กิจการเพื่อสังคม


เพิ่มเพื่อน    


    การทำธุรกิจที่ไม่เบียดเบียนสังคมเป็นสิ่งหนึ่งที่เอกชนทุกกลุ่มควรจะให้ความสำคัญมากที่สุด โดยเฉพาะการไม่ทำให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม อยู่ด้วยกันอย่างผาสุก รวมถึงการร่วมสนับสนุนให้ชุมชนเกิดความก้าวหน้าและต่อยอดสู่สังคมที่มีการพัฒนา ไม่ใช่ว่าเข้าไปอยู่แล้วมีแต่เรื่องแย่ๆ เกิดขึ้น สร้างความเดือดร้อนให้กับชุมชน และเมินเฉยต่อเสียงร้องเรียนที่เกิดขึ้น
    การดำเนินกิจกรรมเพื่อสังคม หรือ ซีเอสอาร์ จึงเป็นอีกหนึ่งเรื่องที่ทุกภาคธุรกิจควรมี ซึ่งถือว่าเป็นความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ทั้งนี้ เชื่อว่าหลายกลุ่มอุตสาหกรรมก็จะมีกิจกรรมที่พัฒนาสังคมหรือช่วยเหลือชุมชนอยู่แล้ว แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดไม่ใช่ตัวเงินหรือสิ่งของที่นำไปให้ แต่เป็นการสนับสนุนความเป็นอยู่ที่ดี การสร้างงาน สร้างอาชีพที่ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน รวมถึงการสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ ให้สามารถเป็นอาชีพเลี้ยงปากท้องได้ โดยอาศัยความถนัดหรือช่องทางที่ภาคเอกชนมีอยู่แล้ว
    ซึ่งงานทั้งหมดได้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการ “ผนึกกำลัง Big Brothers...นำชุมชนสู่กิจการเพื่อสังคม” ที่เน้นที่การสนับสนุนสังคมและชุมชนผ่านการสร้างงาน สร้างอาชีพ ที่ไม่ใช่แค่การให้เงินบริจาค หรือให้เพียงสิ่งของเท่านั้น โดยจะทำให้การพัฒนาชุมชนนั้นเติบโตไปได้ไกลกว่าและมีทิศทางที่ชัดเจน
    โดยนายสุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา ประธานในพิธีเปิดงานโครงการ ปีที่ 4 ได้กล่าวปาฐกถาหัวข้อชุมชนเข้มแข็ง สังคมก้าวหน้า ร่วมพัฒนาอย่างยั่งยืน ว่า “ชุมชนเปรียบเหมือนรากแก้วที่คอยหล่อเลี้ยงต้นไม้ให้เติบโต ทุกองค์กรจึงต้องดูแลและช่วยเหลือชุมชนให้มีความเข้มแข็ง ประเทศชาติจะอยู่ได้เติบโตอย่างยั่งยืน 
    ดังนั้นการพัฒนาชุมชนในรูปแบบกิจการเพื่อสังคม จึงไม่ใช่เพียงแค่มารยาทในการทำธุรกิจ แต่เป็นความรับผิดชอบทางสังคมที่ทุกองค์กรต้องทำเพื่อให้ชุมชนอยู่ดีมีสุข เพราะประเทศชาติจะอยู่ได้ถ้าชุมชนอยู่รอด ซึ่งสุดท้ายแล้วผลพลอยได้จะเป็นความก้าวหน้าทางธุรกิจของตัวเอง จึงขอเชิญชวนให้องค์กรต่างๆ มาร่วมเป็นสมาชิก Big Brothers จาก 11 องค์กร ให้เป็น 110 และ 1,100 องค์กร เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน ซึ่งเป็นรากแก้วของประเทศให้ยั่งยืนต่อไป
    อย่างไรก็ตาม เมื่อเข้าไปศึกษาเนื้อหาของโครงการดังกล่าวจะเห็นได้ว่าเป็นแรงผลักดันและขับเคลื่อนการพัฒนาชุมชนในรูปแบบการทำธุรกิจเพื่อสังคมให้ยั่งยืน (โซเชียล เอนเตอร์ไพรส์) อย่างแท้จริง ด้วยการเป็นพี่เลี้ยงช่วยเหลือชุมชนให้มีกิจการที่สร้างรายได้จากการผลิตหรือจัดจำหน่ายสินค้าและบริการของชุมชน โดยแบ่งพันธกิจเป็น 3 ด้านหลักๆ ได้แก่
    พันธกิจที่ 1 การพัฒนาศักยภาพชุมชนตามแนวทางโซเชียล เอนเตอร์ไพรส์ ซึ่งจะเป็นไปตามปัญหาและความต้องการของแต่ละชุมชน ในปัจจุบันมีชุมชนเข้าร่วมจำนวนมากกว่า 200 ชุมชน ตัวอย่างเช่น การพัฒนาความสมบูรณ์ของป่าบกและป่าชายเลนผ่านการส่งเสริมการปลูกกาแฟ ชาน้ำมัน เม็ดมะม่วงพิมพานต์ พืชสมุนไพร หรือการลดความเหลื่อมล้ำและสร้างรายได้แก่ชุมชนเมืองผ่านการส่งเสริมอาชีพ 
    พันธกิจที่ 2 สร้างการตลาดและพัฒนาผลิตภัณฑ์ ลักษณะการทำงานจะเป็นลักษณะรวมศูนย์ คือ สมาชิกเครือข่ายการทำงานร่วมกัน เป็นการนำความรู้ทั้งทางด้านงานวิจัย วิชาการ และเทคโนโลยี เพื่อพัฒนาสินค้าและบริการของชุมชน และสร้างกลไกการตลาด ทั้งในระบบออฟไลน์และออนไลน์ และพันธกิจที่ 3 พัฒนาองค์ความรู้และขยายผล เพื่อพัฒนาศักยภาพพี่เลี้ยงและองค์กรที่สนใจ พัฒนาชุมชนในทุกด้าน ทั้งทางด้านการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ การออกแบบ การวางตำแหน่งของตลาด การนำเสนอสินค้า การบริหารบัญชีและการเงิน เป็นต้น 
    มั่นใจได้ว่าหากมีการขยายผลที่กว้างมากขึ้น มีการกระจายการช่วยเหลือสังคมไปในพื้นที่ต่างๆ มากขึ้น จะทำให้เกิดการขับเคลื่อนสังคมและเศรษฐกิจได้อย่างจริงจัง เสมือนการหมุนฟันเฟืองเล็กๆ ในเครื่องจักร ให้เกิดการทำงานที่สมบูรณ์แบบ. 

ณัฐวัฒน์ หาญกล้า


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"