เครือข่ายคนจนรวมพลังรณรงค์ ‘วันที่อยู่อาศัยโลก 2563’ คึกคัก ยื่นข้อเรียกร้องถึงนายกรัฐมนตรีแก้ปัญหาที่อยู่อาศัย-พัฒนาคุณภาพชีวิตคนจน


เพิ่มเพื่อน    

 

กรุงเทพฯ / เครือข่ายสลัม 4 ภาค ศูนย์รวมพัฒนาชุมชน  สหพันธ์พัฒนาองค์กรชุมชนคนจนเมืองแห่งชาติ (สอช.) ฯลฯ  นำประชาชนที่เดือดร้อนเรื่องที่อยู่อาศัยประมาณ 2,500 คน  เดินรณรงค์ ‘วันที่อยู่อาศัยโลกปี 2563’  เรียกร้อง รฟท.แก้ไขผลกระทบจากโครงการพัฒนาเส้นทางรถไฟ รวมทั้งยื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรีเพื่อช่วยแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัย-พัฒนาคุณภาพชีวิตคนจน ฯลฯ  ด้านเครือข่ายขบวนองค์กรชุมชนทั่วประเทศเตรียมจัดงาน ‘มหกรรมบ้านมั่นคง : ที่อยู่อาศัยสำหรับทุกคน เพื่ออนาคตเมืองที่ดีขึ้นกว่าเดิม ตลอดเดือนตุลาคม-พฤศจิกายนนี้   

 

วันจันทร์แรกของเดือนตุลาคมทุกปี  องค์การสหประชาชาติกำหนดให้เป็น ‘วันที่อยู่อาศัยโลก’ (World Habitat  Day)  เพื่อให้ประเทศต่าง ๆ ให้ความสนใจกับสถานการณ์การอยู่อาศัยและการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์  ตลอดจนสิทธิพื้นฐานของการมีที่อยู่อาศัยที่เหมาะสม  และเพื่อสร้างความตระหนักในความรับผิดชอบร่วมกันในการจัดการให้มนุษย์ทุกคนมีที่อยู่อาศัยในอนาคต

 

ในปีนี้องค์การสหประชาติมีคำขวัญเนื่องในวันที่อยู่อาศัยโลกว่า Housing  for  All : A Better Urban Future”  หรือ  “ทุกคนมีที่อยู่อาศัย เมืองจึงจะมีอนาคตที่ดี”  เพื่อต้องการสื่อสารว่า คนทุกคนในเมืองมีคุณค่า และที่อยู่อาศัยเป็นเงื่อนไขสำคัญ ที่จะทำให้ทุกคนที่อยู่ร่วมกันในเมืองมีคุณภาพชีวิตที่ดี และเมืองจะพัฒนาได้ นั่นหมายถึงทุกคนมีส่วนสำคัญในการสร้างสรรค์ให้เมืองเกิดการพัฒนา  ไม่ใช่การพัฒนาที่ละทิ้งคนจน หรือขจัดคนจนออกไปนอกเมือง

 

 

ในปีนี้วันที่อยู่อาศัยโลกตรงกับวันจันทร์ที่ 5 ตุลาคม  ในประเทศไทยมีการรณรงค์เคลื่อนไหวของภาคประชาชน  โดย  เครือข่ายสลัม 4 ภาค  ศูนย์รวมพัฒนาชุมชน  สหพันธ์พัฒนาองค์กรชุมชนคนจนเมืองแห่งชาติ (สอช.) ฯลฯ  นำประชาชนที่เดือดร้อนทั่วประเทศที่ประสบปัญหาที่อยู่อาศัยและที่ดินทำกินประมาณ  2,500 คน  ตั้งขบวนจากบริเวณอนุเสาวรีย์ประชาธิปไตย  เพื่อเดินทางมายื่นหนังสือข้อเรียกร้องต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่ตั้งอยู่ริมถนนราชดำเนินนอก 

 

