ปลุกผี4คดี'ทักษิณ'พ่วงจีทูเจี๊ยะ


เพิ่มเพื่อน    

   ศาลฎีกาเอาจริง! รื้อคดีจำเลยหนีศาลล็อตใหญ่ วางปฏิทินตั้งแต่ มิ.ย.-ก.ค. “หมอโด่ง” รับระเบิดลูกแรก 19 มิ.ย. นัดพิจารณานัดแรก หลังจาก “บุญทรง-ภูมิ” นอนคุกกันอ่วมอรทัยแล้ว “ทักษิณ” ไม่น้อย ถูกปลุกผี 4 คดีที่ถูกจำหน่ายออกจากสารบบรวด ทั้งคดี “ปล่อยกู้กรุงไทย-เอ็กซิมแบงก์-แปลงสัมปทาน-หวยบนดิน”
เมื่อวันอาทิตย์ที่ 29 เมษายน มีความต่อเนื่องจากพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ.2560 ที่มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 29 ก.ย.2560 ในประเด็นการพิจารณาคดีลับหลังจำเลย ซึ่งศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้ออกบัญชีนัดความปี 2561 ออกมาแล้ว โดยได้มีการรื้อคดีที่จำหน่ายออกจากสารบบความไว้กลับมาใหม่จำนวนมาก
 โดยในบัญชีนัดความปี 2561 ของศาลฎีกาที่กำหนดนัดความตั้งแต่วันที่ 27 เม.ย.-9 ส.ค. จำนวน 99 คดีนั้น มีคดีความที่ถูกจำหน่ายคดีไว้ก่อน เนื่องจากจำเลยคดีได้หนีออกนอกประเทศ ที่น่าสนใจทั้งสิ้น  5 คดี ประกอบด้วย คดีที่ 64 ซึ่งศาลฎีกานัดในวันที่ 19 มิ.ย.เวลา 09.30 น. คดีดำที่ อม.282/2560 ซึ่งอัยการสูงสุด (อสส.) เป็นโจทก์ฟ้อง พ.ต.นพ.วีระวุฒิ วัจนะพุกกะ หรือหมอโด่ง อดีตเลขานุการนายบุญทรง เตริยาภิรมย์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ โดยขอให้ทรัพย์สินที่เพิ่มขึ้นผิดปกติตกเป็นของแผ่นดินจากคดีระบายข้าวแบบรัฐต่อรัฐ (จีทูจี) ซึ่งนัดพิจารณาครั้งแรก 
ทั้งนี้ คดีดังกล่าวคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ได้ชี้มูลว่า พ.ต.นพ.วีระวุฒิร่ำรวยผิดปกติทั้งสิ้น 896,554,760.28 บาท แยกเป็นเงินฝากธนาคารพาณิชย์ในชื่อ พ.ต.นพ.วีระวุฒิ และอดีตคู่สมรส บุตร เครือญาติและผู้ใกล้ชิด 53 บัญชี เป็นเงิน 567,715,461.37 บาท, เงินลงทุนในชื่อ พ.ต.นพ.วีระวุฒิ และอดีตคู่สมรส บุตร เครือญาติและผู้ใกล้ชิด 6 แห่งมูลค่า 260,142,651 บาท, ที่ดินในชื่ออดีตคู่สมรส บุตร เครือญาติ 12 แปลง ในท้องที่กรุงเทพมหานคร (กทม.) มูลค่า 57,066,828 บาท, 4 ห้องชุดในชื่อเครือญาติ ศาลาแดง โคโลเนต ต.สีลม อ.บางรัก กทม. 1 ห้อง มูลค่า 6,200,000 บาท และรถยนต์ 4 คันในชื่อเครือญาติผู้ใกล้ชิด มูลค่า 6,309,000 บาท ซึ่งก่อนหน้านี้ได้มีคำสั่งอายัดทรัพย์สินไปแล้ว วงเงิน 99,203,133.17 บาท
“หมอโด่ง”ลุ้นระทึก
