ส่องโผจัดทัพ บิ๊กขรก. เก้าอี้ 'ซีไอเอเมืองไทย' ยังไม่นิ่ง


เพิ่มเพื่อน    

พลเอกสมศักดิ์ รุ่งสิตา เลขาธิการสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ

15 ส.ค. 63 - เข้าสู่ช่วงกลางเดือนสิงหาคม เหลืออีกประมาณหนึ่งเดือนครึ่ง ก็จะสิ้นสุดปีงบประมาณ 30 กันยายน ที่ก็คือ วงรอบของช่วงการทำงานของข้าราชการ-เจ้าหน้าที่รัฐ ที่คนเกษียณ ก็จะเกษียณ 30 กันยายน ส่วนคนที่รับตำแหน่งใหม่ ก็จะเริ่มงานตำแหน่งใหม่ 1 ตุลาคม จึงทำให้ช่วงนี้ จึงเป็นช่วงการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการระดับสูงหลายแห่ง ที่เริ่มตั้งแต่เสร็จเรียบร้อยไปหลายหน่วยงานแล้ว

          อย่างการประชุมครม.เมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา ครม. ก็เห็นชอบการตั้ง ปลัดฯสาธารณสุขคนใหม่ ซึ่งเป็นกระทรวงใหญ่ และมีความสำคัญอย่างมากในยุคปัจจุบันที่แม้สถานการณ์โควิดฯ จะเริ่มดีขึ้น ซึ่งผู้ได้เก้าอี้ไป ก็คือ " นพ. เกียรติภูมิ วงศ์รจิต อธิบดีกรมสุขภาพจิต"

          หลังการขับเคี่ยวชิงเก้าอี้ ปลัดก.สาธารณสุข ปีนี้เข้มข้นไม่ใช่น้อย เพราะลุ้นกันถึง 4 อธิบดีที่เป็นตัวเต็ง คือ นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ -นพ. สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมควบคุมโรค -พญ.พรรณพิมล วิปุลากร อธิบดีกรมอนามัย และนพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต อธิบดีกรมสุขภาพจิต ก่อนที่สุดท้าย "อนุทิน ชาญวีรกูล รมว.สาธารณสุข "จะเคาะที่ นพ.เกียรติภูมิ

          ส่วนกระทรวงอื่นๆ  คาดว่า รัฐมนตรีแต่ละกระทรวง จะเริ่มทำบัญชีรายชื่อแต่งตั้ง ปลัดกระทรวง-อธิบดี ให้ที่ประชุมครม.เห็นชอบ ทยอยตามมา โดยมีข่าวว่า พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา กำชับว่าต้องการให้ทุกกระทรวงส่งรายชื่อแต่งตั้งระดับ 11 ให้ครม.เห็นชอบให้แล้วเสร็จครบทุกตำแหน่งภายในสัปดาห์หน้านี้หรือช้าสุดสัปดาห์ถัดไป

          พบว่า ปีนี้ มี ปลัดกระทรวง และนักบริหารระดับซี 11 หลายแห่ง เกษียณอายุราชการ กันหลายคน หลายกระทรวง           เช่นประสงค์ พูนธเนศ ปลัดกระทรวงการคลัง -ชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ปลัดกระทรวงคมนาคม-อนันต์ สุวรรณรัตน์ ปลัดฯเกษตรและสหกรณ์-สรนิต ศิลธรรม ปลัดฯอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม-นางบุษยา มาทแล็ง ปลัดฯต่างประเทศ -ปรเมธี วิมลศิริ ปลัดก.พัฒนาสังคมฯ -กฤษศญพงศ์ ศิริ ปลัดก.วัฒนธรรม -ประเสริฐ บุญเรือง ปลัดก.ศึกษาธิการ

          นอกจากนี้ ก็ยังมีนักบริหารระดับสูง ที่มีตำแหน่งเทียบเท่า ปลัดกระทรวง คือ ซี 11   ที่ครองตำแหน่งเลขาธิการในกระทรวงศึกษาธิการ อีก 3 ตำแหน่ง คือ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน- เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา และเลขาธิการสภาการศึกษา ตลอดจน ระดับนักบริหาร ซี 11 อีก 3 ราย

