"หมอธนรักษ์"เผยทีมวิชาการคาด ตัวเลขไทยติดเชื้อโควิดจริงมีถึง 6พันคน ทั้งโลกแตะ 100ล้าน ไม่ใช่ 34ล้าน เมียนมารดต้นคอจ่อเข้าไทย 


เพิ่มเพื่อน    

2 ต.ค.63- ที่กระทรวงสาธารณสุข นพ.ธนรักษ์ ผลิพัฒน์ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า สถานการณ์ภาพรวมของประเทศไทยเมื่อเปรียบเทียบกับสถานการณ์ของทั้งโลกขณะนี้ซึ่งมีผู้ป่วย 34 ล้านคน  สถานการณ์ชองโลกยังไม่มีแนวโน้มดีขึ้นเท่าไหร่ ยังไม่มีทีทาว่าผู้ป่วยรายใหม่จะลดลง และการรายงานผู้ป่วยทั่วโลกคาดว่าจะต่ำกว่าความเป็นจริงมาก นักวิชาการ เชื่อว่าทั้งโลกน่าจะมีผู้ป่วยรายใหม่เกิน 100 ล้านคน ในส่วนของประเทศไทยก็เช่นกัน ซึ่งปัจจุบันมีผู้ป่วยในระบบรายงานอยู่ที่ 3,575 คนแต่จากการค่าประมาณของทีมวิชาการ ที่มีการคาดประมาณสถานการณ์ก็คาดว่าประเทศไทยน่าจะมีผู้ป่วยมากกว่านี้  โดยน่าจะอยู่ที่ประมาณ 6 พันกว่าคน

รองอธิบดีฯ กล่าวอีกว่า  วันนี้สถานการณ์จากเมียนมาเป็นตัวกดดันสำคัญของประเทศว่าจะมีการระบาดเข้ามา แต่ถ้าหากเรามีระบบควบคุม ป้องกัน และมีการจัดการที่ดีในระยะเวลาที่เหมาะสม ก็จะควบคุมการระบาดในประเทศไทยได้  แต่หากยังมีการปล่อยให้มีการลักลอบเข้ามา ความเสี่ยงที่จะเกิดการระบาด ก็จะเพิ่มมากขึ้น 


"ตอนนี้สถานการณ์การระบาดของเมียนมาร์ จากจุดเริ่มต้น แถบรัฐยะไข่ ที่อยู่ทางตะวันตก ก็เริ่มคืบคลานมาทางฝั่งตะวันออก เริ่มมีการระบาดรุนแรงในเมืองย่างกุ้ง มาระยะหนึ่งแล้ว และเริ่มมีเมืองอื่นๆ ที่เริ่มเจอผู้ป่วยประปรายรวมถึงรัฐมอญ ซึ่งมีชายแดนบางส่วนติดกับไทย และอีก 2 รัฐ คือคะฉิ่นและอีก 1 รัฐอาจจะเจอผู้ป่วยไม่มาก แต่ก็เริ่มเห็นว่าการระบาดของโรค ใกล้ชายแดนไทยเข้ามาทุกที เพราะฉะนั้นเรื่องการกวดขันคนที่เดินทางเข้าเมืองผิดกฎหมาย ให้มีน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ เป็นเรื่องที่มีความสำคัญมาก ที่ทุกฝ่ายไม่เพียงแต่ภาครัฐ เอกชน ประชาสังคม ประชาชนทุกคนต้องช่วยกันสอดส่อง เป็นหูเป็นตาให้ภาครัฐ"

นพ.ธนรักษ์ กล่าวอีกว่า  เราสามารถพบผู้ป่วยรายใหม่ได้ไม่ใช่เรื่องที่เกินความคาดหมาย และไม่ใช่เรื่องที่ต้องตื่นตระหนก แต่จะทำอย่างไร ให้ไม่นำไปสู่การระบาดระลอกใหม่ ซึ่งเมื่อไหร่ก็ตามที่เราหละหลวม ประมาท จะกลับมาระบาดได้อีก  เป็นเรื่องสำคัญที่ฝ่ายสาธารณสุขเตรียมแผนการรองรับเอาไว้  อย่างไรก็ตาม ที่มีการพูดกันว่าถ้ามีการระบาดระลอก 2 จะรุนแรงกว่ารอบแรก  แต่ขึ้นอยู่กับมาตรการควบคุมป้องกันโรค และความร่วมมือของประชาชนหากสวมหน้ากากอนามัยหน้ากากผ้า เมื่อออกไปพื้นที่ชุมชน ก็จะลดโอกาสที่จะเกิดการระบาดใหญ่ได้มาก  

นอกจากนี้ จากการศึกษาข้อมูลพบว่า  การดำเนินการมาตรการควบคุมโรคที่ล่าช้า จะส่งผลกระทบ ต่อประสิทธิภาพการควบคุมโรคมากที่สุด  โดยพบว่าหากรสอบสวนควบคุมโรคล่าช้าน้อยกว่า 1 วัน หลังพบผู้ป่วย จะมีประสิทธิผลในการควบคุมโรคเหลือ 79.9% แต่หากล่าช้า 3 วัน ประสิทธิผลเหลือ 41.8% ซึ่งลดลงมาถึงครึ่ง และหากล่าช้า 7 วัน ประสิทธิผลจะเหลือเพียง 4.9%  เพราะฉะนั้นการตรวจเจอผู้ติดเชื้อได้เร็ว จะส่งผลโดยตรงต่อการควบคุมโรคไม่ให้ระบาดและแพร่ออกไปในวงกว้าง 

"คนไทยสามารถช่วยได้ ในการควบคุมโรค โดยการใช้แอพพลิชั่นต่างๆ ผ่านการเช็คอิน เช็คเอาท์แอพพลิเคชั่น ทั้งหมอชนะ หรือไทยชนะ เวลาเข้าไปใช้บริการตามสถานที่ต่างๆ เพราะถ้าเกิดพบว่ามีผู้ติดเชื้อใหม่ขึ้นมา ก็จะสามารถตามหาคนสัมผัสได้เร็ว  ทำให้การเข้าไปควบคุมสถานการณ์ ก็จะทำให้ได้เร็วขึ้นไปด้วย" นพ.ธนรักษ์ กล่าว.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"