"ออนไลน์"ยังไม่ใช่ทางออกเบ็ดเสร็จอนาคตธุรกิจหนังสือ


เพิ่มเพื่อน    


2ต.ค.63-หลังเกิดเหตุการณ์วิกฤตโควิด-19 แน่นอนว่าภาคธุรกิจต่างๆ ได้รับผลกระทบกันถ้วนหน้า หนึ่งในนั้นคือธุรกิจหนังสือไม่ว่าจะเป็นร้านหนังสือที่พากันปิดตัวลง ส่วนสำนักพิมพ์เองก็ต้องหาทางออกเอาตัวรอดให้ผ่านพ้นวิกฤตไปให้ได้ ภายในงานมหกรรมหนังสือระดับชาติ ครั้งที่ 25  ที่มีชึ้นระหว่างวันที่  1-11ต.ค.2563 ณ ศูนย์ประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี    ทางสำนักพิมพ์ยิปซี ก็ได้จัดงานเสวนา “อนาคตของธุรกิจหนังสือท่ามกลางวิกฤตโควิด-19” ที่ได้รวมเหล่าผู้บริหารสำนักพิมพ์และแพลตฟอร์มออนไลน์ลำดับต้นๆ ของประเทศ  อาทิ MEB, สำนักพิมพ์ Groove Publishing, สำนักพิมพ์ Bookscape, สำนักพิมพ์เคล็ดไทย, สำนักพิมพ์ Biblio, พะโล้ พับลิชชิ่ง และสำนักพิมพ์มติชน มาพูดคุยถึงทิศทางในปัจจุบันและอนาคตของ ธุรกิจหนังสือที่กำลังประสบปัญหา ทั้งจากสภาวะเศรษฐกิจ และสภาวะหลังโควิด-19

 

เวทีเสวนา

คธาวุฒิ เกนุ้ย กรรมการผู้จัดการสำนักพิมพ์ยิปซี ที่จัดพิมพ์หนังสือแนวประวัติศาสตร์  กล่าวว่า ต้องยอมรับว่าในช่วงวิกฤตโควิด-19 สำนักพิมพ์ได้รับผลกระทบกันถ้วนหน้า เพราะหนังสือไม่ใช่ปัจจัย 4 ที่จำเป็น และวิกฤตครั้งนี้คาดว่าก็จะยืดยาวไปอีกประมาณปีกว่าๆ ร้านหนังสือจากที่มีประมาณ 2,000-3,000 ร้านทั่วประเทศ ก็ทยอยปิดไปถึง 10% ทำให้สำนักพิมพ์ทั่วประเทศกว่า 430 แห่งต้องหาทางเอาตัวรอดและทางออก เพื่อบริหารจัดการดูแลทั้งพนักงาน ยอดขาย ค่าใช้จ่ายอื่นๆ  ซึ่งแน่นอนว่า ออนไลน์ กลายมาเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการขับเคลื่อนธุรกิจหนังสือ และเราต้องปรับตัวเพราะ อย่างสำนักพิมพ์ตนลูกค้าส่วนใหญ่จะซื้อหนังสือหน้าร้านเป็นรายได้หลักถึง 70-80%  แต่หลังจากช่วง 3-4 เดือนที่ประเทศล็อคดาวน์  เราก็ต้องปรับตัวมาขายทางออนไลน์อย่างจริงจัง ซึ่งก็ทำให้ยอดขายออนไลน์เพิ่มขึ้น 30% พร้อมกับได้ลูกค้ากลุ่มใหม่ และเมื่อผ่อนคลายมาตรการต่างๆ

 

