อินไซด์ส่งออกไทย-อเมริกา


เพิ่มเพื่อน    


    การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา (COVID-19) ได้สร้างวิกฤติให้กับโลกหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นเศรษฐกิจ สังคม การเมือง รวมไปถึงวิถีชีวิตของผู้คน โดยประเทศหนึ่งที่ได้รับผลกระทบอย่างชัดเจนก็คือ สหรัฐอเมริกา ซึ่งมีทั้งระบบเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุด มีประชากรจำนวนมาก และยังมีความสัมพันธ์กับประเทศไทยหลากหลายประการโดยเฉพาะด้านการค้า ซึ่งในวันนี้ผลกระทบที่เกิดขึ้นได้สร้างความเสียหายในด้านการค้าระหว่างประเทศของไทยและคู่ค้าพันธมิตรอื่นๆ ในลักษณะโดมิโน และเป็นสิ่งที่ต้องจับตาว่าการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้จะมีทางออกและการฟื้นตัวได้อย่างไร 
    จากปัจจัยดังกล่าว นพดล ทองมี ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์การค้าในสหรัฐอเมริกา และแนวโน้มของสินค้าไทยที่มีศักยภาพ พร้อมทั้งได้แนะนำทริกให้กับผู้ประกอบการที่มีความต้องการจะผลักดันสินค้าไทยไปยังสหรัฐ ว่าตั้งแต่ช่วงเดือนมีนาคมที่ผ่านมา มหานครนิวยอร์กถือเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบอย่างมาก (Effect Center) แต่ก็ยังคงรักษาระดับการควบคุมความร้ายแรงและการระบาดไว้ได้ดี การเกิดขึ้นดังกล่าวมีสิ่งที่กระทบกับไทยที่ชัดเจนคือ การจัดงานแสดงสินค้า ซึ่งผู้ประกอบการและธุรกิจต่างๆ ไม่สามารถเดินทางเพื่อหาคู่ค้า หรือแสดงสินค้าไทยได้  
    แต่สุดท้ายสินค้าไทยก็ยังคงได้รับความนิยมเนื่องจากการเตรียมตัวรับมือของผู้ประกอบการที่สามารถทำได้ดี รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ปรับรูปแบบของการส่งเสริมช่องทางการค้าที่ผลักดันให้ไปสู่ตลาดออนไลน์ รวมถึงปรับรูปแบบการจัดงานต่างๆ ให้เป็นการจัดกิจกรรมแสดงสินค้าเสมือนจริงในช่องทางดิจิทัล เพื่อรักษาเสถียรภาพของเศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศ โดยยังมีจุดแข็งจากการที่มีทูตพาณิชย์ที่กระจายอยู่ตามประเทศต่างๆ เพื่อรายงานข้อมูลความเสี่ยงแบบเรียลไทม์ ตลอดจนผลักดันให้ผู้ประกอบการไทยได้มีโอกาสจับคู่ทางธุรกิจกับนักลงทุนของสหรัฐอย่างต่อเนื่อง  
    ขณะเดียวกัน ในภาวะวิกฤติก็ยังคงมีโอกาสสำหรับกลุ่มสินค้าและธุรกิจประเภทอาหาร เนื่องจากความต้องการของตลาดและผู้บริโภคสหรัฐยังคงต้องดำรงชีพและอาศัยปัจจัยสี่โดยมีอาหารเป็นตัวแปรสำคัญ ซึ่งกลุ่มที่ได้รับอานิสงส์จากสถานการณ์ดังกล่าวคือ ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่ผลิตสินค้าเกษตร เกษตรแปรรูป และอาหารประเภทพร้อมทาน ที่สามารถรับประทานได้ง่ายในช่วงที่ต้องกักตัวอยู่บ้าน ส่วนสินค้าที่ได้รับความนิยมมากที่สุดคือ กลุ่มสินค้าประเภทอาหารออร์แกนิกส์ และอาหารเพื่อสุขภาพ เนื่องจากกำลังเป็นเทรนด์ของตลาดสหรัฐในปัจจุบัน  
    การตระหนักถึง Country Brand โดยเฉพาะคำว่า Made In Thailand คือสิ่งสำคัญอย่างมากสำหรับผู้ประกอบการไทยในทุกๆ ธุรกิจ และอุตสาหกรรมที่หวังจะทำการค้าในสหรัฐ  เนื่องจากเป็นจุดแข็งที่สามารถนำไปใช้แข่งขันกับประเทศคู่แข่งทั้งระดับภูมิภาคเดียวกัน หรือประเทศอื่นๆ ที่ผลิตสินค้าในแต่ละประเภท รวมถึงเป็นแต้มต่อที่ดีอยู่แล้วที่ไทยต้องรักษาเสถียรภาพด้านคุณภาพของตนเองเอาไว้ รวมถึงการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ ที่ตอบโจทย์กับผู้บริโภคสหรัฐที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทั้งในกลุ่มสินค้าไลฟ์สไตล์ สินค้าอาหาร สินค้าเกษตร หรือแม้แต่กระทั่งสินค้าเพื่อสุขภาพ  
    นอกจากนี้ สิ่งที่จะเป็นอาวุธสำคัญให้กับผู้ประกอบการไทยอีกอย่างหนึ่งก็คือ เทคนิคในการเจรจากับคู่ค้าด้วยการอาศัยอัธยาศัยที่เป็นมิตร น่าเชื่อถือ และมีความจริงใจ ซึ่งเป็นจุดเด่นดั้งเดิมของผู้ประกอบการไทย และยังต้องเปิดใจให้กับการพัฒนาตนเองในด้านดิจิทัล เช่น การประชาสัมพันธ์ การโฆษณา การติดตามสถานการณ์จากประเทศคู่ค้าและคู่แข่ง รวมถึงการเรียนรู้วิธีการใหม่ๆ ที่มีอย่างมากมายในช่องทางสตรีมมิ่งในปัจจุบัน   
    แม้หลายคนจะมีความกังวลว่าเพื่อนบ้านในกลุ่มประเทศอาเซียนอย่าง เวียดนาม ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย หรือแม้แต่อินโดนีเซียจะเป็นคู่แข่งที่สำคัญ บวกกับเรื่องวัตถุดิบบางประเภทที่ไทยอาจจะมีน้อยลง ตลอดจนการแข่งขันด้านราคาจะเป็นอุปสรรคที่ทำให้สินค้าของไทยขายในสหรัฐได้น้อยลง แต่ในความเป็นจริงตลาดสหรัฐผู้บริโภคยังคงยอมจ่ายในสินค้าที่มีคุณภาพ ซึ่งหมายความว่าประเทศไทยยังคงมีแต้มต่อในเรื่องการผลิตสินค้าที่ดีอยู่ แต่สิ่งที่จะต้องวิเคราะห์เพื่อยกระดับการผลิตสินค้าเพิ่มเติมคือ สภาพทางวัฒนธรรม ภูมิศาสตร์ และวิถีชีวิตของชาวอเมริกาที่จะเป็นตัวแปรให้ผู้ประกอบการมีแนวทางพัฒนาสินค้าให้ได้มากกว่าคู่แข่ง เนื่องจากอเมริกาเป็นดินแดนที่มีความหลากหลาย.  

รุ่งนภา สารพิน 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"