'จตุพร' ยืนยันรู้ว่าตัวเองทำอะไรอยู่ ลั่นยึดหลักการพูดคุยเพื่อลดความขัดแย้งรุนแรง


เพิ่มเพื่อน    

16 ก.ย. 63 - นายจตุพร พรหมพันธุ์ ประธานแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) เฟชบุ๊กไลฟ์ peace talk ถึงสถานการณ์การชุมนุมในวันที่19ก.ย.ว่า คนเสื้อแดงมาร่วมชุมนุมในวันที่ 19 ก.ย. เป็นเสรีภาพการแสดงออกทางการเมือง เพราะจุดยืนคนเสื้อแดงไม่เห็นด้วยกับการยึดอำนาจ ส่วนปริมาณคนจะมาร่วมชุมนุม 19 ก.ย. เชื่อว่ามากกว่าจำนวน 5 หมื่นคน ตามที่ฝ่ายมั่นคงของรัฐคาดเอาไว้ การชุมนุมจะอยู่ในพื้นที่ธรรมศาสตร์หรือสนามหลวงก็ตาม ถ้าเจ้าหน้าที่ของรัฐไม่สร้างแรงปะทะให้เกิดการกระทบกระทั่งกันแล้ว การชุมนุมคงไม่เกิดเหตุการณ์รุนแรงใดๆ แต่ถ้าถูกบีบไม่ให้เข้าที่ ธรรมศาสตร์ และยังมาบีบไม่ให้เข้าที่ สนามหลวงอีก ผู้ชุมนุมต้องเดินทางไปทำเนียบรัฐบาล เมื่อเจ้าหน้าที่ตั้งด่านที่สะพานมัฆวานรังสรรค์ จะเป็นจุดปะทะที่สำคัญ เพราะถึงที่สุดผู้ชุมนุมต้องเดินทางไปถึงปลายทางตามเป้าหมายที่ทำเนียบรัฐบาลอยู่แล้ว 

“สิ่งที่น่ากังวลอย่างยิ่งคือ เส้นทางที่อยู่นอกประกาศการเคลื่อนไหว เนื่องจากการชุมนุมแต่ละครั้งนั้นไม่รู้ว่า ใครเป็นใครและอาจถูกพวกไม่หวังดีสร้างสถานการณ์แทรกซ้อนขึ้นมาได้ ถ้าธรรมศาสตร์ยืนยันปิดประตูไม่ให้ใช้พื้นที่ชุมนุม ขณะที่ผู้ชุมนุมก็ประกาศตัดโซคล้องประตูเข้าไป จะเป็นชนวนแรกทำให้เกิดแรงปะทะขึ้น และขาดความร่วมมือในการรักษาความปลอดภัย แต่ถ้าธรรมศาสตร์เปิดประตูให้เข้าแล้ว การร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัย ผู้ชุมนุม กับเจ้าหน้าที่จะดูแลความปลอดภัยกันได้ ถ้าเจ้าหน้าที่อนุญาตให้ชุมนุมที่สนามหลวง ก็ไม่เกิดแรงปะทะ แต่สั่งห้ามเข้าพื้นที่แล้ว ผู้ชุมนุมคงเดินไปทำเนียบรัฐบาล และถ้าระหว่างการเดินทางไปนั้น พล.อ.ประยุทธ์ ทำตามที่พูดว่า จะดูแลความปลอดภัยให้ลูกหลานแล้ว จะลดความสูญเสียจากการกระทบกระทั่งทั้งปวง และปัญหาคงไม่เกิดขึ้น”นายจตุพรกล่าว 

