ความดันโลหิตสูง เบอร์ 1 โรควัยเก๋า


เพิ่มเพื่อน    

    “ชราเฮโย” เป็นแอปพลิเคชันที่จะช่วยประเมินแนวโน้มสุขภาพของประชาชนในอนาคต ที่เป็นผลมาจากการใช้ชีวิตประจำวัน ไม่ว่าตอนนี้ใครจะห่างไกลจากวัยสูงอายุแค่ไหน มีวิถีชีวิตแบบใด เพียงตอบคำถามง่ายๆ จากพฤติกรรมของตัวเองแล้ว มาดูแนวโน้มกันว่าเมื่อเริ่มเข้าสู่วัยสูงอายุจะมีสุขภาพห่างไกลโรคภัยเพียงใด เพื่อที่ผู้นั้นจะสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้กลับมามีสุขภาวะที่ดีขึ้นก่อนจะสายเกินไปได้ 

    เมื่อไม่นานนี้ ที่ศูนย์การค้าสยามสแควร์ วัน สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.) จัดงานเปิดตัว “แอปพลิเคชันชราเฮโย” แอปพลิเคชั่นที่จะช่วยประเมินแนวโน้มสุขภาพในอนาคตที่เป็นผลมาจากการใช้ชีวิตประจำวัน 
    ดร.สุปรีดา อดุลยานนท์ ผู้จัดการกองทุน สสส. กล่าวว่า ประเทศไทยจะกลายเป็นสังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์ในอีกประมาณ 3 ปีข้างหน้า เมื่อสัดส่วนประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปสูงถึงร้อยละ 20 จำนวนประชากรสูงอายุที่จะเพิ่มสูงขึ้นอย่างมากในอนาคต เห็นได้ชัดเจนจากการที่ประชากรรุ่นที่เกิดเกินกว่าล้านคนต่อปี ระหว่างปี 2506-2526 (ขณะนี้มีอายุ 33-53 ปี) และอีก 20 ปีข้างหน้าจะกลายเป็นผู้สูงอายุ 53-73 ปี ทำให้สัดส่วนของประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปในประเทศไทยจะสูงถึงร้อยละ 30 ของประชากรทั้งหมด 

    ทั้งนี้ จากรายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ.2559 มีการสำรวจสุขภาพประชาชนโดยการตรวจร่างกายพบว่า โรคที่มักพบในผู้สูงอายุ ได้แก่ โรคความดันเลือดสูง เบาหวาน ข้ออักเสบ/ข้อเสื่อม โรคถุงลมโป่งพอง/หลอดลมปอดอุดกั้นเรื้อรัง หลอดเลือดหัวใจตีบ กล้ามเนื้อหัวใจตาย และอัมพาต โดยคาดการณ์ว่า มากกว่า 60% ของผู้สูงอายุวัยปลาย (อายุ 80 ปีขึ้นไป) เป็นโรคความดันเลือดสูง มากกว่า 10% ของผู้สูงอายุวัยปลายเป็นโรคเบาหวาน และ 35% ของผู้สูงอายุมีภาวะอ้วน

    ผู้จัดการกองทุน สสส.กล่าวต่อว่า สสส.สนับสนุนแผนงานสร้างและจัดการความรู้เพื่อรองรับสังคมสูงวัย โดยมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.) ดำเนินการศึกษาและพัฒนาองค์ความรู้และพัฒนาเป็นแอปพลิเคชัน “ชราเฮโย” เพื่อเตรียมความพร้อมด้านสุขภาพในกลุ่มวัยแรงงาน อายุ 21-59 ปี เนื่องจากวัยแรงงานถือเป็นประชากรกลุ่มสำคัญที่มีจำนวนมาก และจะต้องเข้าสู่วัยผู้สูงอายุในอนาคต ดังนั้น การสร้างความตระหนัก กระตุ้นให้เกิดการเตรียมความพร้อม สามารถพึ่งพาตนเองได้ มีการให้คำแนะนำส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพที่ดี เช่น การออกกำลังกาย การมีกิจกรรมทางสังคม แม้จะไม่เกี่ยวข้องกับการดูแลรักษาผู้สูงอายุโดยตรง แต่จะช่วยลดภาระในการดูแล และบริการสุขภาพแก่ผู้สูงอายุได้อย่างมาก

    ด้าน พญ.ลัดดา ดำริการเลิศ เลขาธิการมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.) กล่าวเพิ่มเติมถึงการการดูแลสุขภาพผ่านแอปพลิเคชัน “ชราเฮโย” ว่าเป็นเทคโนโลยีทันสมัยสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ง่าย มีเนื้อหาครอบคลุมพื้นฐานด้านสุขภาพทั้งกายและใจ โดยชี้ให้เห็นผลเสียที่จะเกิดขึ้นหากไม่เปลี่ยนพฤติกรรมด้านสุขภาพ ซึ่งถือเป็นจุดสำคัญนำไปสู่การสร้างเสริมสุขภาพที่เหมาะสม และเตรียมความพร้อมด้านสุขภาพเพื่อเป็นผู้สูงอายุที่มีสุขภาพดีในอนาคต  
    สำหรับภายในงานนี้มีการทดสอบสมรรถภาพกายเพื่อการออกกำลังกายที่เหมาะสม โดยคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี และกิจกรรมทดสอบการเป็นผู้สูงอายุ โดยคณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 

    เชื่อว่าแอปพลิเคชัน “ชราเฮโย” เทคโนโลยีสมัยใหม่ที่จะสามารถช่วยเหลือคนไทยให้มีสุขภาวะดีทั้งร่างกายและจิตใจ สอดคล้องกับประเทศไทยยุค 4.0 ทั้งนี้ ผู้สนใจสามารถดาว์นโหลดแอปพลิเคชัน “ชราเฮโย” ฟรีทั้งระบบแอนดรอยด์และ IOS หรือติดตามข้อมูลสุขภาพผู้สูงวัยได้ในกลุ่มไลน์ “ยังแจ่ม”.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"