โดยจุดแรกผู้แทนเครือข่ายประชาชนยื่นหนังสือถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม  โดยมีนายถาวร  เสนเนียม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมมารับข้อเสนอ  เนื่องจากมีประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากโครงการพัฒนาเส้นทางรถไฟทั่วประเทศ  เช่น  รถไฟรางคู่กรุงเทพฯ – หัวหิน  รถไฟความเร็วสูงนครราชสีมา - หนองคาย  รถไฟความเร็วสูงเชื่อม  3 สนามบิน  รวมถึงโครงการพัฒนาธุรกิจในพื้นที่การรถไฟฯ  เช่น  โครงการพัฒนาย่านพหลโยธิน  ย่านบางซื่อ กม.11  โครงการมักกะสันคอมเพล็กซ์  การพัฒนาสถานีแม่น้ำย่านถนนพระราม 3   การพัฒนาพื้นที่รอบสถานี TOD (Transit Oriented Development) ที่กำลังศึกษา  และจะดำเนินการนำร่องใน 3 เมืองใหญ่  คือ  ขอนแก่น  อยุธยา และพัทยา ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อประชาชนในพื้นที่ไม่ต่ำกว่า 30,000 ครอบครัว

 

นายถาวร  เสนเนียม  รมช.คมนาคมมารับข้อเสนอและพูดคุยกับประชาชน

 

อย่างไรก็ตาม  ก่อนหน้านี้ในวันที่ 24 กันยายน  เครือข่ายสลัม 4 ภาคได้จัดเวทีพูดคุยกับตัวแทนการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ที่สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) โดยมีข้อเสนอต่อ รฟท. เช่น 1. ต้องชะลอการไล่รื้อ  เนื่องจากการไล่รื้อบ้านของชาวบ้านไม่ใช่การแก้ไขปัญหาที่ถูกต้อง 2.ควรใช้นโยบายตามแนวทางมติบอร์ดปี 2543 ซึ่งการทำ MOU เพื่อให้เปิดกว้างในสิทธิการเช่าที่ดินการรถไฟฯ ประโยชน์จะได้ทั้ง 2 ฝ่าย ประชาชนก็จะได้มีที่อยู่อาศัย และ รฟท.จะได้ค่าเช่าและสามารถดำเนินโครงการต่อไปได้  3.อย่ามองคนจนว่ามาบุกรุกในพื้นที่ รฟท. แต่อยากให้มองว่าคนเหล่านี้เป็นผู้บุกเบิกที่เข้ามาทำให้เกิดการพัฒนาในพื้นที่ 4 .ต้องมีการสำรวจข้อมูลร่วมเพื่อให้เกิดการรับรองสิทธิ 5.ให้ก่อตั้งกองทุนสำหรับการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนจนในพื้นที่ รฟท.  ฯลฯ

 

ด้าน นายนิรุฒ มณีพันธ์  ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย  กล่าวว่า ตอนนี้มีคณะทำงานร่วมกันระหว่าง รฟท.กับเครือข่ายสลัม 4 ภาค และขอเวลา 2 เดือนเพื่อศึกษาและพิจารณาข้อตกลงการแก้ไขแก้ปัญหาร่วมกัน  โดยจะมีการแยกประเภทปัญหา  วางกรอบการทำงานเพื่อแก้ไขปัญหา  หลังจากนั้นจะนำเรื่องเข้าสู่การพิจารณาของบอร์ด รฟท.  ส่วนเรื่องคดีความระหว่าง รฟท.กับผู้บุกรุกที่ดินนั้น  ในช่วง 2 เดือนนี้จะชะลอการดำเนินคดีเอาไว้ก่อน

 

