‘เป็น อยู่ คือ’ สืบสานวิถีชุมชนสร้างคนรุ่นใหม่หัวใจอนุรักษ์


เพิ่มเพื่อน    

เมื่อเยาวชนเป็นความหวังและอนาคตของประเทศ การสร้างคนรุ่นใหม่ให้มีคุณภาพจึงเป็นภารกิจระดับชาติที่ผู้ใหญ่ทุกคนต้องมีส่วนร่วม แต่คำนิยามของ คุณภาพคืออะไร หากจะตีเส้นให้เด็กๆ เดินตามโดยยึดถือเพียงสิ่งที่ทำตามกันมา คงจะเข้าถึงใจเด็ก Gen นี้ไม่ได้แล้ว บทบาทของผู้ใหญ่จึงต้องปรับเปลี่ยนจากเขียนกรอบสูตรสำเร็จ เป็นให้เด็กเขียนเส้นทางอนาคตของตัวเอง โดยที่ผู้ใหญ่เพียงแค่คอยชี้แนะและประคับประคองเท่านั้น

 

ความห่วงใยเกินพอดีอาจทำให้ดูยากที่จะปฏิบัติ แต่เมื่อวันที่ 1-2 สิงหาคม 2563 ที่ผ่านมา มีผู้ใหญ่กลุ่มหนึ่งนำแนวคิดทำนองนี้มาเป็นเครื่องมือสร้างเยาวชนบนเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี ให้เกิดกระบวนการคิด จิตสำนึก รวมถึงหัวใจอนุรักษ์ถิ่นฐานบ้านเกิดและสิ่งแวดล้อมเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ในนามค่าย เป็น อยู่ คือ ที่สื่อถึงสิ่งที่เกิดขึ้นบนบริบทนั้นๆ เช่น เป็นครู อยู่สมุย คือคนที่พัฒนาเด็ก เป็นต้น มีนัยยะที่ค่อนข้างเปิดกว้างมาก

 

ค่าย เป็น อยู่ คือ ถูกออกแบบโดย บริษัท กะทิ กะลา จำกัด และมูลนิธิเกาะสีเขียว ภายใต้การสนับสนุนจาก ซีพี ออลล์ ผู้บริหารออลล์ ออนไลน์และเซเว่น อีเลฟเว่น ในประเทศไทย ด้วยประสบการณ์ด้านสื่อและกิจกรรมเพื่อเด็กเยาวชนและสิ่งแวดล้อมมาร่วม 30 ปี ทำให้เข้าใจว่าแท้จริงแล้วเด็กๆ ต้องการอะไร และอะไรที่จะทำให้คนรุ่นใหม่พัฒนาตัวเองขึ้นมาได้โดยไม่ต้องบีบบังคับและรักษา วัยเยาว์ของพวกเขาให้ได้มากที่สุด

ศุ บุญเลี้ยง นักคิดนักเขียนหัวเรือใหญ่ของ กะทิ กะลา และเป็นผู้จัดการค่าย อธิบายว่า ทั้งปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นทำให้ทุกคนต้องเริ่มตระหนักในความสำคัญของภูมิปัญญา คุณค่าของทรัพยากร อยากให้ได้สืบทอดต่อไปยังเยาวชนคนรุ่นใหม่ จึงคิดจะพัฒนากระบวนการเรียนรู้ในรูปแบบค่ายเยาวชน

 

สำหรับค่ายครั้งนี้ มีนักเรียนระดับมัธยมต้นจากโรงเรียน 5 แห่งบนเกาะสมุย โรงเรียนละ 5 คน เป็นตัวแทนมาร่วมกิจกรรมที่เปิดโลกทัศน์และสร้างทัศนคติที่เหมาะสม ร่วมกับครูอาจารย์จากแต่ละโรงเรียน โรงเรียนละ 2 คน ทั้งเป็นผู้สังเกตการณ์และเก็บเกี่ยวความรู้รวมทั้งเทคนิคไปต่อยอดการสอนให้ลูกศิษย์คนอื่นๆ ต่อไป

