คิกออฟใช้ “ยางพารา”


เพิ่มเพื่อน    

 

          เป็นที่แน่นอนแล้ว่า ในวันที่ 25 สิงหาคม 2563 นี้ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มีกำหนดการเตรียมลงพื้นที่เปิดพิธีเริ่มสตาร์ทโครงการนำร่องการนำยางพารามาใช้เพื่อปรับปรุงเพิ่มความปลอดภัยทางถนน (Kick off) ณ ทางหลวงหมายเลข 3249 ตอนเขาไร่ยา-แพร่งขาหยั่ง อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี จุดประสงค์เพื่อใช้ในการนำยางพารามาสร้างเป็นผลิตภัณฑ์ 2 รูปแบบที่เหมาะสม  

                คือ แผ่นยางธรรมชาติครอบกำแพงคอนกรีต (Rubber Fender Barrier : RFB) และหลักนำทางยางธรรมชาติ (Rubber Guide Post : RGP) บนถนนของกรมทางหลวง (ทล.) และกรมทางหลวงชนบท (ทช.) หลังจากก่อนหน้านี้ได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  (มข.) และสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ศึกษาแนวทางการเพิ่มความปลอดภัยทางถนนด้วยการใช้ยางพาราเป็นวัสดุหลัก  

                ถือเป็นอีกหนึ่งนโยบายสำคัญของกระทรวงคมนาคม ที่แปรมาสู่การปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม ในการนำ “ยางพารา” มาใช้ในภารกิจของกระทรวงที่มุ่งเน้นเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพด้านความปลอดภัยบนถนน พร้อมทั้งสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรชาวสวนยางอย่างเป็นธรรม ไม่เพียงเท่านั้นยังถือเป็นการใช้งบประมาณได้อย่างคุ้มค่า อีกทั้งยังกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาคมากขึ้นด้วย  

                เป็นที่มาที่ทำให้ “ศักดิ์สยาม ชิดชอบ” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้กำหนดนโยบายและภารกิจข้างต้นเป็นแผนงานเร่งด่วน และได้มีผลเห็นได้ชัดในปัจจุบัน อาทิ เมื่อวันที่ 12 มิ.ย.2563 ที่ผ่านมา ซึ่งนับเป็นจุดเริ่มต้นของโครงการการนำยางพารามาใช้ในภารกิจคมนาคม หลังจากกระทรวงคมนาคมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ลงนามความร่วมมือ (MOU) การนำอุปกรณ์ทางด้านการจราจรและอำนวยความปลอดภัยทางถนนที่ผลิตจากยางพาราไปใช้ประโยชน์ในหน่วยงานภาครัฐ เพื่อเพิ่มความปลอดภัยทางถนน ลดการสูญเสียจากอุบัติเหตุ ช่วยเกษตรกรสวนยาง  

                สำหรับการดำเนินการนำยางพารามาใช้ในภารกิจคมนาคมนั้น ได้ผ่านการทดสอบจากสถาบันชั้นนำของโลก โดยมีการทดสอบการชนจากสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย และสถาบัน Korea Automobile Testing & Research Institute (KATRI) ประเทศสาธารณรัฐเกาหลี พบว่าสามารถลดความรุนแรงของอุบัติเหตุได้อย่างมีประสิทธิภาพ กล่าวคือ แบริเออร์แบบเดิมที่มีความสูง 90 เซนติเมตร (ซม.) ทำมุม 20 องศา จะสามารถรับแรงปะทะความเร็วของรถได้ 90 กิโลเมตร (กม.)/ชั่วโมง (ชม.) ขณะที่เมื่อนำยางพารามาแปรรูปเป็นแผ่นยางพาราหุ้มแบริเออร์คอนกรีต สามารถรับแรงปะทะได้เพิ่มขึ้น 30% หรือรถใช้ความเร็ว 120-130 กม./ชม. เมื่อปะทะแล้วจะไม่เกิดการพลิกคว่ำ  

                สำหรับแผนดำเนินงานนำผลิตภัณฑ์ทั้ง 2 อย่างตามที่ระบุข้างต้น มาใช้ติดตั้งบนถนนของ ทล.-ทช.ทั่วประเทศ ภายในปี 2563-2565 ซึ่งจะไม่มีการทุบแบริเออร์คอนกรีตที่มีอยู่เดิม เป็นการนำมาใช้เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการเดินทางทางถนนมากขึ้น โดยจะมีการใช้งบประมาณ 85,624 ล้านบาท แบ่งเป็น แผ่นยางธรรมชาติครอบกำแพงคอนกรีต (RFB) ระยะทางรวม 12,282 กิโลเมตร และหลักนำทางยางธรรมชาติ (RGP) จำนวน 1,063,651 ต้น ใช้น้ำยางพาราในปริมาณมากถึง 1 ล้านตัน สร้างรายได้ให้เกษตรกรถึง 71% หรือคิดเป็นผลตอบแทนกว่า 30,000 ล้านบาท เป็นการยกระดับรายได้และคุณภาพชีวิตของเกษตรกรไทย  

                ต้องยอมรับว่า การดำเนินการในครั้งนี้จะทำให้ราคายางพารามีเสถียรภาพอย่างยั่งยืน ขณะเดียวกันยังเป็นการใช้งบได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าในอดีตด้วย นับว่าเป็นเรื่องราวดีๆ  กรณีเรื่องการนำยางพาราไปใช้ประโยชน์ในครั้งนี้ แน่นอนว่าจะช่วยเกษตรกรที่ประสบปัญหาราคายางที่ตกต่ำ ยางล้นตลาด แล้วยังช่วยเสริมสร้างความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนนของประชาชน ลดการสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินอีกด้วย.     

กัลยา ยืนยง


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"