          ที่ประกอบด้วย  "พลเอกสมศักดิ์ รุ่งสิตา เลขาธิการสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ "(สมช.)  ที่แม้ สมช. จะเป็นหน่วยงานด้านการข่าว-ความมั่นคง แต่ปรากฏว่า จากสงครามโควิดฯ ทำให้ บทบาทของสมช.ต้องปรับเปลี่ยนไปตามสถานการณ์ทำให้ ที่ผ่านมา ชื่อของพลเอกสมศักดิ์ ปรากฏตามสื่อ บ่อยครั้ง ในฐานะ ประธานคณะกรรมการเฉพาะกิจพิจารณาผ่อนคลายการบังคับใช้มาตรการในการป้องกันและยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคติดต่อเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่มีบทบาทสำคัญในเรื่องการให้ความเห็น ต่อที่ประชุมใหญ่ศบค.ในเรื่องการผ่อนคลายมาตรการต่างๆ  ในช่วงโควิดฯ รวมถึงมีบทบาทสำคัญในการให้ความเห็นเรื่อง การต่ออายุ การบังคับใช้ พรก.ฉุกเฉินฯ

          คาดหมายกันว่า เก้าอี้ "เลขาธิการ ซีไอเอเมืองไทย-สมช.ตึกแดง" น่าจะเป็นอีกปีหนึ่ง ที่อาจมีการข้ามห้วยมาจาก"กองทัพ" ซึ่งหากออกมาตามสูตรนี้ ก็จะทำให้ เลขาธิการสมช. คนใหม่ ข้ามห้วยมาจาก"สายทหาร"เป็น คนที่ 4 ติดต่อกัน ต่อจาก พล.อ.ทวีป เนตรนิยม-พล.อ.วัลลภ รักเสนาะ -พล.อ.สมศักดิ์ รุ่งสิตา โดยก่อนหน้านี้ ในยุครัฐบาลพลเอกประยุทธ์ -คสช. เคยมี เลขาธิการสมช.จากฝ่ายพลเรือน เพียงคนเดียวคือ อนุสิษฐ คุณากร ในช่วงปี 2557-2558

          ข่่าวลือจากตึกแดง -สมช. ในทำเนียบรัฐบาล ออกมาหลายกระแส แต่ข่าวบางสาย บอกว่า เก้าอี้ เลขาฯสมช.จะเชื่อมโยงกับ “โผทหาร ประจำปี” เพราะจากเดิมที่ เลขาธิการสมช.คนใหม่ เต็งหนึ่ง น่าจะเป็น “พล.อ.ณตฐพล บุญงาม” อดีตเจ้ากรมข่าวทหาร ช่วยราชการ สภาความมั่นคงแห่งชาติ แต่ระยะหลังมีข่าวว่า ไม่แน่อาจจะเป็น “บิ๊กเล็ก พล.อ.ณัฐพล นาคพาณิชย์ รอง ผบ.ทบ. “หากพลเอกณัฐพล พลาดเก้าอี้ ผบ.ทบ. เพราะสุดท้าย พลิก-เบียดสู้ พล.อ.ณรงค์พันธ์ จิตต์แก้วแท้ ผช.ผบ.ทบ ที่เป็นเต็งหนึ่งมาตลอด ในช่วงโค้งสุดท้ายไม่ได้ แล้ว นายกฯ ดันให้มาเป็น เลขาธิการสมช. แทน ท่ามกลางข่าวว่า พลเอกณัฐพล ที่เหลืออายุราชการอีกหนึ่งปีคือเกษียณกันยายนปีหน้า ไม่ได้อยากข้ามห้วยมาอยู่สมช. ที่เล็กกว่า ที่กองทัพบกมาก  ด้วยเหตุนี้ เลยทำให้ เก้าอี้ “เลขาฯสมช.คนใหม่” เลยต้องอิงกับโผทหาร ไปโดปริยาย  

และอีกหนึ่งตำแหน่ง ด้านการข่าว ที่จะเกษียณในปีนี้เช่นกันก็คือ “อนุกูล เจิมมงคล ผอ.สำนักข่าวกรองแห่งชาติ” แต่ระยะหลัง สำนักข่าวกรองฯ บทบาทมีไม่มากเหมือนในอดีต โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับ  เลขาธิการสมช.

