ปรับบทบาทหน่วยงานการเงิน


เพิ่มเพื่อน    

 

 

 

            ในตอนนี้งานด้านไฟแนนซ์-บัญชีของบริษัทไทยต้องปรับบทบาทจากการเป็นหน่วยงานหลังบ้านสู่การเป็นพันธมิตรทางธุรกิจมากขึ้น เพราะจะเป็นฝ่ายงานสำคัญที่ช่วยให้องค์กรสามารถนำข้อมูลเชิงลึกที่ได้จากการวิเคราะห์มาประเมินผลเพื่อการตัดสินใจ และคาดการณ์ผลการดำเนินงานขององค์กรในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ ขณะเดียวกันยังคาดการณ์กันอีกว่าแนวโน้มทั่วโลกเห็นหน่วยงานภายในปรับบทบาทสู่การเป็นพันธมิตรทางธุรกิจมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในอีก 3-5 ปีข้างหน้า

                จากประเด็นดังกล่าว นายคริส สุรเดชวิบูลย์ หุ้นส่วนสายงานที่ปรึกษา PwC ประเทศไทย ได้ให้ความเห็นว่า การคาดหวังต่อฝ่ายการเงินและฝ่ายบัญชีขององค์กรต่างๆ ทั่วโลกนั้นเปลี่ยนไป โดยบทบาทและหน้าที่ของทั้ง 2 หน่วยงานได้ถูกปรับเปลี่ยนจากรูปแบบเดิม และกลายมาเป็นพันธมิตรทางธุรกิจที่เน้นในเรื่องของการช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มที่วัดผลได้ให้กับองค์กรในระยะยาวมากขึ้น โดยหน่วยงานด้านไฟแนนซ์และบัญชีขององค์กรขนาดใหญ่ของไทยส่วนใหญ่ยังคงมุ่งเน้นไปที่การทำหน้าที่ในการประมวลผลธุรกรรม มากกว่าการเป็นพันธมิตรทางธุรกิจ ที่จะเข้ามาช่วยในการประเมินผลและคาดการณ์ผลการดำเนินงานในอนาคตอีกด้วย

                ทั้งนี้ ปัจจุบันองค์กรขนาดใหญ่ของไทยได้ให้ความสำคัญกับแนวคิดพันธมิตรทางธุรกิจ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้กับฝ่ายการเงินและฝ่ายบัญชีของตนมากขึ้น แต่ความท้าทายยังอยู่ที่การวางกลยุทธ์ที่จะช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มที่วัดผลได้ในระยะยาว รวมถึงการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลที่จะช่วยบริหารจัดการต้นทุนและส่งมอบข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อองค์กรได้อย่างแท้จริง

                นายคริสกล่าวเสริมอีกว่า ในขณะที่ธุรกิจกำลังก้าวเข้าสู่โลกการเงินสมัยใหม่ด้วยวิสัยทัศน์ที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีมากขึ้น มองว่ามีความสำคัญอย่างมากที่องค์กรจะต้องมีกลยุทธ์ที่ชัดเจนในการเปลี่ยนผ่านหน่วยงานด้านไฟแนนซ์และบัญชีไปสู่การเป็นพันธมิตรทางธุรกิจ เพื่อสร้างผลตอบแทนจากการลงทุนในเชิงบวก และมูลค่าเพิ่มที่จับต้องได้ให้กับองค์กรในระยะยาวนั่นเอง

                จากปัจจัยดังกล่าวนับว่าสอดคล้องกับผลสำรวจ Finance Insights - Reimagined ของ PwC ที่ได้จัดทำร่วมกับ The Association of Chartered Certified Accountants (ACCA) พบว่า มีเพียง 37% ของผู้ถูกสำรวจ จากจำนวนผู้ถูกสำรวจทั้งสิ้นกว่า 3,500 คนทั่วโลกที่ปัจจุบันมีการนำแนวคิดพันธมิตรทางธุรกิจมาผนวกเข้ากับกลยุทธ์และกระบวนการตัดสินใจขององค์กร และแม้ว่า 78% ของผู้ถูกสำรวจระบุว่าความสำคัญของบทบาทการเป็นพันธมิตรทางธุรกิจจะยิ่งเพิ่มขึ้นอย่างมากในอีก 3-5 ปีข้างหน้า โดยการใช้ข้อมูลเชิงลึกทางการเงิน จะกลายเป็นช่องทางหลักในการประเมินผลการดำเนินงานขององค์กรว่า สามารถดำเนินงานได้ตามวัตถุประสงค์หรือไม่ และทำให้ทราบว่าปัจจัยหรือตัวแปรใดที่เป็นอุปสรรคต่อเป้าหมายในการทำธุรกิจขององค์กร 

                เป็นที่ทราบดีว่าหน้าที่หลักของฝ่ายการเงินและบัญชีเกี่ยวข้องกับการจัดทำจดบันทึก กำกับดูแล และนำเสนอการวางแผนการดำเนินงานทางการเงินและการบัญชีอย่างเป็นระบบ เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจทางธุรกิจแก่ผู้บริหาร โดยเดิมทีจะใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการประมวลผลธุรกรรม แต่ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีดิจิทัลและระบบอัตโนมัติ ส่งผลให้บุคลากรของทั้ง 2 ฝ่ายงานสามารถประหยัดเวลาจากการทำงานที่ทำซ้ำๆ และสามารถหันมาวิเคราะห์และนำข้อมูลที่ได้มีการประมวลผลโดยระบบอัตโนมัติมาใช้ได้ทันที เช่นเดียวกับทักษะของบุคลากรที่ต้องมีการพัฒนาและได้รับการฝึกอบรมอย่างต่อเนื่อง ควบคู่ไปกับการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีใหม่ โดยพนักงานของทั้ง 2 ฝ่ายงานต้องมีทักษะที่หลากหลายกว่าเดิม และต้องมีกระบวนการทางความคิดที่มีความเข้าใจในโลกธุรกิจเป็นอย่างดีด้วย

                การที่องค์กรไทยจะปรับเปลี่ยนบทบาทของหน่วยงานภายใน เช่น ฝ่ายการเงิน ไปสู่การเป็นพันธมิตรทางธุรกิจได้นั้น จำเป็นจะต้องมีการวางแผนและประเมินรูปแบบการดำเนินงานทั้งหมดของฟังก์ชันอย่างรอบคอบ รวมทั้งมีการกำหนดกลยุทธ์ทางการเงิน กระบวนการทางด้านเทคโนโลยี ตัวชี้วัดประสิทธิภาพ และรูปแบบการกำกับดูแล รวมไปถึงการพัฒนาคู่มือการเป็นพันธมิตรทางธุรกิจที่มีโครงสร้างและรูปแบบการดำเนินงานที่ชัดเจน เพื่อให้ผู้ใต้บังคับบัญชาสามารถนำไปใช้งานได้จริงและเกิดประสิทธิผลสูงสุด.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"