คธาวุฒิ เกนุ้ย

คธาวุฒิ  กล่าวต่อว่า ส่วนที่สำคัญคือช่วงระยะเวลาที่หยุดพักไป เราก็ต้องเตรียมสร้างสรรค์คอนเทนต์ที่จะสามารถตอบโจทย์ลูกค้าได้ และเข้ากับสถานการณ์ในปัจจุบัน เราจึงได้ออกหนังสือใหม่มากว่า 16 ปก ครอบคลุม ทั้งองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ บุคคล สังคมวิทยา มานุษยวิทยา เศรษฐศาสตร์ และประวัติศาสตร์ โดยเล่มที่เป็นไฮไลท์ หนังสือ ปืน เชื้อโรคและเหล็กกล้า และเล่มล่าสุด การเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ โดยนักเขียน จาเร็ด ไดมอนด์ นักเขียนชั้นนำของโลก ที่จะทำให้ผู้อ่านเข้าใจการรับมือหรือฝ่าฝันกับวิกฤตต่างๆ ซึ่งทำให้ยอดขายของเราที่มาจากร้านหนังสือได้ฟื้นตัวขึ้นมาประมาณ 50-60% แล้ว ดังนั้นแม้จะเห็นว่าออนไลน์เป็นทางออก และอาจจะเป็นอนาคตของหนังสือ แต่เราก็ไม่สามารถที่จะอยู่ได้โดยไม่มีร้านหนังสือ เพราะร้านหนังสือยังคงเป็นสังคมหนึ่งของนักอ่านที่มีความจำเป็นในการเลือกซื้อหนังสือ หรือการพบปะกันระหว่างนักเขียนกับนักอ่าน 

ปรมัตถกร ปรเมธีกุล ผู้จัดการฝ่ายประชาสัมพันธ์และฝ่ายการตลาด สำนักพิมพ์มติชน ได้เล่าว่า สิ่งสำคัญในช่วงโควิด-19 คือเราต้องรับรู้ข้อมูลให้มากที่สุด เพื่อนำมาประมวลและประเมิน เพื่อที่จะได้หาทางออกที่จะอยู่ร่วมกับมันไปได้  เพราะในวงการหนังสือคนทำหนังสือก็ได้รับผลกระทบ แต่ส่วนที่สำคัญก็คือ นักอ่านหรือลูกค้า ที่ยังต้องการอ่านหนังสือ ซึ่งเราก็ได้ลุยออนไลน์อย่างเต็มที่ และได้กระแสตอบรับดี แต่สำหรับกลุ่มลูกค้าที่สูงอายุที่ยังไม่ชำนาญการใช้ออนไลน์ เราต้องจัดการบริหารตรงส่วนนี้ด้วย เพื่อสื่อสารให้เข้าใจและถูกต้อง ทำให้ช่วงที่ผ่านมาเรามีลูกค้าออนไลน์เพิ่มขึ้นซึ่งก็มากจากกลุ่มลูกค้าเดิมที่ซื้อจากร้านหนังสือด้วย ออนไลน์จึงเหมือนเป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเพื่อรับมือกับวิกฤตที่เกิดขึ้น แม้ว่าเราจะไม่ได้เชี่ยวชาญในการใช้ช่องทางออนไลน์ แต่ก็ต้องเรียนรู้ไปเรื่อยๆ เพราะสิ่งที่สำคัญที่สุดคือการผลิตคินเทนต์ที่ตอบโจทย์ทันกะแสสังคม นักอ่านให้ความสนใจ 