น.ส.เนืองนิช  ชิดนอก  ประธานเครือข่ายสลัม 4 ภาค  กล่าวว่า  เครือข่ายสลัม 4 ภาคเป็นขบวนคนจนเมือง ประกอบด้วย คนจนเมืองที่อยู่อาศัยในชุมชนแออัด และคนเร่ร่อนไร้บ้าน จำนวน 76 ชุมชน  กระจายอยู่ทั้ง 4 ภูมิภาค  ร่วมกันต่อสู้เพื่อให้เกิดความมั่นคงในที่ดิน ที่อยู่อาศัย  และการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนจนเมืองมายาวนานตั้งแต่ปี  2541  นำเสนอแนวทางการแก้ปัญหา  และเรียกร้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและรัฐบาลแก้ปัญหาเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมในการจัดการที่ดิน เพื่อพัฒนาที่อยู่อาศัย โดยเปลี่ยนวิธีคิดในการพัฒนาใหม่ ที่ต้องเคารพคนในพื้นที่ และต้องมองเห็นคุณค่าของความเป็นมนุษย์ และสิ่งแวดล้อม เพื่อไม่ให้เกิดความขัดแย้งและการเผชิญหน้าระหว่างรัฐกับประชาชน เพราะที่ผ่านมาการต่อสู้ของคนจนไม่ได้ถูกรับฟัง  ผู้กำหนดนโยบายยังคงดำเนินการในลักษณะเดิม  โดยมุ่งหวังมูลค่าทางเศรษฐกิจ ไม่รับผิดชอบต่อประชาชนในพื้นที่และวิถีวัฒนธรรม

 

“วันที่อยู่อาศัยโลกปีนี้  เครือข่ายสลัม 4 ภาค ร่วมกับสหพันธ์พัฒนาองค์กรชุมชนคนจนเมืองแห่งชาติ  (สอช.) เครือข่ายชุมชนคนเมืองผู้ได้รับผลกระทบจากรถไฟ (ชมฟ.)  และขบวนคนจนเมืองที่ประสบปัญหาด้านที่อยู่อาศัย จัดให้มีการรณรงค์เนื่องในวันที่อยู่อาศัยโลก เพื่อสื่อสารต่อสาธารณะถึงสถานการณ์ปัญหา  และมีข้อเรียกร้องต่อรัฐบาล ให้ดำเนินการเพื่อสร้างหลักประกันให้กับคนทุกคนในสังคมไทย  เพื่อให้เข้าถึงที่ดินเพื่อที่อยู่อาศัย  การมีคุณภาพชีวิตที่ดี และเห็นคุณค่าของคนจนว่ามีส่วนสำคัญในการพัฒนาเมือง ซึ่งจะลดความเหลื่อมล้ำในสังคมลงได้”  ประธานเครือข่ายสลัม  4 ภาคกล่าว

 

ผู้แทนสลัม 4 ภาคยื่นหนังสือถึงผู้แทนองค์การสหประชาชาติประจำประเทศไทย

 

นอกจากที่กระทรวงคมนาคมแล้ว  ขบวนยังเคลื่อนไปยื่นหนังสือที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์  บริเวณหน้าที่ทำการองค์การสหประชาชาติประจำประเทศไทย  กระทรวงศึกษาธิการ  รวมทั้งบริเวณด้านหลังทำเนียบรัฐบาลเพื่อยื่นหนังสือถึงพลเอกประยุทธ์  จันทร์โอชา  นายกรัฐมนตรีด้วย  โดยมีนายอนุชา  นาคาศัย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี  นายสุภรณ์ อัตถาวงศ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นผู้แทนรับข้อเสนอของเครือข่ายสลัม 4 ภาค  และนายสมชาติ  ภาระสุวรรณ  ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนฯ ผู้แทนของกระทรวงการพัฒนาสังคม  โดยมีข้อเสนอต่างๆ ดังนี้

 

ข้อเสนอด้านการพัฒนาที่ส่งผลกระทบต่อชุมชน

1.ต้องมีกระบวนการในการรับฟัง และให้อำนาจคนในพื้นที่มีส่วนร่วมสำคัญในการกำหนดแผนพัฒนาในพื้นที่ตัวเอง      2.ต้องมีนโยบายให้หน่วยงานที่ดูแลที่ดินของรัฐประเภทต่าง ๆ   แบ่งปันที่ดิน เพื่อจัดเป็นที่อยู่อาศัยให้กับคนจนที่ไร้ที่อยู่อาศัย  