ประธานนปช.กล่าวว่า มีความเชื่อว่า ความแข็งแรงของการชุมนุมนั้น อยู่ที่แนวทางสันติวิธี อยู่ที่การประกาศเป้าหมายให้ชัดเจน ยึดตามข้อเรียกร้อง 3 ข้อ 2 จุดยืน 1 ความฝัน ไม่มากไปกว่านี้ เชื่อว่าเหตุการณ์ต่างๆจะไม่เกิดขึ้น การเคลื่อนไหวไปทำเนียบรัฐบาล ต้องประกาศเส้นทางให้ชัดเจน เพราะบ่งบอกว่า ถ้าเกิดเหตุการณ์นอกเหนือจากเส้นทางที่ประกาศแล้ว ผู้กระทำการนั้นๆต้องรับผิดชอบ เชื่อว่า การประสานงานที่ชัดเจนของทุกฝ่ายนั้น จะสกัดการแทรกแซงเหมือนกรณี 6 ตุลา 2519 ไม่ให้กระทำการใดๆได้ ผู้ผ่านการชุมนุมมาแล้ว ย่อมรู้ว่า เหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดนั้น จะเป็นจุดเปลี่ยนของการชุมนุมทุกครั้ง ไม่ว่า 14 ตุลา พฤษภา 2535 หรือเมษา-พฤษภา 2553 ก็ตาม เพราะเหตุการณ์ที่ไม่ได้อยู่ในแผน ซึ่งไม่รู้ว่าใครออกแบบจัดการอะไรให้กันนั้น ท้ายที่สุดคือจุดเปลี่ยนของสถานการณ์ทั้งสิ้น การชุมนุมเป็นการแสดงสิทธิเสรีภาพ ซึ่งผู้ชุมนุมโดยสงบต้องได้รับความคุ้มครองจากรัฐตามสิทธิในรัฐธรรมนูญ แต่การตั้งข้อหาไม่ว่าผิดพรบ.การชุมนุมสาธารณะ หรือข้อหาอื่นๆนั้น คงไม่สามารถยุติการชุมนุมได้เลย สำหรับจุดยืตน ยังชัดเจนและอยู่ในบริบทการคัดท้ายเพื่อให้การชุมนุมเดินไปตามเป้าหมายสิทธิเสรีภาพ สักวันหนึ่งหลายคนจะเข้าใจการกระทำของตน ส่วนการสร้างอารมณ์ร่วมในสังคมนั้น ถ้าสังคมไม่เข้าใจพื้นฐานประชาธิปไตยอยู่บนความแตกต่างกันแล้ว ใครชนะก็ปกครองไม่ได้  

“วันนี้ต้องถามว่า ฝ่ายที่ชนะได้รับการยอมรับและปกครองกันได้ ออกแบบกติกาให้เป็นประชาธิปไตย เสียงข้างมากได้บริหารประเทศ การเลือกตั้งต้องสุจริต ฝ่ายแพ้อยู่อย่างมีเหตุผล รัฐบาลประชาธิปไตยต้องยึดเสียงข้างมากฟังเสียงข้างน้อย ดังนั้นการสร้างวัฒนธรรมการเมืองของไทยต้องเปลี่ยนผ่านประชาธิปไตยไปสู่ความแตกต่างต้องอยู่ร่วมกันได้ และต้องรู้ว่ากำลังทำอะไรกันบ้าง ผมรู้ว่าตัวเองทำอะไรอยู่ ไม่มีวันทรยศต่อขบวนการต่อสู้ มีจุดยืน และยึดหลักการพูดคุยเพื่อลดความรุนแรง และให้เกิดสันติวิธี นอกจากนี้พี่น้องคนเสื้อแดงมีใจให้ขบวนการคนหนุ่มสาวทั้งสิ้น ผมเข้าใจสถานการณ์ และผมรู้เวลาของผมเช่นเดียวกัน รวมทั้งผมต้องการให้นักเรียน นิสิต นักศึกษาประสบชัยชนะเพื่อเป็นความหวังในอนาคต"นายจตุพรกล่าว 

นายจตุพรกล่าวอีกว่า การเคลื่อนขบวน ถ้าวันที่ 19 ก.ย.ทั้งฝ่ายรัฐและฝ่ายผู้ชุมนุมและประชาชน ไม่ประสงค์จะมีเรื่องแล้ว ฝ่ายรัฐต้องอำนวยความสะดวกดูแลความปลอดภัย เข้มงวดกับจุดที่จะเกิดการสร้างสถานการณ์ทั้งหลาย และอย่าขัดขวางผู้ชุมนุม แล้วจะไม่มีปัญหาอะไร 
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"