'พีระพันธุ์' เผย กมธ.เสียงส่วนใหญ่เห็นควรไม่ต้องแก้ 'ม.272' ตัดอำนาจ ส.ว. เหตุใช้แค่ชั่วคราว


เพิ่มเพื่อน    

สภาฯถกแนวแก้รธน. “พีระพันธุ์” แนะตัดหมวดปฏิรูปออกจากรัฐธรรมนูญ ทำเป็นกม.ลำดับรองแทน  เผยเสียงส่วนใหญ่เห็นควรไม่ต้องแก้ม.272 เหตุใช้แค่ชั่วคราว ด้าน “ธีรัจชัย”  ชี้ ยกร่างใหม่ ศาล-องค์อิสระห้ามเป็นอภิสิทธิ์ชน ลั่นต้องตรวจสอบได้

10 ก.ย.63 - เมื่อเวลา 11.00 น. ที่รัฐสภา ในการประชุมสภาผู้แทนราษฏร ที่มีนายศุภชัย โพธิ์สุ รองประธานสภาฯคนที่ 2 เป็นประธานการประชุม พิจารณารายงานของคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาปัญหาหลักเกณฑ์และแนวทางการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยปี 2560 ซึ่งมีนายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี เป็นประธานกมธ.

นายพีระพันธุ์ กล่าวถึงสาระสำคัญของรายงาน ว่า ระบบเลือกตั้งควรกลับไปใช้ระบบเลือกตั้งแบบบัตรเลือกตั้ง 2 ใบ และควรยกเลิกการเสนอชื่อนายกฯ ไม่ควรกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ ขณะที่การคำนวณหาส.ส.บัญชีรายชื่อ ตามมาตรา 91 ควรยกเลิก ส่วนส.ว.นั้น มีข้อเสนอให้มีอำนาจถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง องค์กรอิสระ ตุลาการ เพื่อไม่ให้กรรมการในองค์กรดังกล่าวใช้หน้าที่ไม่ถูกต้อง ส่วนการเลือกกันเองของส.ว. นั้นต้องแก้ไขประเด็นข้อห้ามเลือกส.ว.ในกลุ่มอาชีพเดียวกันให้ชัดเจน

นายพีระพันธุ์ กล่าวว่า ประเด็นยุทธศาสตร์ชาติควรปรับปรุงให้แก้ไขได้ภายในระยะเวลา 2 ปี และให้ประชาชนทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วม ขณะที่องค์กรตุลาการ ศาล นั้นการใช้ดุลยพินิจพิพากษา ที่อาจถูกแทรกแซง หรือมีอคติ ไม่เป็นไปตามระเบียบ หรือกระทบต่อความมั่นคงของประเทศ ควรมีบทบัญญัติการพิจารณาพิพากษาที่เป็นอิสระ ส่วนที่มีผลพิพากษาแทรกแซงนั้นให้ถือเป็นโมฆะ และให้สิทธิผู้ต้องคำพิพากษาที่ถูกแทรกแซงสามารถโต้แย้งได้ ส่วนศาลยุติธรรมนั้นมีข้อเสนอว่าไม่ควรตั้งผู้พิพากษาเป็นกรรมการในหน่วยงานหรือองค์กรอื่นของรัฐ รวมถึงไม่ควรเข้ารับการอบรมของหน่วยงานของรัฐ ขณะที่ศาลไม่ควรตั้งหลักสูตร อบรม เพราะจะเปิดช่องให้เกิดความใกล้ชิด สร้างสัมพันธ์ส่วนตัวซึ่งส่งผลต่อความเชื่อมั่นของประชาชนได้

