3 เมืองต้นแบบTOD


เพิ่มเพื่อน    

 

           การเติบโตของเศรษฐกิจแม้ว่าจะหยุดชะงักไปส่วนหนึ่งก็มาจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 แต่ก็ใช่ว่าการเตรียมพร้อมเพื่อรองรับการเติบโตในอนาคตก็ใช่ว่าจะต้องหยุดชะงักตามไปด้วย ดังนั้นที่ผ่านมาภาครัฐได้พยายามที่จะส่งเสริมและผลักดันให้เกิดการลงทุนทั้งในและต่างประเทศ ดังนั้นในด้านโครงสร้างพื้นฐานก็ต้องเตรียมพร้อมกับการลงทุนดังกล่าว โดยเฉพาะในด้านโลจิสต์ติกส์ ที่รัฐบาลได้เร่งเดินหน้าพัฒนาทั้งน้ำ บก อากาศและราง

                อย่างเช่นการพัฒนาและขับเคลื่อนรถไฟความเร็วสูงและรถไฟทางคู่ เพื่อเชื่อมโยงโครงข่ายกระจายความเจริญลงสู่จังหวัดภูมิภาคนั้น นอกจากจะช่วยอำนวยความสะดวกในการส่งสินค้าอำนวยความสะดวกต่อการเดินทาง แต่การลงทุนระบบรางให้เกิดความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจโดยแท้ จะต้องมีการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชน (Transit-Oriented Development หรือ TOD) เพื่อให้เกิดการสร้างงานสร้างรายได้ให้กับท้องถิ่น ลดความแออัดจากการเดินทาง เข้ามาทำงานในเมืองหลวง

                เพราะถ้าไม่มีการพัฒนา TOD จะก่อให้เกิดปัญหาการขยายตัวของเมืองอย่างกระจัดกระจาย เนื่องจากขาดการวางแผนพัฒนาเมืองที่ดี การใช้ประโยชน์พื้นที่ไม่เต็มประสิทธิภาพ แต่หากมีการพัฒนาพื้นที่ตามหลักการ TOD จะทำให้เกิดการใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างเต็มศักยภาพ มีประสิทธิภาพ และมีความหลากหลาย มีระบบโครงข่ายคมนาคมขนส่งเชื่อมโยงพื้นที่ชุมชนเดิมและชุมชนใหม่ มีโครงข่ายพื้นที่สีเขียว ทางเท้า และทางจักรยานเชื่อมโยงพื้นที่สาธารณะ เป็นต้น

                ดังนั้น สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) มีแนวคิดศึกษาพัฒนาพื้นที่รอบสถานี ขนส่งมวลชนหรือ TOD ทั่วประเทศไทย 173 แห่ง เพื่อให้ประชาชนเดินทางสะดวก มีรายได้จากการพัฒนาพื้นที่ โดยจะเริ่มดำเนินกับเมืองต้นแบบ 3 จังหวัด คือ อยุธยา ชลบุรี และขอนแก่น ใช้งบประมาณ 400 ล้านบาท ซึ่งเป็นงบประมาณผูกพัน 2 ปี ตั้งแต่ปี 2561

                อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมานั้น สนข.ได้ลงพื้นที่จัดการสัมมนาเพื่อเผยแพร่ข้อมูลโครงการและการมีส่วนร่วมของประชาชน และการสัมมนาผู้ลงทุน เพื่อสรุปผลการศึกษาในพื้นที่ 3 เมืองต้นแบบ โดยแนวคิดการพัฒนาพื้นที่แต่ละจังหวัดจะแบ่งจำนวนโซนการพัฒนาแตกต่างกัน อย่าง สถานีรถไฟขอนแก่น, มาที่สถานีรถไฟอยุธยา

                และ สถานีรถไฟพัทยา ซึ่งสถานีรถไฟฟ้าพัทยานั้น จะเน้นเป็นพิเศษ เพื่อเปิดศักยภาพของพื้นที่มีสถานีรถไฟทางคู่และสถานีรถไฟความเร็วสูงเป็นศูนย์กลางการพัฒนา เนื่องจาก จังหวัดชลบุรีถือเป็นจังหวัดหนึ่งที่มีศักยภาพและความพร้อมในการเป็น “เมืองศูนย์กลางเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวของภูมิภาค” เนื่องจากพื้นที่ตั้งอยู่บริเวณเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ที่มีเป้าหมายพัฒนาเมืองให้เป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม การท่องเที่ยว การคมนาคมขนส่งและโลจิสติกส์ ที่สามารถรองรับกิจกรรมทางเศรษฐกิจ

                รวมถึงเป็นที่อยู่อาศัยที่กระจายความเจริญสู่เมืองหลักในภูมิภาค และยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ ด้วยความร่วมมือระหว่างภาครัฐ เอกชน และประชาชนในพื้นที่ ดังนั้นสถานีที่ได้รับคัดเลือกเป็นตัวแทน TOD ศูนย์ภูมิภาค จะมีบทบาทและความสำคัญในการพัฒนาสถานีรถไฟความเร็วสูง (HSR) โดยเป็นสถานีกลางเมืองหลักระดับภูมิภาค

                ทั้งนี้ ทาง สนข.เห็นว่า แนวคิดการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีรถไฟพัทยา มุ่งส่งเสริมให้เกิดการเชื่อมต่อระหว่างสถานีรถไฟความเร็วสูง เพื่อพัฒนาเป็นพื้นที่ “ศูนย์กลางความเจริญแห่งใหม่ของพัทยา” ที่มีการใช้ประโยชน์ที่ดินผสมผสาน และสร้างสรรค์กิจกรรมภายในเมืองที่เป็นเอกลักษณ์ ผสานความเป็นเมืองระดับโลกกับวัฒนธรรมท้องถิ่น และเอื้อต่อการขยายตัวของชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการใช้ชีวิตในเมืองอย่างมีคุณภาพและยั่งยืน”

            อย่างไรก็ตาม หลังจากนี้ก็คงต้องมาจับตาดูกันว่า ภายหลังจากที่ สนข.ได้จัดการสัมมนาสรุปผลการศึกษาในพื้นที่ 3 เมืองต้นแบบรายจังหวัดเรียบร้อยแล้ว โครงการจะมีการจัดสัมมนาเพื่อเผยแพร่ข้อมูลโครงการและการมีส่วนร่วมของประชาชนและการสัมมนาผู้ลงทุน (Market Sounding) สัมมนาสรุปผลโครงการในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ซึ่งจัดเป็นครั้งสุดท้าย ในวันที่ 25 กันยายน 2563 นี้ จะมีผลออกมาอย่างไร.

 

บุญช่วย  ค้ายาดี


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"