กระตุ้นเศรษฐกิจปลายปี


เพิ่มเพื่อน    

 

           ประสบความสำเร็จอย่างงดงาม สำหรับการเปิดให้ร้านค้าเข้าลงทะเบียนในโครงการ ‘คนละครึ่ง’ โดยจากคำให้สัมภาษณ์ของนายลวรณ แสงสนิท อธิบดีกรมสรรพสามิต ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง ระบุว่า เมื่อ 4 ตุลาคม 2563 มีผู้ประกอบการร้านค้าลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการแล้วกว่า 170,000 ร้าน ซึ่งคาดว่ายอดลงทะเบียนจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยทางธนาคารกรุงไทยได้ส่งเจ้าหน้าที่ลงไปช่วยเหลือกลุ่มร้านค้าหาบเร่ แผงลอย หรือพ่อค้าแม่ค้าตามตลาดนัด

                สำหรับโครงการคนละครึ่งจะเป็นลักษณะการร่วมจ่าย (Co-pay) ระหว่างประชาชนที่เข้าร่วมโครงการและรัฐบาล โดยจะสนับสนุนค่าอาหาร เครื่องดื่ม และสินค้าทั่วไป ผู้ได้รับสิทธิ์ตามโครงการเป็นประชาชนสัญชาติไทยที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป แต่จะได้รับสิทธิ์ไม่เกิน 10 ล้านคน ภาครัฐจะสนับสนุนโดยร่วมจ่ายค่าอาหาร เครื่องดื่มและสินค้าทั่วไป ไม่รวมสลากกินแบ่ง เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ยาสูบและบริการต่างๆ ร้อยละ 50 ไม่เกิน 150 บาทต่อคนต่อวัน หรือไม่เกิน 3,000 บาทต่อคน ผ่าน g-wallet (“เป๋าตัง” สำหรับประชาชน และ “ถุงเงิน” สำหรับร้านค้า) โดยประชาชนจะเริ่มใช้จ่ายได้ ตั้งแต่วันที่ 23 ตุลาคม 2563-31 ธันวาคม 2563 เวลา 06.00-23.00 น

                การผลักดันโครงการคนละครึ่ง เป็นหนึ่งในมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้นของรัฐบาลที่ต้องการจะให้เกิดการใช้จ่ายเงินให้หมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจหลังจากเศรษฐกิจในไตรมาสสุดท้ายดูไร้แรงส่ง เพราะยังไม่สามารถเปิดรับการท่องเที่ยวได้

                และแว่วๆ ว่า ในช่วงไตรมาสสุดท้ายจะมีการปัดฝุ่นมาตรการช้อปช่วยชาติ และชิมช้อปใช้ ออกมาเป็นมาตรการเสริม จับกลุ่มคนมีเงินที่ยังไม่ควักเงินออกมา เพื่อให้เกิดการกระตุ้นการจับจ่ายช่วงปลายปี

                ซึ่งต้องยอมรับว่า ตัวเลขทางเศรษฐกิจของไทยในช่วงไตรมาสสุดท้ายยังไม่ดีนัก โดยศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ธนาคารทหารไทย (ทีเอ็มบี) ประเมินเศรษฐกิจในภาพรวมหลังจากคลายล็อกดาวน์ พบว่า การบริโภคภาคเอกชนมีสัญญาณแผ่วลง หรือกำลังซื้อของประชาชนยังคงอ่อนแออยู่ เนื่องจากคนไม่กล้าใช้จ่ายและขาดปัจจัยสนับสนุน รวมทั้งเศรษฐกิจชะลอตัวและแรงกดดันจากหนี้ครัวเรือนที่สูง

                ทั้งนี้ ทีเอ็มบีได้แนะภาครัฐให้ออกมาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายเป็นแพ็กเกจ เน้นกลุ่มที่รายได้ไม่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 เพื่อหนุนการบริโภคในภาพรวม

               จากข้อมูลผู้มีรายได้ในตลาดแรงงาน พบว่า มีกลุ่มที่รายได้ไม่ได้รับผลกระทบจากโควิดค่อนข้างจำกัด 15.5 ล้านคน หรือ 40% ของจำนวนคนในตลาดแรงงาน 38.2 ล้านคน ซึ่งเป็นกลุ่มมีอำนาจซื้ออยู่ในเกณฑ์ดี เช่น ข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ พนักงานบริษัทและธุรกิจเอกชน ไม่รวมกลุ่มธุรกิจท่องเที่ยวและบริการที่เกี่ยวข้อง ดังนั้นหากมีมาตรการเพิ่มเติมมาช่วยกระตุ้นในกลุ่มนี้ให้ใช้จ่ายมากขึ้น คาดว่าจะช่วยให้การบริโภคฟื้นตัวได้ต่อเนื่อง ซึ่งอาจเป็นในรูปแบบมาตรการที่นำค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงมาหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หรือเป็นเงินสดคืนให้เป็นร้อยละของยอดใช้จ่าย (แคชแบ็ก)

               ส่วนมาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายหลังคลายล็อกดาวน์ ได้แก่ มาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยว เช่น เที่ยวปันสุข-เราไปเที่ยวกัน-กำลังใจ ที่เชื่อมโยงไปกระตุ้นการใช้จ่ายด้วย และที่จะเปิดให้ลงทะเบียนในเดือน ต.ค.นี้คือ มาตรการคนละครึ่ง โดยรัฐจะจ่ายให้ 50% ของยอดใช้จ่ายไม่เกิน 3,000 บาท เป็นจำนวน 10 ล้านคน ประเมินว่าจะมีส่วนพยุงกำลังซื้อของคนในประเทศ ทำให้สินค้าที่จำเป็นในชีวิตประจำวันยังขยายตัวได้ อีกทั้งจะช่วยพยุงกิจการของผู้ประกอบการรายเล็ก

               สำหรับดัชนีการบริโภคหมวดสินค้าไม่คงทน สินค้ากึ่งคงทน และการใช้จ่ายในภาคบริการมีทิศทางปรับดีขึ้นเช่นกันในช่วงของมาตรการเยียวยาจ่ายเงิน 5,000 บาทต่อเดือน แต่เริ่มมีสัญญาณแผ่วลงในเดือน ส.ค. ซึ่งเป็นช่วงที่มาตรการจ่ายเงินเยียวยาสิ้นสุดลง ประกอบกับปัจจัยพิเศษวันหยุดยาวที่ดึงดูดการท่องเที่ยวไปแล้วในเดือนก่อนหน้า ขณะที่ยังมีปัจจัยกดดันจากสภาพตลาดแรงงานที่ยังเปราะบาง สะท้อนจากจำนวนผู้ขอรับสิทธิ์ในเดือน ส.ค.ที่ยังคงเพิ่มขึ้น โดยอยู่ที่ 4.4 แสนคน และความเชื่อมั่นต่อแนวโน้มการหารายได้ในอนาคตที่ยังอยู่ในระดับต่ำ.

ลลิตเทพ ทรัพย์เมือง


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"