะเป็นเบอร์ 1242 ซึ่งในเชิงระบบทรูจะมีการโหลดเบอร์ลูกค้าทั้ง 11,400 รายนี้เข้ามา ถ้าลูกค้าติดต่อเข้ามาก็จะไม่เสียค่าบริการ และจะมีเจ้าหน้าที่รองรับเพื่อช่วยเหลือเรื่องนี้อยู่ รวมถึงจะเปิดหน้าเว็บไซต์ให้ลูกค้าสามารถเข้ามาสอบถามข้อมูลได้
    "ทั้งหมดนี้เป็นมาตรการที่ทรูคิดว่าจะช่วยดูแลลูกค้าได้ และหากลูกค้ากลุ่มนี้เกิดปัญหาในอนาคต ในนามบริษัททรู คอร์ปอเรชั่น และทรูมูฟเอช จะรับผิดชอบ และพร้อมที่จะดูแลลูกค้าอย่างต่อเนื่อง" นายภคพงศ์กล่าว   
    ด้านนายฐากรกล่าวว่า กสทช.จะมีหนังสือแจ้งเตือนผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายกับข้อมูลลูกค้าอีก โดยให้ทรูทำการตรวจสอบลูกค้า 11,400 ราย ที่ข้อมูลถูกเปิดเผย เพื่อกำหนดมาตรการเยียวยาผู้บริโภค นอกจากนี้ ให้โอเปอเรเตอร์ทุกค่ายแจ้งมาตรการรับมือกับปัญหาเกี่ยวกับข้อมูลของลูกค้า ทั้งนี้ ในอนาคต กสทช.มีแนวคิดที่จะมีดาต้าเซ็นเตอร์ เพื่อเก็บข้อมูลของผู้ใช้บริการ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและความน่าเชื่อถือให้กับประชาชน
    รายงานข่าวแจ้งว่า เบื้องต้น กสทช.ยังไม่เอาผิดบริษัท ทรูฯ กำลังรวบรวมข้อเท็จจริงให้รอบด้านก่อนนำเข้าบอร์ด กสทช.พิจารณาอีกครั้ง 
     ส่วน พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทย กล่าวถึงบริษัททรูมูฟเอชปล่อยข้อมูลบัตรประชาชนที่ใช้ซื้อโทรศัพท์ให้รั่วไหลว่า ยืนยันว่าข้อมูลที่หลุดออกไปเป็นเพียงข้อมูลหน้าบัตรประชาชนเท่านั้น ส่วนข้อมูลเชิงลึกในบัตรประชาชนนั้นไม่ได้หลุดออกไปอย่างแน่นอน เพราะเรามีระบบป้องกันข้อมูลส่วนตัวของประชาชน ไม่มีใครสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ นอกจากเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบ หากมีเจ้าหน้าที่รายใดที่มีส่วนทำให้ข้อมูลของประชาชนรั่วไหลออกไป ต้องได้รับโทษตามกฎหมาย.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"