จีรวุฒิ เขียวมณี บรรณาธิการบริหารสำนักพิมพ์ Biblio สำนักพิมพ์ที่เพิ่งเปิดใหม่เพียง 7 เดือนก็ต้องเผชิญกับวิกฤตโควิด  ได้บอกว่า ในช่วงที่โควิดเริ่มระบาดในไทย แต่ยังไม่รุนแรงมาก เป็นช่วงเดียวกันกับที่เราจะเปิดตัวหนังสือของสำนักพิมพ์เล่มแรก ซึ่งก็ต้องหยุดชะงัก ต้องกลับมาวางแผนใหม่ เพื่อให้หนังสือยังอยู่ในความสนใจของลูกค้า จึงได้แผนประกาศหนังสือลิขสิทธิ์จากต่างประเทศกว่า 10 ปก ให้ลูกค้าสามารถซื้อได้ในรูปแบบของพรีออเดอร์ ทำให้สำนักพิมพ์ยังทำงานต่อไปได้ และรุกการตลาดออนไลน์ให้มากขึ้น ซึ่งทั้งสองสิ่งเป็นเรื่องที่เราต้องเรียนรู้กันจริงจัง หากมองดูแล้วออนไลน์ตอบโจทย์ลูดค้าแน่ๆ แต่ร้านหนังสือลูกค้าก็ยังต้องการ ซึ่งทั้งสองส่วนอาจจะต้องขับเคลื่อนในอุตสาหกรรมหนังสือที่อาจจะต้องได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐเพิ่มมากขึ้น 

 

รวิวร มะหะสิทธิ์

ด้าน รวิวร มะหะสิทธิ์ กรรมการผู้จัดการและผู้ก่อตั้ง MEB คลังหนังสือฉบับอีบุ๊ก ได้แชร์ความเห็นในมุมมองแพลตฟอร์มออนไลน์ กล่าวว่า ในธุรกิจออนไลน์ ต่างจากธุรกิจออฟไลน์ที่ลูกค้าสามารถเข้ามาซื้อหนังสือได้ตลอด 24 ชั่วโมง ทำให้มีพนักงานที่ต้องคอยให้บริการลูกค้า เพราะเรามีลูกค้าที่ลงทะเบียนอยู่กว่า 4 ล้านคน และมีนักอ่านที่ประจำกว่า 1 แสนคน/เดือน ดังนั้นในช่วงโควิด-19 เราก็ต้องมีการปรับตัวโดยพนักงานจะต้องทำงานเวิร์คฟอร์มโฮมได้ 100% และเต็มที่ ในส่วนของยอดขาย ที่เรายังต้องอาศัยคอนเทนต์จากสำนักพิมพ์ ทำให้เมื่อสำนักพิมพ์มีปัญหาสะดุดขึ้นมาในการเตรียมต้นฉบับเราก็จะต้องได้รับผลกระทบเช่นกัน ดังนั้นในช่วงที่เกิดวิกฤตเราก็ได้ผุดไอเดียในการจัดงาน สัปดาห์หนังสือที่บ้าน ครั้งที่ 1 ขึ้น ซึ่งเหมือนกับงานหนังสือที่เป็นออนกราวน์ แต่ทุกคนอยู่บ้านก็สามารถเลือกซื้อหนังสือได้ 

 

“สิ่งสำคัญคือการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพราะหากมีหลายคนหันมาทางออนไลน์ เราก็จะต้องทำออนไลน์ของเราให้ดียิ่งขึ้นไม่ว่าจะเป็นระบบ หรือกลยุทธิ์ทางการตลาดต่างๆ เพราะต้องเขาใจว่านักอ่านบางคนอาจจะต้องการหนังสือไว ซึ่งออนไลน์ต้องรอเวลาอย่างน้อยที่สุดคือ 1 วันหลังทำการ หรือบางเล่ม บางเรื่องที่ผู้อ่านสนใจไม่มีในออนไลน์ ก็เป็นจุดที่เรายังต้องปรับแก้ไขกันต่อไป” ผู้ก่อตั้ง MEB  กล่าว

    อย่างไรก็ตาม ติดตามกิจกรรมต่างๆของสำนักพิมพ์ ยิปซี ได้ที่บูธ L08 หรือทางเฟซบุ๊ก สำนักพิมพ์ ยิปซี และสามารถเข้าไปช้อปหนังสือหรือร่วมกิจกรรมต่างๆได้ตั้งแต่วันนี้ -11 ตุลาคม 2563 นี้ ณ ชาเลนเจอร์ 2 อิมแพ็ค เมืองทองธานี หรือทางออนไลน์ www.thaibookfair.com 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"