3.กรณีชุมชนที่อยู่ในที่ดินของการรถไฟที่ได้รับผลกระทบจากการพัฒนาของกระทรวงคมนาคม ด้านการขนส่งระบบราง และการพัฒนาด้านเศรษฐกิจในที่ดินการรถไฟ นายกรัฐมนตรีต้องประสานงานไปยังกระทรวงคมนาคม เพื่อให้จัดที่ดินของการรถไฟเพื่อรองรับชุมชนที่ได้รับผลกระทบ โดยให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการกำหนดพื้นที่ และการพัฒนาที่อยู่อาศัย 

4.ต้องนำนโยบายโฉนดชุมชน และธนาคารที่ดิน ที่ภาคประชาชนผลักดันขับเคลื่อน มาใช้ในการรับรองสิทธิในที่ดิน และสิทธิของชุมชนในการบริหารจัดการที่ดิน เพื่อสร้างหลักประกัน และความมั่นคงในชีวิต

 

ผู้แทนสลัม 4 ภาคอ่านข้อเรียกร้องถึงนายกรัฐมนตรี

 

ข้อด้านการพัฒนาที่อยู่อาศัยและคุณภาพชีวิต

1.กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ต้องดำเนินการพัฒนาระบบสหกรณ์ โดยเพิ่มประเภทสหกรณ์ที่สอดคล้องกับการดำเนินการที่อยู่อาศัยในโครงการบ้านมั่นคง 2.กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ต้องสนับสนุนให้ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง  สำนักงานพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์แต่ละจังหวัด ร่วมมือกับภาคประชาสังคมทำงานในเชิงรุก เพื่อแก้ปัญหาสิทธิขั้นพื้นฐาน และการพัฒนาคุณภาพชีวิตของกลุ่มคนไร้บ้าน  โดยจัดให้มีสถานที่รองรับ และมีมาตรการในการช่วยเหลือคนไร้บ้านที่สูงอายุและเป็นผู้ป่วยที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ให้มีชีวิตที่ดีขึ้น

3.รัฐบาลต้องสนับสนุนให้เกิดระบบบำนาญแห่งชาติ เพื่อให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยให้นายกรัฐมนตรีลงนามในร่างพระราชบัญญัติบำนาญแห่งชาติ พ.ศ. ....... ของภาคประชาชน ที่ได้ยื่นต่อรัฐสภา และอยู่ในขั้นตอนที่นายกรัฐมนตรีต้องลงนาม  เพื่อนำร่าง พ.ร.บ.เข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร  4.ต้องดำเนินการให้เด็กทุกคน อายุ 0-6 ปี  ได้รับเงินอุดหนุนเลี้ยงดูเด็กเล็กอย่างถ้วนหน้า  5.ต้องดำเนินการให้ทุกคนเข้าถึงระบบการรักษาพยาบาลที่มีคุณภาพและเป็นมาตรฐานเดียว

 

ข้อด้านสิทธิ และเสรีภาพในการแสดงความเห็น และใช้ชีวิตอย่างปลอดภัย

1.รัฐบาลต้องหยุดละเมิดสิทธิ และหยุดคุกคาม นักเรียน นักศึกษา ที่เคลื่อนไหว เรียกร้อง และแสดงความเห็นทางการเมืองตามระบอบประชาธิปไตย และต้องสนับสนุนข้อเรียกร้องของนักเรียนที่ต้องการปฏิรูปการศึกษา เพื่อสร้างบรรยากาศที่ปลอดภัย และมีเสรีภาพ  2.ต้องสนับสนุนการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยการจัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อสร้างระบบที่เป็นธรรม

 

 