“เราให้ความสำคัญกับการคิด การระดมสมอง มีกระบวนการให้คิดหนึ่งวัน แล้วถ้าเราไม่ให้เวลาเขาแต่ให้เขานำเสนอเลย เด็กพวกนี้ก็จะพูดไปเรื่อยๆ แต่เรารู้สึกว่ากระบวนการคิด นั่งเขียน ถกเถียงกันว่าเอาอย่างไรกันดี กระบวนแบบนี้ที่หลายแห่งยังขาดอยู่ เวลาเราทำเรื่องสิ่งแวดล้อม เรามักจะไปดูเรื่องขยะก่อนเลย ส่วนมากจึงมีแต่เก็บขยะ ถ้าผมเป็นเด็กคงคิดว่าจะให้เก็บขยะอย่างเดียวเหรอ ใครไม่รู้ทิ้งทำไมให้เราเก็บ แต่เบื้องหลังของขยะมันคือเรื่องสิ่งแวดล้อม และเบื้องหลังสิ่งแวดล้อมมันคือวิถีชีวิตของคน เช่น คนที่ใช้สมุนไพรเขาก็ไม่ใช้พลาสติก เขาก็ไม่สร้างขยะอยู่แล้ว คนโบราณที่เขาใช้ไม้ใช้หินมันก็ไม่ทำลายอยู่แล้ว เราก็เหมือนว่าไปเจอวิถีชีวิตที่มันดีงาม พอเพียง จะสะท้อนมาเรื่องสิ่งแวดล้อมและเรื่องขยะอยู่แล้ว

 

กิจกรรมของค่าย เป็น อยู่ คือจึงมีหลากหลายตั้งแต่ทัศนศึกษา, เรียนรู้จากปราชญ์ชาวบ้าน, เวิร์คชอป, สร้างสรรค์ผลงานแบบกลุ่ม ฯลฯ โดยทั้งหมดอยู่บนพื้นฐานเรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและสำนึกรักบ้านเกิด ในแง่การอนุรักษ์ควบคู่กับการดำรงชีวิต

 

“ซีพี ออลล์ มีความมุ่งมั่นที่จะดำเนินตามปณิธานขององค์กร นั่นคือ  ร่วมสร้างสรรค์และแบ่งปันโอกาสให้ทุกคน พร้อมกับร่วมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ภายใต้ชื่อโครงการ 7 GO Green ตั้งแต่ปี 2550 เพื่อ ลด ละ เลิก ใช้ถุงพลาสติก ที่ร้านเซเว่น อีเลฟเว่นทั่วประเทศ อาทิ โครงการ รักษ์อันดามัน ร่วมใจลดใช้ถุงพลาสติก, คิดถุ๊ง คิดถุง ผ่านการสร้างเครือข่ายเยาวชนไทย ลดใช้ถุงพลาสติก, ปฏิเสธถุง...ได้บุญ, 7 Go Green Recycled Plastic Road  และ ลดวันละถุง...คุณทำได้ โดยโครงการ ลดวันละถุง คุณทำได้ สามารถลดการใช้ถุงพลาสติกและเปลี่ยนเป็นยอดสมทบทุนรวมกว่า 211 ล้านบาท มอบให้กับโรงพยาบาลศิริราช, โรงพยาบาลในชุมชน และโรงพยาบาลในถิ่นทุรกันดาร รวม 77 โรงพยาบาลใน 77 จังหวัดทั่วประเทศ”    สุวิทย์ กิ่งแก้ว ที่ปรึกษาอาวุโสคณะเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.ซีพี ออลล์ กล่าว

 

น้องใบเงิน ด.ญ.ปุณิกา พุ่มช่วย อายุ 12 ปี นักเรียน home school ระดับชั้นป.6 เล่าว่าที่มาเข้าค่ายนี้เพราะชื่นชอบการพบปะเพื่อนใหม่ๆ และมีความสนใจเรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอยู่แล้ว

