สมาคมมะเร็ง ข้องใจสธ.กั๊ก


เพิ่มเพื่อน    

    อุปนายกสมาคมมะเร็งฯ ข้องใจสาธารณสุขแถลงยาหมอแสงไม่รักษามะเร็ง แต่กลับอนุญาตให้แจกสมุนไพรต่อเนื่อง ชี้ควรทำเรื่องนี้ให้ชัดเจน ไม่เช่นนั้นผลเสียตกแก่ประชาชน
    ในการแถลงข่าวเมื่อวันอังคารหลังการหารือระหว่างกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กรมการแพทย์ สถาบันมะเร็งแห่งชาติ เกี่ยวกับการวิจัยสมุนไพรรักษามะเร็งของนางแสงชัย แหเลิศตระกูล ระบุว่าสมุนไพรดังกล่าวไม่ได้มีผลในการการรักษาโรคมะเร็ง แต่ไม่มีผลกระทบต่อสุขภาพ หากจะใช้รักษาเพื่อควบคู่กับการรักษาทางการแพทย์แผนปัจจุบัน เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยให้ดีขึ้นสามารถทำได้ 
    นพ.วิโรจน์ ศรีอุฬารพงศ์ หัวหน้าศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ โรคมะเร็งครบวงจร โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ในฐานะอุปนายกมะเร็งวิทยาสมาคมแห่งประเทศไทย กล่าวเมื่อวันพุธว่า กระทรวงสาธารณสุขควรต้องทำให้ชัดเจนว่าไม่ได้ผล คือไม่ได้ผล หากบอกว่ามีผลต่อในเรื่องของคุณภาพชีวิตก็ต้องมีผลในเรื่องการศึกษา หรือเปรียบเทียบให้ชัดว่าส่งผลต่อคุณภาพชีวิตอย่างไร การจะพูดว่าอาการดีขึ้นจากการรับประทานสมุนไพรนั้น วัดได้ยากหากไม่มีผลการศึกษาที่ชัดเจน เช่น มีการเปรียบเทียบระหว่างกินกับไม่กิน ผลเป็นอย่างไร ส่วนที่ระบุว่าอาจทำให้มีผลต่อสภาพจิตใจ ทำให้มีกำลังใจ นั่นก็เป็นอีกส่วนหนึ่ง แต่อย่าลืมว่าเซลล์มะเร็งไม่ได้ตายหรือหายไป ดังนั้นการจะมาพูดว่าทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้นก็ต้องพูดให้ชัดเจน ไม่เช่นนั้นสังคมอาจเข้าใจคลาดเคลื่อน ซึ่งการที่คนไข้อาการดีขึ้นอาจเป็นผลดีที่สืบเนื่องจากการรักษาของแพทย์แผนปัจจุบันอยู่แล้ว หรือคนไข้เพิ่งผ่านการรักษาจนจบคอร์ส ทั้งการฉายแสง การทำคีโมบำบัด ตรงนี้จึงบอกไม่ได้ว่าเป็นผลดีจากอะไรกันแน่ ซึ่งกรณีที่นายแสงชัยบอกว่า หลายคนกินแล้วดีขึ้น ก็ต้องมีตัวชี้วัดว่าดีเพราะอะไร
    นพ.วิโรจน์กล่าวถึงกรณีนายแสงชัยยังคงแจกยาต่อไปแม้ผลทดลองออกมา เพราะมองว่าเป็นการตรวจสอบแค่ระดับหลอดทดลอง ว่าหลักของการศึกษาวิจัยนั้นต้องเริ่มจากหลอดทดลองในห้องปฏิบัติการ หากไม่ส่งผลดีแล้วก็ไม่จำเป็นต้องศึกษาวิจัยในมนุษย์ หรือที่เรียกว่าในระดับคลินิก แต่หากส่งผลดีก็จะวิจัยต่อในมนุษย์ และการจะทดสอบในมนุษย์นั้นก็ต้องผ่านคณะกรรมการจริยธรรมในมนุษย์ด้วย แต่สำหรับนายแสงชัยไม่ได้มีตรงนี้ และพฤติกรรมการแจกยายังจดรายละเอียดผู้ป่วยเหมือนแพทย์ แต่ไม่มีใบประกอบโรคศิลปะ ที่สำคัญกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกกลับให้ใบรับรองหมอพื้นบ้าน ถึงจะบอกว่าแค่รับรองภูมิปัญญา แต่ก็ต้องพิจารณาเป็นรายกรณี ดูความเหมาะสมหรือไม่ เพราะกรณีนี้มีการแจก มีคนไปต่อคิวรับจำนวนมาก และไม่มีทางทราบเลยว่าใครรับประทานไปแล้ว ผลหลังจากนั้นจะเป็นอย่างไร 
    "เรื่องนี้ต้องมีหน่วยงานรับผิดชอบ อย่างกระทรวงสาธารณสุข ถือเป็นหน่วยงานหลักในการดูแลเรื่องนี้ ควรต้องมีข้อบังคับ หรือกฎหมายอะไรหรือไม่ เพราะไม่เช่นนั้น ในอนาคตก็จะมีกรณีเช่นนี้เกิดขึ้นอีก มีคนไปรอรับคิวสมุนไพร หรืออะไรก็ตามที่อาจบอกว่ารักษาโรคนั้นโรคนี้ได้ ยิ่งโรคมะเร็งยิ่งน่ากลัว และพอเขามาขอใบรับรองหมอพื้นบ้านก็ให้หมด พอตรวจสอบสารออกฤทธิ์แล้วไม่พบประสิทธิภาพก็ยังให้แจกต่อไปอีก ซึ่งความเสี่ยงตกที่ประชาชน" นพ.วิโรจน์กล่าว.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"