มองสิ่งแวดล้อมเพื่ออนาคต


เพิ่มเพื่อน    

    

            สิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องที่มนุษย์โลกต้องให้ความสนใจเป็นอันดับต้นๆ เนื่องจากเราอยู่ร่วมกันมาตั้งแต่เริ่มแรก เป็นการพึ่งพากันและกัน และเมื่อสิ่งแวดล้อมโดนทำลาย ผลกระทบก็จะมาสู่มนุษย์วนเวียนเป็นวัฐจักร ซึ่งการพัฒนาเทคโนโลยีหรือสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ขึ้นมาในปัจจุบันจึงต้องนำปัจจัยดังกล่าวมาเป็นสิ่งอ้างอิงอันดับต้นๆ

                จะเห็นได้ว่า เครื่องมือหรืออุปกรณ์ต่างๆ ที่เอื้อต่อการอุปโภคและบริโภคของมนุษย์ จะมีกระบวนการที่เน้นในการรักษาดูแลสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก เพราะมนุษย์ในปัจจุบันให้ความสนใจในส่วนนี้เป็นอย่างมาก การทำงานของภาคอุตสาหกรรมจึงต้องมีการปรับเปลี่ยนจากเดิม และกระแสในการงดใช้วัสดุที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม ก็มีสัดส่วนที่ลดลง

                โดยเฉพาะที่ผ่านมาเห็นได้ชัดว่าประเทศไทยมีการตื่นตัวต่อเรื่องนี้ แม้ว่าการงดใช้ถุงพลาสติกอาจจะไม่ได้ตอบโจทย์ 100% กับการส่งเสริมให้สิ่งแวดล้อมมีสภาพที่ดีขึ้น แต่ก็เป็นหนทางเล็กๆ ที่จะนำไปสู่การร่วมมือกันในภาคใหญ่ และได้ความร่วมมือจากทุกหน่วยงานในประเทศ ไม่ว่าจะเป็นฝั่งเอกชนรัฐบาลหรือชุมชนที่เห็นความสำคัญกับเรื่องนี้

                รวมถึงสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ที่หักมองจากเนื้องานแล้ว อาจจะไม่ได้เกี่ยวข้องโดยตรงกับการรักษาดูแลสิ่งแวดล้อม แต่ก็เป็นด่านปราการแรกที่จะกำหนดช่องทางให้เป็นแนวทางเดียวกันได้โดยอาศัยอำนาจในการกำหนดมาตรฐานการผลิต ในฐานะสถาบันมาตรฐานแห่งชาติ เป็นผู้แทนประเทศไทยในการเป็นสมาชิกองค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน (ไอเอสโอ) และคณะกรรมาธิการระหว่างประเทศว่าด้วยมาตรฐานสาขาอิเล็กทรอเทคนิกส์ (ไออีซี) มีบทบาทสำคัญในการมีส่วนร่วมกำหนดมาตรฐานระหว่างประเทศ เพื่อรักษาผลประโยชน์ให้แก่ประเทศไทยเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคและอำนวยความสะดวกในทางการค้าและบริการของประเทศ

                และเนื่องในวันที่ 14 ต.ค.ของทุกปี ไอเอสโอ, ไออีซีและสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ไอทียู) กำหนดให้เป็น “วันมาตรฐานโลก” ซึ่งในปีนี้กำหนดหัวข้อการรณรงค์ให้กับทุกประเทศทั่วโลกคือมาตรฐานช่วยปกป้องคุ้มครองโลก โดยใช้เป็นเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากกระบวนการผลิตทางอุตสาหกรรมและสนับสนุนการนำทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดกลับมาใช้ใหม่ ตลอดจนใช้พลังงานอย่างคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพ เพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและปกป้องคุ้มครองโลก

                สมอ.จึงได้เกิดไอเดียใหม่ จะใช้ช่องทางในส่วนนี้ตอบรับกับความต้องการที่เป็นสากลโลก ได้ร่วมรณรงค์เนื่องในโอกาสวันมาตรฐานโลกมาอย่างต่อเนื่องพร้อมกับมวลสมาชิกกว่า 160 ประเทศทั่วโลกในปีนี้ก็เช่นเดียวกัน และพิเศษกว่าทุกปีที่ผ่านมา คือ สมอ.ได้ร่วมกับ บริษัท พีทีที โกลบอลเคมิคอล จำกัด (มหาชน) และเอสซีจี รณรงค์ให้ทุกภาคส่วนทั้งภาคธุรกิจ ภาครัฐและวิสาหกิจ ตลอดจนสถาบันการศึกษา นำมาตรฐานเศรษฐกิจหมุนเวียน (เซอร์คูลาร์ อีโคโนมี) ไปประยุกต์ใช้ในองค์กรเพื่อจัดการทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุดตั้งแต่การผลิตการใช้งาน และการนำกลับเข้าสู่กระบวนการผลิตเป็นวัตถุดิบใหม่

                รวมถึงการออกแบบการดำเนินงานของธุรกิจ และการออกแบบสินค้าหรือบริการ เพื่อสร้างประโยชน์ให้แก่องค์กรทั้งทางตรงและทางอ้อม นอกจากนี้ยังสร้างความพึงพอใจให้ผู้บริโภคเพราะสินค้าหรือบริการที่ได้จะมีต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่าการผลิตในรูปแบบเดิม ทำให้ผู้บริโภคสามารถซื้อสินค้าหรือบริการที่มีราคาต่ำ ในขณะที่คุณภาพและประสิทธิภาพการใช้งานยังเหมือนเดิม โดย สมอ.มีแผนจะดำเนินการในเร็วๆ นี้ ในทุกภูมิภาคทั่วประเทศ

                นายวันชัย พนมชัย เลขาธิการ สมอ. กล่าวว่า การดำเนินการดังกล่าวของ สมอ. สอดคล้องตามนโยบายกระทรวงอุตสาหกรรม และนโยบายรัฐบาลด้าน BCG (Bio Circular Green) ในด้านการสร้างคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมซึ่งกระทรวงอุตสาหกรรมได้ผลักดันให้ทุกหน่วยงานเร่งดำเนินการขับเคลื่อน สมอ. จึงได้จัดกิจกรรมดังกล่าว

                เห็นได้ว่า แม้ สมอ.จะไม่ใช่หน่วยงานหลักที่จะเข้ามาดูแลในเรื่องการรักษาสิ่งแวดล้อม แต่ก็ยังมีแนวทางที่จะสนับสนุนได้ ด้วยเหตุนี้จึงอยากให้กลุ่มที่มีความสัมพันธ์โดยตรง มองเห็นและพยายามแก้ไขอย่างเต็มที่ ไม่ใช่เพื่อเพียงตัวเอง แต่เพื่ออนาคตของโลกที่ดีในอนาคตด้วย.

 

ณัฐวัฒน์ หาญกล้า


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"