เครือข่ายขบวนองค์กรชุมชนจัดงานวันที่อยู่อาศัยโลกทั่วทุกภูมิภาค

นอกจากการจัดงานรณรงค์เนื่องในวันที่อยู่อาศัยโลกในวันนี้แล้ว  เครือข่ายขบวนองค์กรชุมชนยังร่วมกับสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) จัดงาน ‘มหกรรมบ้านมั่นคง : ที่อยู่อาศัยสำหรับทุกคน เพื่ออนาคตเมืองที่ดีขึ้นกว่าเดิม(Housing for all A better urban future) ทั่วทุกภูมิภาคตลอดช่วงเดือนตุลาคม-พฤศจิกายนนี้  เพื่อนำเสนอรูปธรรมการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยของชุมชนร่วมกับท้องถิ่น  การผลักดันนโยบายการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยและที่ดินทำกินในรูปแบบการแก้ไขปัญหาระดับเมือง/ตำบล    ฯลฯ

 

โดยมีเป้าหมาย 1.เพื่อรณรงค์ประชาสัมพันธ์เนื่องในวันที่อยู่อาศัยโลก ให้สังคมได้ตระหนักถึงสถานการณ์ปัญหาที่ดิน ที่อยู่อาศัย และยื่นข้อเสนอต่อหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง  2.เพื่อเปิดพื้นที่เรียนรู้ระหว่างขบวนองค์กรชุมชน เครือข่ายชุมชนเมือง ท้องที่ ท้องถิ่น หน่วยงานต่างๆ  ทั้งระดับพื้นที่และระดับนโยบาย  ให้รับรู้และเข้าใจแนวทางการแก้ไขปัญหาที่ดินที่อยู่อาศัยที่ต้องสร้างความมั่นคง  ตั้งแต่ที่ดิน ที่อยู่อาศัย และการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีในชุมชน ในเมืองของตนเอง

 

 นายสมชาติ  ภาระสุวรรณ  ผอ.สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนฯ (กลาง) ร่วมพูดคุยกับเครือข่ายสลัม 4 ภาค

 

3.เพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงขบวนองค์กรชุมชน  เครือข่ายชุมชนเมือง ให้ลุกขึ้นมาเป็นแกนหลักร่วมกับขบวนองคาพยพจากทุกภาคส่วนให้ขับเคลื่อนการพัฒนาที่อยู่อาศัยอย่างมีส่วนร่วม  4.เพื่อสรุปผลการดำเนินงาน สรุปบทเรียน จัดการความรู้การแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยทั้งเมืองและชนบท  5.เพื่อทบทวนขบวนการ ทิศทาง แนวทางการขับเคลื่อนการพัฒนาที่อยู่อาศัย และการมองทิศทางการขับเคลื่อนการพัฒนาที่อยู่อาศัยในระยะต่อไป ของขบวนองค์กรชุมชน และสถาบันฯ  และ 6.เพื่อนำเสนอรูปธรรมทั้งเมืองและชนบท  และนวัตกรรมการพัฒนาที่อยู่อาศัย

 

ส่วนการจัดงานมหกรรมบ้านมั่นคงฯ จะจัดขึ้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา  สุพรรณบุรี  กรุงเทพฯ  ปราจีนบุรี  ขอนแก่น  น่าน  และชุมพร  โดยในวันที่ 27 ตุลาคมจะจัดงานที่สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนฯ  ถนนนวมินทร์  กรุงเทพฯ  มีการอ่านสาสน์จากองค์กรสหประชาชาติเนื่องในวันที่อยู่อาศัยโลก  การมอบโล่รางวัลให้กับบ้านมั่นคงดีเด่น 8 ประเภท  และ 50 หน่วยงานความร่วมมือ โดย นายจุติ  ไกรฤกษ์  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์  เป็นประธานในงาน  นอกจากนี้ยังมีการแสดงนิทรรศการนำเสนอผลการจัดการความรู้ 20 ปี พอช.  12 ประเด็นเรียนรู้  เวทีอภิปราย ‘Housing for all A better urban future’  ที่อยู่อาศัยสำหรับทุกคน เพื่ออนาคตเมืองที่ดีขึ้นกว่าเดิม ฯลฯ

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"