'แบงก์ชาติ' แนะนโยบายการคลังยืดหยุ่นช่วงวิกฤต รักษาบทบาทในการประคองเศรษฐกิจ


เพิ่มเพื่อน    

21 ส.ค. 63 - นายวิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า ในภาวะวิกฤตคนที่มีความสามารถในการกระตุ้นเศรษฐกิจ คือ ภาครัฐ ดังนั้นสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อจีดีพีที่ใกล้ระดับ 60% ไม่ใช่เรื่องที่น่ากังวล ถ้าการใช้จ่ายเงินกู้นำไปใช้กับโครงการที่ดี โครงการที่มีประสิทธิผลต่อการกระตุ้นการจ้างงาน ส่งเสริมโครงสร้างพื้นฐานสอดคล้องวิถีชีวิตใหม่ (นิวนอร์มอล) และเป็นโครงการที่ช่วยให้ภาคธุรกิจขยายตัว เพราะในสถานการณ์วิกฤตโควิด-19 ที่ภาคเศรษฐกิจได้รับผลกระทบ บทบาทของภาคการคลังก็ยังสามารถทำงานเพิ่มขึ้นได้อีก

"ไม่อยากให้ไปยึดติดกับกฎเกณฑ์บางอย่างที่ใช้ในภาวะเศรษฐกิจปกติ เช่น เพดานการก่อหนี้สาธารณะที่ต้องไม่เกิน 60% ของจีดีพี เพราะขณะนี้เศรษฐกิจหดตัว เป็นเรื่องที่เป็นกันทั่วโลก ไทยก็ต้องทบทวนหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ตามสถานการณ์ ไม่อยากให้ยึดติดกับตัวเลขเป็นหลัก เพราะบทบาทของภาคการคลังยังมีความจำเป็น เพื่อรักษาระดับการเติบโตไม่ให้เศรษฐกิจไหลลงแรงกว่านี้" นายวิรไท กล่าว

นายวิรไท กล่าวอีกว่า การเพิ่มบทบาทการใช้จ่ายภาครัฐ มีประเด็นที่ต้องคิดอย่างจริงจังถึงเรื่องความสามารถในการหารายได้ในอนาคต ซึ่งมีหลายเรื่องที่ทำได้ เช่น เรื่องของฐานภาษีทรัพย์สิน ซึ่งปัจจุบันมีการเก็บในสัดส่วนที่น้อยมาก และการเพิ่มประสิทธิภาพฐานภาษี ซึ่งหลายประเทศมีการหารายได้จากทรัพย์สินของภาครัฐ และรัฐวิสาหกิจ เหล่านี้เป็นโอกาสในการหารายได้ให้รัฐในอนาคต

“ต้องสร้างความเข้าใจให้ถูกต้อง บทบาทของภาครัฐ ภาคการคลังในการกระตุ้นเศรษฐกิจยังมีความจำเป็น หากต้องทำเพิ่มจากเกณฑ์ที่วาง ก็ต้องทำให้เป็นนโยบายที่สอดคล้องกับบริบท กับสถานการณ์ หากโควิด-19ส่งผลกระทบเศรษฐกิจในวงกว้างและยาวขึ้น ภาคการคลังจะเป็นเพียงส่วนเดียวที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจไม่ให้ไหลลงแรง กฎเกณฑ์ กรอบบางอย่างที่ตั้งไว้ในภาวะปกติ แต่เมื่อถึงเวลาที่จะต้องใช้นโยบายการคลังเพิ่มขึ้น ก็ต้องทำควบคู่กับแผนการหารายได้ในอนาคต ที่ได้จากหลากหลายวิธี” นายวิรไท กล่าว

นอกจากนี้ อีกด้านของบทบาทภาคการคลังในระยะยาว จะต้องมีแผนในการถอนออก หรือปรับลดรายจ่ายบางประเภทจะต้องมีการปรับลดลง โดยเฉพาะรายจ่ายประจำ จะต้องปรับให้เหมาะสม มาตรการที่เกิดขึ้นในภาวะวิกฤตโควิด-19 จะต้องไม่อยู่ยาวจนเกินไป ควรจะเป็นมาตรการชั่วคราว เมื่อสถานการณ์ปกติก็ต้องมีกลไกในการปรับลดลงทันที เหมือน พ.ร.ก. ซอฟท์โลน วงเงิน 5 แสนล้านบาท ที่มีการกำหนดกรอบระยะเวลาดำเนินการชัดเจน ไม่มีการสร้างผลต่อเนื่อง ไม่มีผลต่อภาระการคลังในระยะยาว สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป และจะต้องนำไปใช้ในการลงทุนเพื่อปรับตัวเข้ากับยุคดิจิทัลมากขึ้น สะท้อนว่าบทบาทภาครัฐจะต้องปรับให้สอดคล้องกับความสามารถในการชำระหนี้ของรัฐในอนาคต 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"