นายพีระพันธุ์ กล่าวต่อว่า ศาลปกครองไม่ควรใช้มติของที่ประชุมใหญ่ของศาลเพื่อแก้ไขกฎหมายเอง ขณะที่ศาลทหารเสนอให้จำกัดกรอบพิจารณาเฉพาะเจ้าาหน้าที่ทหาร เว้นกรณีมีศึกสงคราม ส่วนศาลรัฐธรรมนูญ กมธ.ฯ​เห็นว่ามีอำนาจกว้างขวาาง และคำวินิจฉัยมีผลกระทบทางการเมือง ดังนั้นควรจำกัดขอบเขต การผูกพันองค์กรต่างาๆ และควรให้รัฐสภา ฐานะตัวแทนประชาชนตรวจสอบศาลรัฐธรรมนูญได้ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด

"การใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญ ของตุลาการ และเรื่องการตรวจสอบนั้นควรให้ฝ่ายนิติบัญญัติตรวจสอบคำพิพากษาของตุลาการในเกณฑ์ที่เหมาะสมเพื่อให้เกิดการถ่วงดุลตามระบอบประชาธิปไตยกำหนดให้ผู้พิพากษาตุลาการ ร้องต่อ ป.ป.ช. กรณีใช้ดุลยพินิจที่มิชอบได้ ทั้งนี้การใช้ดุลยพินิจดังกล่าวต้องมีกลไกกำกับให้การใช้ดุลยพินิจที่ถูกต้องด้วย"นายพีระพันธุ์ กล่าว

นายพีระพันธุ์ กล่าวด้วยว่า องค์กรอิสระต้องกำหนดกรอบและอำนาจการตรวจสอบ เช่นเดียวกันควรให้รัฐสภามีอำนาจตรวจสอบ การทำงานองค์กรอิสระได้ นอกจากนั้นคณะกรรมการการเลือตั้ง (กกต.) ไม่ควรมีหน้าที่เพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง และควรให้ศาลฎีกาพิจารณาแทน ขณะที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) กรณีการชี้มูลความผิดต้องมีพยานหลักฐานแน่ชัดไม่เพียงเพราะเชื่อได้ว่า​

นายพีระพันธุ์ รายงานว่า ส่วนบทบัญญัติว่าด้วยการแก้ไขรัฐธรรมนูญ​นั้น มีข้อเสนอของกมธ.ฯ หลายแนวทาง แต่ที่เห็นร่วมกันมากที่สุด คือ ยกเลิกเงื่อนไขที่ใช้เสียงส.ว. เห็นชอบวาระแรกและวาระสาม ด้วยเสียง 1 ใน 3  เหลือเป็นเสียงข้างมากของที่ประชุมรัฐสภา รวมถึงยกเลิกในเกณฑ์ที่ใช้เสียงส.ส.ฝ่ายค้านร้อยละ 20 และยกเลิกการทำประชามติส่วนที่กำหนดให้ดำเนินการกรณีที่แก้ไขเนื้อหาเกี่ยวกับคุณสมบัติหรือลักษณะ ต้องห้ามของผู้ดําารงตําาแหน่งต่างๆ ตามรัฐธรรมนูญ หรือ เรื่องที่เกี่ยวกับหน้าที่หรืออําานาจของศาลหรือองค์กรอิสระ หรือเรื่องที่ทําาให้ศาลหรือองค์กรอิสระไม่อาจปฏิบัติตาม หน้าที่หรืออํานาจได้  ทั้งนี้ กมธ.มีข้อเสนอด้วยว่าหากแก้ไขหลายมาตรา รูปแบบที่ดี คือ การตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ ที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน ยกร่างใหม่ ยกเว้นหมวด 1 และหมวด2 จากนั้นให้นำร่างรัฐธรรมนูญออกเสียงประชามติหลังทำเสร็จ

