กระแสร้อนก่อนเข้าตุลา สแกนวาทะแรก 'ว่าที่ ผบ.ทบ.'


เพิ่มเพื่อน    

    หลังจาก 3 ข้อเรียกร้องของกลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุมถูกยื่นผ่าน พล.ต.ท.ภัครพงศ์ พงษ์เภตรา ผู้บัญชาตำรวจนครบาล (ผบช.น.) ไปเมื่อวันอาทิตย์ที่ 20 กันยายนที่ผ่านมา กลุ่มผู้ชุมนุมก็สลายการชุมนุม เหลือไว้เพียง “หมุดคณะราษฎร 2563” ที่ถูกตอกตรึงลงบนพื้นซีเมนต์บริเวณด้านหน้าเวที ในตำแหน่งที่ตรงกับต้นมะขามที่อ้างอิงว่าเป็นจุดที่นักศึกษาถูกแขวนคอเมื่อครั้งเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 และนัดหมายใหม่เพื่อทวงสัญญาในวันที่ 14 ตุลาคม
    มวลชนส่วนหนึ่งตกอยู่ในสภาพ “อารมณ์ค้าง” เพราะแกนนำไปไม่สุดเหมือนที่ปลุกระดม ทำให้เกิดการแบ่งภาคออกเป็นสองส่วน คือ เนื้อหาบนเวที กับยุทธวิธีของม็อบ ซึ่งส่วนของเนื้อหาที่ชนเพดานเรื่องการปฏิรูปสถาบันมาแล้ว ครั้งนี้ทะลุเพดานมากขึ้นไปอีก ขณะที่ให้น้ำหนักเรื่องการใช้แรงกดดันจากมวลชนเป็นลำดับรองๆ ลงไป
    การเคลื่อนไหวของ “ม็อบ” ที่จะลากมวลชนไปบุกทำเนียบรัฐบาล หรือไปลานพระราชวังดุสิต กลับปรับรูปขบวนไปที่แนวแผงเหล็กซึ่งมีเจ้าหน้าที่ตำรวจควบคุมฝูงชนพร้อมรั้วเหล็กกั้น ดันกันไปกันมาเป็นพิธี ก่อนจะไปยื่นหนังสือผ่าน ผบช.น. เหมือนมีสคริปต์ให้เรื่องราวจบตอนลงแค่นั้น และเลือกใช้วิธีต่อสู้แบบยืนระยะ ปักธงเรื่องสถาบันกษัตริย์ไปในทุกเวที จนกว่าจะสร้างแนวร่วมได้มากขึ้น
    อาจเป็นเพราะโมเดลการชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ หรือ นปช. กลุ่ม “คนเสื้อแดง” ที่ใช้แนวทางการต่อสู้ในลักษณะของกองกำลัง และในที่สุดเกิดการเผชิญหน้าจนมีผู้คนเสียชีวิตไปกว่า 90 คน แต่ก็ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงอะไรได้ อีกทั้งแกนนำต้องเดินเข้า-ออกคุก ขึ้นศาลเป็นกิจวัตร พร้อมกับชนักติดหลังว่า “พาคนไปตาย”
    ทำให้ฝ่ายความมั่นคงมองว่าการชุมนุมในครั้งต่อไปคง “ไม่น่ากังวล” อย่างที่แกนนำประกาศออกมา การใช้กระบวนการตามกฎหมายดำเนินคดี และ “ไม่ตกหลุมพราง” ด้วยการสร้างเงื่อนไขให้ม็อบนำไปใช้ปลุกระดมได้เพิ่มขึ้นน่าจะทำให้ฝ่ายรัฐได้เปรียบในเกมนี้
    ในขณะที่ “ผู้นำกองทัพ” ถูกจับตามองมากที่สุดว่าจะมีปฏิกิริยาอย่างไรต่อปรากฏการณ์ ”ทะลุเพดาน” ของม็อบในสถานการณ์ที่ท้าทายต่อสถาบันฯ อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทั้ง ผบ.ทบ.คนปัจจุบัน และว่าที่ ผบ.ทบ. ต่างมีตำแหน่งในหน่วยเฉพาะกิจทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ 904 ซึ่งทำหน้าที่ถวายพระเกียรติ ถวายความปลอดภัย ปกป้องสถาบันฯ
    แน่นอนว่า พล.อ.อภิรัชต์ คงสมพงษ์ ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) ซึ่งดำรงตำแหน่งผู้บังคับหน่วย ฉก.ทม.รอ.904 ต้องติดตามการชุมนุม โดยเฉพาะเนื้อหาบนเวที และก่อนหน้านั้นสั่งการเตรียมพร้อมรับมือหากม็อบเปลี่ยนเป้าหมาย รวมทั้งสนับสนุนเจ้าหน้าที่ตำรวจหากมีการร้องขอในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ความวุ่นวาย เช่น รถดับเพลิง รถปฏิบัติการจิตวิทยาเครื่องเสียง หน่วยเก็บกู้วัตถุระเบิดจากกรมสรรพาวุธทหารบก รถตัดสัญญาณโทรศัพท์ ติดตั้งแท่งแบริเออร์ไฮดรอลิกที่สามารถป้องกันการนำยานพาหนะเข้าพื้นที่ได้ ด้วยการกดปุ่มเพื่อเกิดแรงส่งยานพาหนะที่บุกรุกให้ยกขึ้นได้ การนำลวดหนามหีบเพลงเข้ามาป้องกันในกรณีที่มีบุคคลปีนข้ามรั้วเข้ามา พร้อมกันนั้นยังเตรียมกองร้อยรักษาความสงบฯ จากกองพลทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน 1 กองร้อยเข้ามาประจำการ เพื่อสนับสนุนกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจหากมีการร้องขอในกรณีที่รับมือไม่ไหว
