ปักหมุดโรงงานผลิตยารักษามะเร็ง แก้โจทย์ความเหลื่อมล้ำลดปริมาณผู้เสียชีวิต


เพิ่มเพื่อน    

 

คนไทยเสียชีวิตจากโรคมะเร็งประมาณ 9-10 คนต่อชั่วโมงหรือ 230 คนต่อวัน หรือ 84,073 คนต่อปี และยังมีตัวเลขการเป็นมะเร็งเพิ่มขึ้นวันละ 336 คน หรือ 122,757 คนต่อปี เมื่อเห็นตัวเลขแล้วก็อาจจะเป็นข้อมูลที่น่าตกใจ แต่ทั้งหมดคือเรื่องจริง เนื่องจากมะเร็งถือว่าเป็นโรคที่ร้ายแรงที่สุด และยังเป็นโรคที่พรากชีวิตคนไทยไปมากที่สุดมาโดยตลอดใน 20 กว่าปีที่ผ่านมา เนื่องจากเชื้อมะเร็งสามารถเกิดขึ้นได้กับอวัยวะภายในร่างกายทั้งผู้หญิงและผู้ชาย โดยส่วนใหญ่ผู้หญิงจะเป็นมะเร็งเต้านม มะเร็งตับ และมะเร็งปากมดลูก ส่วนผู้ชายก็จะเป็นมะเร็งปอด มะเร็งลำไส้ใหญ่ และมะเร็งตับเช่นเดียวกัน ซึ่งทุกคนมีความเสี่ยงสูงถึง 40% ที่จะเป็นมะเร็ง และเมื่อเป็นแล้วมีโอกาสถึง 50% ที่จะเสียชีวิต หากไม่ได้รับการดูแลรักษาอย่างดี หรือเมื่อรับรู้ถึงอาการที่ล่าช้าเกินไป

 

แต่ต้องยอมรับว่าการรักษามะเร็งในปัจจุบันยังมีค่าใช้จ่ายที่สูงอยู่ โดยเฉพาะยารักษาโรคกลุ่มที่ออกฤทธิ์เฉพาะเจาะจงเซลล์มะเร็ง มีราคาแพงเพราะต้องนำเข้าทั้งหมด 100% ส่งผลให้ราคายาสูง และเข้าถึงกลุ่มผู้ป่วยได้ไม่มาก จึงทำให้ทวีความเจ็บปวดให้รุนแรงขึ้น และมีผลต่อภาวะโรคลุกลาม จนถึงขั้นเสียชีวิตได้

 

ด้วยเหตุนี้เองบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.) ได้เห็นถึงปัญหาดังกล่าว จึงได้ร่วมมือกับองค์การเภสัชกรรม (อภ.) เพื่อเดินหน้าสร้างโรงงานผลิตยาทุกรูปแบบที่ใช้ในการรักษาโรคมะเร็งเป็นแห่งแรกของประเทศไทย โดยหวังจะให้ผู้ป่วยเข้าถึงยาที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพสูงมากขึ้น ซึ่งจะทำให้ลดภาระด้านค่าใช้จ่ายในการนำเข้ายาจากต่างประเทศที่มีมูลค่าปีละกว่า 21,000 ล้านบาท ซึ่งถือว่ามากกว่า 50%

 

โรงงานผลิตยารักษามะเร็งนี้ จะตั้งอยู่ในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมวนารมย์ของ ปตท. หรือ PTT WEcoZi อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง ซึ่งขั้นตอนต่อไปในการศึกษาความเป็นไปได้ในการสร้างโรงงานผลิตยารักษาโรคมะเร็งขั้นละเอียด คาดว่าใช้เวลาประมาณ 14 เดือนแล้วเสร็จ หลังจากนั้นจะทำการสรุปผลการศึกษาและประเมินแนวทางการขับเคลื่อนโครงการนี้ต่อไป โดยมีแผนที่จะดำเนินการก่อสร้างโรงงานดังกล่าวในปี 2565 เพื่อให้สามารถทำการวิจัยพัฒนาและผลิตยารักษาโรคมะเร็งเพื่อจำหน่ายเชิงพาณิชย์ได้ในปี 2570

 

แบบโรงงานผลิตยารักษามะเร็ง

 

ด้วยความร่วมมือดังกล่าวจะทำให้ประเทศไทยมีโรงงานที่สามารถผลิตยารักษาโรคมะเร็งที่ครอบคลุมการรักษาทุกกลุ่มโรคมะเร็งในปัจจุบัน และในทุกกลุ่มการผลิตทั้งรูปแบบยาเคมีบำบัด ซึ่งเป็นยาพื้นฐานในการรักษาโรคมะเร็งที่ออกฤทธิ์ทั่วร่างกาย และกลุ่มยารักษาแบบจำเพาะเจาะจงต่อเซลล์มะเร็ง และยังเป็นแนวทางเพิ่มความสามารถในการแข่งขันให้แก่อุตสาหกรรมยาของประเทศให้ทัดเทียมสากลได้อีกด้วย