นายพีระพันธุ์ กล่าวด้วยว่า หมวดการปฏิรูปประเทศ กมธ.เสนอให้ตัดออกจากรัฐธรรมนูญ เพราะปฏิบัติไม่ได้จริง เป็นอุปสรรค และล่าช้า และควรบัญญัติเป็นกฎหมายระดับรอง ขณะที่มาตรา 272 ว่าด้วยอำนาจส.ว.ลงมติเลือกนายกฯ นั้น ที่ประชุมเห็นเป็น 2 แนวทาง คือ กมธ.เสียงข้างน้อย เห็นว่าควรแก้ไข ขณะที่กมธ.เสียงส่วนใหญ่เห็นว่าไม่ควรยกเลิก เพราะเป็นการทำชั่วคราว ขณะที่มาตรา 279 ว่าด้วยการรับรองประกาศและคำสั่งคสช.นั้น กมธ.มีความเห็นในสัดส่วนใกล้เคียงกัน คือ ควรยกเลิกเพราะทำให้ไม่สามารถตรวจสอบประกาศ คำสั่งของคณะปฏิวัติได้ อีกความเห็นคือ ไม่ควรแก้ไข เพราะกังวลว่าจะมีผลกระทบทางกฎหมาย และหากคำสั่งหรือประกาศใดที่ควรยกเลิกควรใช้กลไกของรัฐสภาออกเป็นพระราชบัญญัติ

นายธีรัจชัย พันธุมาศ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล กล่าวว่า ตามรัฐธรรมนูญฉบับนี้ศาลและองค์กรอิสระต่างๆออกแบบไว้ไม่สามารถตรวจสอบถ่วงดุลได้ ซึ่งหมายถึงอำนาจตุลาการเด็ดขาด จากที่อ่านรายงานของคณะกมธ.เขียนไว้ตนเห็นด้วยและถูกใจ เพราะเขียนไว้ในข้อสังเกตว่าควรกำหนดให้มีกระบวนการตรวจสอบในใช้อำนาจของผู้พิพากษาและตุลาการพิจารณาคดี ในกรณีที่คดีขัดต่อควาสงบเรียบร้อย

นายธีรัจชัย กล่าวอีกว่า ถ้าไม่มีองค์กรตรวจสอบถ่วงดุลนิติบัญญัติจะทำให้ศาลตัดสินไปตามอำเภอใจหากกระบวนการตรวจสอบภายในไม่ดี เช่น คดีนายอานนท์ นำภา เมื่อวันที่ 4 ส.ค.ที่ผ่านมา ได้ฝากขังและมีเงื่อนไขในการปล่อยตัวชั่วคราว โดยมีนักวิชาการตั้งข้อสังเกตว่าศาลสันนิษฐานว่าได้มีการกระทำผิดแล้ว จากนั้น พนักงานสอบสวนยื่นขอให้เพิกถอนการปล่อยตัวชั่วคราว ซึ่งศาลก็เชื่อเช่นนั้นจึงเพิกถอน ทำให้นายอานนท์ต้องถูกคุมขัง ประเด็นคือมันคลาดเคลื่อนต่อหลักรัฐธรรมนูญหรือไม่ เพราะสันนิษฐานว่าเป็นผู้กระทำความผิดแล้ว ตามประมวลกฏหมายวิธีพิจารณาความอาญา เงื่อนไขการปล่อยตัวเป็นการพิจารณาของศาล เพื่อปกป้องการหลบหนีและปกป้องความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้น ไม่ได้พูดถึงการกระทำความผิด แต่ศาลกำหนดเกินกว่ากฏหมาย น่าจะคลาดเคลื่อนตามรัฐธรรมนูญ มาตรา188 ต้องพิจารณาอรรถคดีตามกฏหมาย ถามว่ามีใครตรวจสอบหรือไม่

"ถ้าเป็นไปตามได้ การแก้ไขรัฐธรรมนูญการถ่วงดุลของศาลและองค์กรอิสระทุกองค์กรต้องมี ไม่ใช่มีอภิสิทธิ์ เป็นผู้ที่ไม่สามารถตรวจสอบได้ หรือเป็นคนที่ไม่รับผิดชอบต่อดุลยพินิจของตัวเองหรือการกระทำของตัวเอง สร้างความเดือดร้อนล่วงละเมิดสิทธิเสรีภาพต่อประชาชน" นายธีรัจชัย กล่าว


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"