    หรือแม้กระทั่งการป้องกันพื้นที่บริเวณด้านหน้าประตูกองทัพบก ไม่ให้ม็อบใช้เป็นแบ็กกราวด์เพื่อแสดงสัญลักษณ์และนำไปใช้โจมตีผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ด้วยการนำสแลนพลาสติกสีดำล้อมนั่งร้านกับป้าย “กองทัพบก” ด้านหน้าทั้งสองข้าง เชิญพระบรมฉายาลักษณ์ฯ บนซุ้มประตูออกเพื่อไม่ให้ม็อบถ่ายภาพแสดงสัญลักษณ์ที่ไม่เหมาะสมแล้วนำไปเผยแพร่
    ที่สำคัญคือ พล.อ.อภิรัชต์ได้มอบหมายให้ “บิ๊กบี้ “พล.อ.ณรงค์พันธ์ จิตต์แก้วแท้ ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก (ผช.ผบ.ทบ.) ซึ่งทำหน้าที่เป็น รอง ผบ.ฉก.ทม.รอ.904 คุม “วอร์รูม ทบ.” ติดตามสถานการณ์การชุมนุมตลอด 2 วัน จนกระทั่งม็อบยุติไปอย่างสงบ ทิ้งไว้แต่คำปราศรัยของแกนนำที่ไม่ได้จางหายไป และเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงได้เก็บหลักฐานเพื่อดำเนินคดีต่อไป
    ตลอด 2 ปีที่ พล.อ.อภิรัชต์ดำรงตำแหน่ง ผบ.ทบ. มักจะย้ำเรื่องการปกป้องสถาบันฯ ในช่วงสถานการณ์ที่คนรุ่นใหม่กำลังลุกขึ้นมาเปลี่ยนแปลง รื้อถอนโครงสร้างการเมืองการปกครองของไทย ด้วยวาทกรรมว่า “ซ้ายจัดดัดจริต-ฮ่องเต้ซินโดรม-ชังชาติ” และเมื่อเขากำลังจะเกษียณอายุราชการ ได้เปิดใจกับสื่อ
    “ที่ผ่านมาจะเห็นว่าการให้ข่าวของ ผบ.ทบ.แต่ละท่าน ต้องพิจารณาถึงความสอดคล้องกับสถานการณ์ แต่ส่วนตัวผมเมื่อให้ข่าว มีทั้งคนชมและคนด่าอยู่เสมอ แต่ก็ชินแล้ว เพราะผมโดนมาเยอะ ตั้งแต่เป็นผู้การฯ ผู้พัน โดนพาดหัวในสื่อหลายๆ ฉบับมาตลอด หลายอย่างที่พูดออกมาก็เป็นวาทกรรม แต่ทุกอย่างนั้นหากนำไปคิดก็คือเรื่องที่เกิดขึ้นจริงในชาติบ้านเมือง” ผบ.ทบ.กล่าวทิ้งท้าย
    กระนั้น ก่อนที่ พล.อ.ณรงค์พันธ์จะรับไม้ต่อ เป็นที่รู้กันว่าจะต้องกล่าวเทิดเกียรติฯ นายพลทหารบกที่เกษียณอายุราชการ ซึ่งปีนี้จัดพิธีขึ้นที่กองทัพบกราชดำเนิน เพื่อให้รำลึกบรรยากาศเก่าๆ เมื่อครั้งที่เคยเป็นที่ตั้งของ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้ามาก่อน
    โดยระบุว่า ทุกท่านปฏิบัติหน้าที่ด้วยการยึดมั่นอุดมการณ์ทหารมาตลอดชีวิตรับราชการ ได้สร้างประโยชน์ให้กองทัพและประเทศชาติเป็นอเนกประการ ด้วยการอุทิศกำลังกาย กำลังใจ ดำเนินภารกิจทุกด้านของกองทัพ เพื่อพิทักษ์รักษาเอกราช อธิปไตย ความสงบเรียบร้อยของชาติ และผลประโยชน์ของส่วนรวมเป็นสำคัญ ปกป้อง ค้ำจุนสถาบันพระมหากษัตริย์ด้วยความจงรักภักดีอย่างสูงสุด....
    “พวกเราขอให้คำมั่นว่า จะสืบสานอุดมการณ์ของพวกท่าน และทำหน้าที่ให้ดีที่สุดเพื่อให้สังคมมีความปกติสุข มีความรักความสามัคคี อันเป็นจะพลังขับเคลื่อนประเทศชาติให้ก้าวหน้า ไปข้างหน้าอย่างมั่นคงต่อไป” พล.อ.ณรงค์พันธ์กล่าว
    นำร่องก่อนถึงวันที่ 29 ก.ย.นี้ ที่จะรับไม้ต่อจาก พล.อ.อภิรัชต์ และจะให้สัมภาษณ์เป็นครั้งแรกก่อนที่จะเจอสถานการณ์ร้อนช่วงกลางเดือนตุลาคมนี้!!.
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"