“หนูสนใจเรื่องการรณรงค์และการอนุรักษ์ค่ะ มาค่ายนี้กลุ่มของหนูได้ไปทัศนศึกษาที่ สวนสมุนไพร Honey Rose ทำให้ได้รับความรู้เรื่องสมุนไพร ได้ความรู้เรื่องการลดใช้ถุงพลาสติก ได้ฝึกการพูดและการแสดง เพราะกลุ่มของหนูเลือกนำเสนอผลงานผ่านการแสดงละคร เกี่ยวกับว่านสาวหลง สมุนไพรชนิดหนึ่งที่มีกลิ่นหอม เป็นเรื่องตลกๆ ของผู้ชายคนหนึ่งที่จีบสาวไม่ติดแล้วคุณยายแนะนำให้ใช้ว่านสาวหลงที่มีกลิ่นหอม พวกหนูได้แรงบันดาลใจจากสวนสมุนไพร ซึ่งหนูได้ทดลองทำสบู่เหลวจากสมุนไพรด้วยค่ะ ในอนาคตหนูอาจได้นำความรู้ที่ได้จากค่ายนี้มาใช้ เพราะความฝันหนึ่งของหนูคือทำน้ำหอม หนูก็เลยชอบเรื่องสมุนไพร เพราะสมุนไพรมีกลิ่นที่เป็นเอกลักษณ์ พอดีกับที่หนูไปเรียนรู้มาเลย ส่วนเรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม หนูรู้จักโครงการของเซเว่นอีเลฟเว่น เช่น ลด ละ เลิก ใช้ถุงพลาสติก มันมีประโยชน์มากกับเกาะสมุย เพราะปกติหนูเห็นถุงพลาสติกถูกทิ้งเต็มเลย พอเซเว่นรณรงค์ก็ลดการใช้ถุงพลาสติกไปได้ทำให้บนเกาะดูสะอาดขึ้นระดับหนึ่ง ตัวหนูเองก็อยู่ในกลุ่มนักอนุรักษ์ของเกาะสมุย เก็บขยะที่ชายหาดทุกสัปดาห์ และเลิกใช้ถุงพลาสติก หันมาใช้ถุงผ้าและกระบอกน้ำแทน แต่ถ้าเกิดฉุกเฉินจริงบางทีก็ต้องใช้ แต่เราใช้แล้วไม่ทิ้ง เราเก็บมาทำ ECO Brick

 

ด้าน น้องย๊ะ ด.ญ.อริษา มาเอี่ยม นักเรียนชั้น ม.3 อายุ 15 ปี จากโรงเรียนบ้านอ่างทอง (วันครู 2502) บอกว่าทันทีที่รู้ว่าค่ายนี้เกี่ยวกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมก็สนใจที่จะมาเข้าร่วม เพราะสนใจเรื่องต้นไม้เป็นพิเศษ ประจวบเหมาะกับกลุ่มของน้องย๊ะได้ไปทัศนศึกษาที่ บ้านมะพร้าว แหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับต้นมะพร้าวที่สำคัญของเกาะสมุย “หนูสนุกมากเลยค่ะ เพราะได้เรียนรู้การทำขนมจากมะพร้าว ได้รู้ว่ามะพร้าวไม่ใช่ทำได้แค่อย่างเดียว แต่มีประโยชน์หลายอย่างมาก ทั้งที่หนูเกิดที่สมุยและเป็นคนสมุย จำความได้ก็เห็นต้นมะพร้าวหน้าบ้านแล้ว แต่ไม่เคยสนใจ พอมารู้จริงๆ ว่ามีประโยชน์เยอะ ความคิดของหนูก็เปลี่ยนค่ะว่ามีประโยชน์เยอะขนาดนี้เชียวหรือ นอกจากนี้หนูยังได้เรียนรู้ด้วยว่ามะพร้าวเคยเป็นอาชีพหลักของคนบนเกาะสมุยเลย ทั้งส่งออก และค้าขายทางเรือ   ความรู้ทั้งหมดที่หนูได้จากค่ายนี้หนูคิดว่าจะเอาไปเล่าให้พวกน้องๆ ฟัง ว่าต้นมะพร้าวไม่ได้มีประโยชน์แค่เป็นอาหารนะ แต่เอามาทำของใช้ได้ เครื่องจักสานได้ เอามาทำเป็นยาสมุนไพรก็ได้ ให้เด็กๆ ได้รู้ว่าอย่ามองต้นมะพร้าวเป็นแค่ต้นมะพร้าวธรรมดา และที่บ้านหนูทำค้าขายกับนักท่องเที่ยว พอนักท่องเที่ยวกลับมา หนูก็อยากให้พวกเขาทิ้งขยะให้ถูกที่ เป็นไปได้ก็อยากให้ช่วยๆ กัน โดยที่หนูก็จะเป็นคนคอยบอกพวกเขาด้วยค่ะ”

 

ความคาดหวังกลายเป็นรูปธรรม ค่าย เป็น อยู่ คือเป็นอีกหนึ่งค่ายต้นแบบ ให้ครูอาจารย์นำไปประยุกต์ใช้กับการจัดค่ายกิจกรรมให้นักเรียนได้ต่อไป และเด็กๆ ได้เก็บสะสมความรู้ ภูมิปัญญาของคนสมุย และความตระหนักถึงการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ซึ่งเกิดจากการลงมือทำงาน จนกลายเป็นองค์ความรู้ติดตัวและส่งต่อให้คนรุ่นต่อไป


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"