          สำหรับระดับ ซี 11 ที่จะเกษียณคนอื่นๆ ก็ยังมี "ทศพร ศิริสัมพันธ์ เลขาธิการสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ" โดยตำแหน่งเลขาธิการสภาพัฒน์ฯ ในยุคนี้ถือว่าสำคัญมาก เพราะเป็น หัวเรือใหญ่ ในคณะกรรมการกลั่นกรอง โครงการต่างๆ ที่ทำเรื่องมาขอใช้เงินกู้จากพ.ร.ก.โควิดฯ ที่มีด้วยกันหลายแสนล้านบาท ด้วยเหตุนี้ นายกฯ และรมว.คลัง คงคัดเป็นพิเศษ ที่แนวโน้ม ก็น่าจะเป็นคนในสภาพัฒน์ฯ  ไม่ใช่คนนอก

          ข่าวบอกว่า ยิ่งใกล้ที่จะแต่ละกระทรวง ต้องส่งบัญชีแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการระดับสูงในกระทรวงให้ครม.เห็นชอบ ก็ยิ่งทำให้ เกิดสภาพ "ฝุ่นตลบ"เกิดขึ้นแล้วหลายกระทรวง  โดยเฉพาะในช่วงต้นสัปดาห์หน้า ที่คาดว่า รัฐมนตรีหลายคน คงต้องเคาะโผให้เสร็จสิ้นโดยเร็ว

          อย่างที่"กระทรวงการคลัง" ก็มีข่าวว่า เดิมที จากที่ตัวเต็งคือ "กฤษฎา จีนะวิจารณะ อธิบดีกรมศุลกากร" ซึ่งผ่านตำแหน่งหลักในกระทรวงมาแล้วเช่น ผู้อำนวยการเศรษฐกิจการคลัง -อธิบดีกรมสรรพสามิตร คือเต็งหนึ่ง แต่ตอนนี้ กลับมีข่าวว่า "กุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน" อดีตลูกหม้อ กระทรวงการคลัง  ที่ก็เคยเป็นอดีตอธิบดีกรมศุลกากรมาก่อน ก็กำลังลุ้นอยากกลับไปเป็น ปลัดคลังฯ หลังโดนโยกไปนั่งเป็นปลัดก.พลังงาน มาร่วม2 ปีแล้ว แต่ลึกๆ ก็อยากกลับมาเป็นปลัดคลังฯ ที่ตัวเองเติบโตมากกว่า แต่ก็ไม่รู้ว่าสุดท้ายแล้ว "ปรีดี ดาวฉาย รมว.คลังคนใหม่" จะเอาด้วยหรือไม่

          เช่นเดียวกับที่"กระทรวงคมนาคม" ก็มีข่าวว่า บิ๊กๆ ในก.คมนาคม กำลังลุ้นกันอย่างหนักว่า ศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม จะเลือกใครเป็น ปลัดคมนาคมคนใหม่ เพราะมีแคนดิเดทให้เลือกหลายคน ไม่ว่าจะเป็นอาทิเช่น สราวุธ ทรงศิวิไล อธิบดีกรมทางหลวง -พิศักดิ์  จิตวิริยะวศิน รองปลัดฯ -จิรุตม์ วิศาลจิตร อธิบดีกรมการขนส่งทางบก เป็นต้น

          ส่วนอีกหนึ่งกระทรวงใหญ่คือ"ก.เกษตรและสหกรณ์" ที่จะมาแทน อนันต์ สุวรรณรัตน์ ปลัดกระทรวงเกษตรฯ ข่าวบอกว่า สุดท้าย อาจเป็นการชิงกันของ สองอธิบดี คือ ทองเปลว กองจันทร์ อธิบดีกรมชลประทาน และ สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์  ที่ต้องดูว่าสุดท้าย เฉลิมชัย ศรีอ่อน รมว.เกษตรฯ จะเคาะชื่อไหน

        ที่แน่ๆ งานนี้ ใครดีใครได้ เพราะข้าราชการ ทุกคน ก็ล้วนอยากเป็นใหญ่เป็นโต อยากจบชีวิตราชการ ในเก้าอี้ เบอร์หนึ่ง ของกระทรวงกันทั้งสิ้น การแข่งขัน -ชิงตำแหน่ง จึงเป็นเรื่องปกติ แต่หากถึงขั้น ต้องใช้เงิน ซื้อตำแหน่งก็ไม่ไหว เพราะเมื่อลงทุนไป มันก็ต้องมีการ ถอนทุน สิ่งที่ตามมา ก็คือ การคอรัปชั่น นั่นเอง 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"