 

ซึ่งยาดังกล่าวมีประสิทธิภาพที่จะสามารถแพร่เข้าเซลล์และจับกับเป้าหมายภายในเซลล์ได้โดยตรง และยาฉีดชีววัตถุ ซึ่งส่วนใหญ่ไม่สามารถผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ได้ แต่จะไปจับเป้าหมายที่อยู่ภายนอกเซลล์หรือบนผิวเซลล์  ด้วยโรงงานผลิตยารักษาโรคมะเร็ง ต้องมีมาตรฐานคุณภาพการผลิตที่เป็นสากล มีมาตรฐานความปลอดภัยและต้องใช้เทคโนโลยีการผลิตขั้นสูง นอกจากนี้ โรงงานแห่งนี้สามารถรองรับและต่อยอดงานวิจัยจากห้องปฏิบัติการสู่การผลิตในระดับอุตสาหกรรม ถือเป็นการแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน เพื่อให้ประเทศมีความมั่นคงด้านยาและพึ่งพาตนเองได้มากขึ้น

 

 

นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า เนื่องด้วยโรคมะเร็งเป็นโรคที่จำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง โดยการใช้ยาต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ร่วมกับการรักษาด้วยวิธีอื่น ทำให้การเข้าถึงยาที่มีคุณภาพทำได้ยากและมีราคาแพง ดังนั้น การส่งเสริมการวิจัยและการผลิตยาที่ทันสมัย จึงเป็นสิ่งจำเป็น สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาประเทศ ในการมุ่งเน้นเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน เศรษฐกิจสีเขียว ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมเป้าหมายใหม่ของประเทศไทย

 

โดยอุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพและจะมีบทบาทสำคัญในการผลักดันเศรษฐกิจของไทยเป็นศูนย์กลางทางด้านสุขภาพและวิทยาศาสตร์เพื่อชีวิตที่ดีขึ้น ซึ่งเป็นยอดพีระมิดสูงสุดในอุตสาหกรรมชีวภาพ และยังเป็นอีกก้าวที่จะช่วยบรรลุเป้าหมายการยกระดับสาธารณสุข วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และการแพทย์ของไทย ส่งเสริมการต่อยอดงานวิจัยทางการแพทย์ของประเทศให้สำเร็จเป็นรูปธรรม อีกทั้งจะก่อให้เกิดการจ้างงาน ช่วยลดค่าใช้จ่ายของภาครัฐในการรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็ง รวมถึงเสริมสร้างศักยภาพและความมั่นคงทางด้านสาธารณสุขและเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน

 

โครงการก่อสร้างโรงงานผลิตยารักษาโรคมะเร็งนี้ เป็นหนึ่งในเจตนารมณ์ของ ปตท. ในการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ตามพันธกิจที่มุ่งเป็นแรงขับเคลื่อนประเทศไทยให้ก้าวผ่านการเปลี่ยนแปลง โดยใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม สู่ทุกภาคส่วน มุ่งยกระดับขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศ พร้อมพัฒนาสังคมและยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทย ซึ่งต้องมีประโยชน์ต่อประเทศในการช่วยรักษาชีวิตผู้ป่วยโรคมะเร็งที่มีจำนวนมากในปัจจุบัน

 

เชื่อว่าศักยภาพและความเชี่ยวชาญด้านวิศวกรรม ตลอดจนความเชี่ยวชาญด้านการบริหารจัดการโครงการ จะสนับสนุนการก่อสร้างโรงงานให้สามารถแล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนด รวมถึงการร่วมมือกับองค์การเภสัชกรรมในการนำองค์ความรู้ ประสบการณ์ด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์และการตลาดที่ทั้งสององค์กรมีมาใช้ เพื่อให้โรงงานผลิตยารักษาโรคมะเร็งของไทยแห่งนี้เกิดการบริหารจัดการที่ดี มีประสิทธิภาพและช่วยลดต้นทุนการผลิต

 

ทำให้คนไทยได้ใช้ยาที่มีคุณภาพตามมาตรฐานสากล ในราคาที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ ถือเป็นตัวอย่างความร่วมมือของรัฐวิสาหกิจไทย ที่ร่วมกันเดินหน้าเพื่อพัฒนาประเทศไทย ตามแนวทาง “Restart Thailand


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"