ศาลเผยมียอดผู้ต้องโทษทำงานแทนค่าปรับเพิ่มหมื่นกว่าราย


เพิ่มเพื่อน    

20 ก.ย.63-นางเมทินี ชโลธร รองประธานศาลฎีกา ในฐานะประธานที่ปรึกษาคณะทำงานเพื่อขับเคลื่อนนโยบายยกระดับการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพพื้นฐานของประชาชน ตามดำรินายไสลเกษ วัฒนพันธุ์ ประธานศาลฎีกา ภายใต้โครงการ “คุ้มครองสิทธิเสรีภาพและลดการคุมขังที่ไม่จำเป็น” กล่าวว่า ในปี 2563 สถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิดส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจของประเทศในวงกว้าง ทำให้ชาวบ้านตกอยู่ในความเสี่ยงที่จะเผชิญกับภาวะอาจต้องถูกคุมขังตามกฎหมาย เพราะไม่มีเงินเสียค่าปรับ เป็นตัวเร่งให้ศาลยุติธรรมดำเนินการเชิงรุกตามโครงการศาลยุติธรรมห่วงใย ฝ่าภัยโควิด เป็นมาตรการให้ผู้ต้องโทษปรับทำงานบริการสังคมแทนค่าปรับถูกหยิบยกมาใช้ เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้มีการคุมขังคนแทนค่าปรับเพียงเพราะความยากจน ไม่มีเงินเสียค่าปรับ 

นางเมทินี กล่าวว่า หลักเกณฑ์สำคัญในการทำงานบริการสังคมแทนค่าปรับคือ ผู้ต้องโทษปรับไม่มีเงินชำระค่าปรับและสมัครใจทำงาน ความผิดที่ทำต้องไม่ใช่ทำด้วยเจตนาร้ายหรือทุจริตฉ้อฉลที่มีผลกระทบต่อสาธารณชนส่วนรวม ความผิดที่เป็นการค้ายาเสพติด หรือฉ้อโกงประชาชน หรือความผิดที่ร้ายแรงจึงไม่เข้าข่ายที่จะทำงานแทนค่าปรับ ในการไปทำงานจะมีผู้ควบคุมดูแลทุกครั้ง  สงคมจึงวางใจได้ว่าผู้ที่ศาลให้ไปทำงานแทนค่าปรับจะไม่ไปทำความเดือดร้อนขึ้นในชุมชน   

สำหรับในเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ศาลอาญาได้เปิดตัวเมนูความดี ทำดีแทนค่าปรับ ซึ่งมีหน้าตาคล้ายเมนูอาหารที่แนะนำงานหลายประเภทให้ผู้ต้องโทษปรับเลือกทำ เหมือนการเลือกอาหารจากเมนู เช่น งานดูแลคนชรา คนพิการ เล่นดนตรีในบ้านพักคนชรา แปลเอกสารให้คนตาบอด ช่วยงานในห้องสมุดหรือพิพิธภัณฑ์ งานช่างอาชีพต่างๆ งานบริการเช่นทำความสะอาด ทาสี ตัดต้นไม้ ปรับปรุงภูมิทัศน์ อาสาจราจร ปลูกต้นไม้ เพาะชำ ปล่อยพันธุ์ปลา เป็นต้น โดยได้รับความร่วมมือจากกรมประพฤติในการดูแลผู้ทำงาน รวมถึงรับเป็นแกนหลักในการเชื่อมโยงกับหน่วยงานภาคีเครือข่ายที่รับผู้ต้องโทษปรับจากศาลไปทำงานบริการสังคมในสถานที่ต่างๆ 

ปัจจุบันมีหน่วยงานเข้าร่วมเป็นภาคีกับศาลหลายหน่วยงาน ในกรุงเทพมหานคร เช่น กองบัญชาการตำรวจนครบาล กระทรวงวัฒนธรรม และกรุงเทพมหานคร เมนูความดีของศาลอาญาเป็นอุบายในการสร้างจิตสำนึกที่ดีให้ผู้ที่กระทำผิด นอกจากผู้กระทำผิดมีโอกาสเกิดสำนึกในระหว่างที่เลือกงานจากเมนูว่าตนเองกำลังการเลือกทำสิ่งที่เป็นคุณประโยชน์ให้สังคม แทนที่จะซ้ำเติมความรู้สึกของตัวเองว่าเป็นคนไม่ดีที่กำลังถูกทำโทษอย่างเดียว เพื่อให้กำลังใจผู้พลาดพลั้งกระทำผิดว่าตนเองมีคุณค่าและทำความดีได้ไม่ต่างจากคนอื่น ในขณะเดียวกันยังเป็นการที่ศาลสื่อสารไปยังสังคมภายนอกให้เปิดใจรับผู้พลั้งพลาดที่ได้สำนึกผิดด้วยการทำความดีชดเชยให้ส่วนรวมแล้ว 

ผลการดำเนินการตามมาตรการให้ผู้ต้องโทษปรับทำงานบริการสังคมแทนการนำตัวไปกักขังแทนค่าปรับ ในห้วงวาระการดำรงตำแหน่งของนายไสลเกษ วัฒนพันธุ์ ประธานศาลฎีกา พบว่าศาลยุติธรรมทั่วประเทศให้ผู้กระทำความผิดไปทำงานบริการสังคมแทนค่าปรับเพิ่มขึ้นจากปี 2562 เป็นทวีคูณ ในปีงบประมาณ 2562 ซึ่งสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2562  มีผู้ทำงานบริการสังคมแทนค่าปรับทั่วประเทศ 4,641 คน ในขณะที่ปีงบประมาณ 2563 คือตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2562 - สิงหาคม 2563 ภายใต้การขับเคลื่อนองค์กรศาลยุติธรรมของนายไสลเกษ มีผู้ต้องโทษปรับได้รับอนุญาตจากศาลให้ทำงานแทนค่าปรับเพิ่มขึ้นเป็น 10,482 คน รวมระยะเวลาทำงาน 243,219 วัน ซึ่งถ้าผู้ต้องโทษปรับเหล่านี้ไม่ได้รับอนุญาตให้ทำงานแทนค่าปรับ ก็ต้องถูกนำไปกักขังแทนค่าปรับเป็น 243,219 วันเท่ากัน  

"การใช้มาตรการให้ผู้ต้องโทษปรับทำงานแทนค่าปรับการกักขัง จึงสามารถลดการคุมขังได้โดยตรงอย่างเป็นรูปธรรม คืนเวลาและบุคลากรให้เป็นประโยชน์กับสังคม ลบข้อครหาของกระบวนการยุติธรรมว่าคุกมีไว้ขังคนจน ศาลยุติธรรมมุ่งเน้นการขับเคลื่อนองค์กรเพื่อสังคมภายใต้หลักการลดการคุมขังที่ไม่จำเป็นอย่างต่อเนื่องและเข้มข้น ควบคู่ไปกับการกำหนดมาตรการคุ้มครองความสงบสุขของสังคมและดูแลผู้เสียหาย เพื่อสร้างสังคมที่ทุกคนอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุขแบบยั่งยืน"
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"