เลือกทางสายกลาง


เพิ่มเพื่อน    

     มีทั้งเสียงต้านและเสียงหนุน สำหรับโครงการ 'ภูเก็ตโมเดล' ที่จะเปิดให้นักท่องเที่ยวต่างประเทศเข้ามาท่องเที่ยวและพักผ่อนในประเทศไทย 

                นับตั้งแต่ทำการ 'โยนหินถามทาง' มาเป็นเดือนๆ แต่ดูเหมือนว่าโครงการนี้จะไม่คืบหน้ามากนัก เนื่องจากปัจจัยหลัก คือ เสียงของคนในพื้นที่ว่า คิดเห็นกับโครงการนี้อย่างไร ซึ่งตอนนี้ก็ยังมีความกังวลและเสียงคัดค้านอยู่มาก

                โดยล่าสุด อนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ก็แสดงความคิดเห็นว่า  ยังไม่สามารถยืนยันได้ว่าการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติในรูปแบบของภูเก็ตโมเดลได้ตามแผนที่วางไว้ในเดือนตุลาคมนี้หรือไม่  เพราะยังมีข้อกังวลของคนในพื้นที่ แต่อย่างไรก็ตาม รัฐบาลก็พร้อมสนับสนุนและผลักดันอย่างเต็มที่

                "วันนี้รัฐบาลมีความพร้อมทั้งแพทย์ พยาบาล สถานพยาบาล และเวชภัณฑ์ ถ้าเราจะกลัวโควิดจนไม่ทำอะไรเลย หรือต้องตั้งเป้าให้ผู้ติดเชื้อในประเทศเป็นศูนย์ตลอดไป ถ้าเป็นช่วงที่เราไม่รู้จักโควิดเลย ยังพอเข้าใจได้ แต่นี่เราอยู่กับเครดิตมาแล้ว 9 เดือน บางอย่างก็จำเป็นต้องเดินหน้า อย่างไรก็ตาม  ถ้าจะเดินหน้าโครงการภูเก็ตโมเดลจะต้องนำเข้าที่ประชุม  ศบค.ก่อน จึงจะได้คำตอบว่าภูเก็ตโมเดลจะเริ่มได้ในเดือนตุลาคมหรือไม่"

                ประเด็นนี้สอดรับกับมุมมองของ นายดอน นาครทรรพ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจมหภาค สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) นักเศรษฐศาสตร์ ที่ระบุว่า รัฐบาลและประชาชนต้องเรียนรู้ที่จะอยู่กับตัวเลขการระบาดของโควิด-19 ที่ไม่ใช่ตัวเลข 0 ราย ที่ผ่านมาหลายประเทศยังมีจำนวนผู้ติดเชื้อจำนวนมากต่อวัน และอยู่กับสิ่งนั้นได้ กิจกรรมเศรษฐกิจเป็นไปตามปกติ

                ขณะที่ไทยหากระบาดอีกครั้ง และยอมให้กิจกรรมหายไปเลยเหมือนก่อนหน้านี้ จะกระทบหนัก ดังนั้นต้องหาวิธีเรียนรู้ที่จะอยู่กับมัน ภาครัฐต้องมีวิธีให้ความมั่นใจ เพราะไม่รู้สถานการณ์จะดีขึ้นเมื่อไหร่

                เพราะหากไม่เรียนรู้ไม่ยอมรับ ประเทศไทยเอง อาจจะเห็นสถานการณ์เศรษฐกิจของต่างประเทศฟื้น แต่ไทยไม่ฟื้น ซึ่งปี 64 เศรษฐกิจของประเทศมีความเสี่ยงมากกว่าปีนี้ และที่สำคัญก็ยังไม่รู้แน่ชัดว่า วัคซีนที่จะออกมาป้องกันเชื้อโควิด-19  นั้น จะออกมาอย่างเป็นทางการเมื่อไหร่ ยังไม่มีใครตอบได้ ถ้าไทยยังปิดการท่องเที่ยวจากต่างชาติต่อไปเรื่อยๆ ไม่แน่ว่า เศรษฐกิจของไทยอาจจะฟุบยาวเลยก็เป็นได้

                ขณะที่ฟากฝั่งของทีมแพทย์เอง อย่าง รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก็โพสต์ข้อความแสดงความคิดเห็นผ่านเฟซบุ๊ก Thira Woratanarat หลายครั้ง ที่ยังไม่เห็นด้วยที่จะให้ไทยเปิดรับนักท่องเที่ยว  เพราะสถานการณ์การระบาดทั่วโลกยังอันตราย และเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง

                คำถามที่เกิดขึ้นก็คือ จะเลือกปิดประเทศจนเศรษฐกิจดาวน์ หรือจะแง้มประตูให้มีต่างชาติเข้ามาได้บ้าง เพื่อประคองภาวะเศรษฐกิจ ซึ่ง 2 ความคิดนี้ยังไม่สามารถหาจุดสมดุลที่ลงตัวได้

                เรื่องนี้ภาครัฐซึ่งเป็นผู้กำหนดนโยบายจะต้องเป็นคนตัดสินใจว่า จะเลือกนำพาประเทศไปในทิศทางไหน ซึ่งถามว่า คนไทยจำเป็นต้องปรับตัวเพื่ออยู่ในยุคโควิดระบาดหรือไม่   ประเด็นนี้ก็มีความสำคัญ เพราะเสียอย่างไร เราไม่มีทางคุมเชื้อโรคได้แบบ 100% อยู่แล้ว ดังจะเห็นกลุ่มคนต่างชาติบางส่วนที่บอกว่า ติดเชื้อโควิดไปจากไทย หรืออย่างกรณีนักโทษ ดีเจที่ติดเชื้อในประเทศ ก็เป็นหลักฐานอย่างดีว่ามีเชื้อโควิดอยู่ในไทยอย่างแน่นอน

            ดังนั้น สิ่งต้องขีดเส้นใต้ คือ ทางสายกลาง ไม่ตึงเกินไป หย่อนเกินไป ถ้ารัฐบาลจะประกาศให้นักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาในไทย เพื่อรักษาเศรษฐกิจให้รอด ก็จะต้องออกมาสร้างความมั่นใจต่อประชาชนว่า การตัดสินใจในครั้งนี้ จะไม่นำไปสู่การระบาดใหญ่ในไทยรอบที่ 2 อีก ซึ่งถ้ารัฐบาลมั่นใจว่า มีแนวทางในการจัดการได้ การจะแง้มประตูประเทศบ้าง ก็เป็นเรื่องที่ควรกระทำ เพราะปากท้องของคนก็สำคัญไม่แพ้กับการไม่ป่วย.  

ลลิตเทพ ทรัพย์เมือง


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"