สำหรับคดีจีทูจีนั้น อสส.ได้เป็นโจทก์ยื่นฟ้องเมื่อวันที่ 17 มี.ค.2558 แต่ในการพิจารณาคดีครั้งแรก นพ.วีระวุฒิได้หลบหนีคดีไป ซึ่งมีกระแสข่าวว่าหลบไปยังประเทศกัมพูชา ทำให้ศาลจำหน่ายคดีไว้ช่วยคราว และในวันที่ 25 ส.ค.2560 ศาลฎีกาก็ได้อ่านคำพิพากษา โดยจำคุกนายภูมิ สาระผล อดีต รมช.พาณิชย์ จำเลยที่ 1 จำนวน 36 ปี, นายบุญทรง จำเลยที่ 2 จำนวน 42 ปี, นายมนัส สร้อยพลอย อดีตอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ จำเลยที่ 4 จำนวน 40 ปี และนายฑิฆัมพร นาทวรทัต อดีตผู้อำนวยการสำนักบริหารการค้าข้าว จำเลยที่ 5 จำคุก 32 ปี โดย พ.ต.นพ.วีระวุฒิ จำเลยที่ 3 ศาลฎีกาได้จำหน่ายคดีไว้ก่อน
ส่วนอีก 4 คดีที่เหลือนั้น เป็นคดีของนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่ถูกจำหน่ายคดีไว้ก่อนทั้งสิ้น ประกอบด้วย คดีที่ 68 โดยศาลฎีกานัดความในวันที่ 20 มิ.ย. เวลา 13.30 น. คดีดำที่ อม.3/2555 และคดีแดงที่ อม.55/2558 ซึ่ง อสส.เป็นโจทก์ฟ้องนายทักษิณที่ 1 กับพวกรวม 27 คน ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการกรณีการปล่อยกู้ของธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ให้แก่บริษัทในเครือกฤษดามหานคร โดยนัดพิจารณาครั้งแรก 
ทั้งนี้ คดีดังกล่าว อสส.เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง พ.ต.ท. ทักษิณ และพวกรวม 27 คน ตั้งแต่วันที่ 13 มิ.ย. 2555 และศาลฎีกาได้อ่านคำพิพากษาดังกล่าวเมื่อวันที่ 26 ส.ค.2558 โดยศาลพิพากษาให้จำคุก ร.ท.สุชาย เชาว์วิศิษฐ อดีตประธานกรรมการบริหารธนาคารกรุงไทย จำเลยที่ 2, นายวิโรจน์ นวลแข อดีตกรรมการผู้จัดการธนาคารกรุงไทย จำเลยที่ 3, นายมัฌชิมา กุญชร ณ อยุธยา กรรมการธนาคารกรุงไทย จำเลยที่ 4 และนายไพโรจน์ รัตนะโสภา จำเลยที่ 12 จำคุกคนละ 18 ปี ฯลฯ นอกจากนี้ ศาลยังพิพากษาให้จำเลยแต่ละรายร่วมรับผิดชอบความเสียหายไว้ด้วย โดยศาลฎีกาได้จำหน่ายคดีนายทักษิณไว้ชั่วคราว และได้สั่งให้ออกหมายจับไว้
คดีที่สองของนายทักษิณนั้นคือคดีที่ 92 โดยศาลฎีกานัดวันที่ 4 ก.ค. เวลา 09.30 น. คดีดำที่ อม.3/2551 และคดีแดงที่ อม.4/2551 ที่มีคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) โดย ป.ป.ช.เข้าเป็นคู่ความแทนเป็นโจทก์ฟ้อง พ.ต.ท.ทักษิณ (ยศในขณะนั้น) ในความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ กรณีการปล่อยกู้ของธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (เอ็กซิมแบงก์) โดยนัดพิจารณาครั้งแรก
ทั้งนี้ คดีดังกล่าว เมื่อวันที่ 30 ก.ค.2551 ศาลฎีกาได้ประทับรับฟ้องคดีที่ คตส.ฟ้อง พ.ต.ท.ทักษิณเป็นจำเลย ในความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่จัดการหรือดูแลกิจการใด เข้ามีส่วนได้เสียเพื่อประโยชน์สำหรับตัวเองหรือผู้อื่น เนื่องด้วยกิจการนั้นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 152 และฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยสุจริต ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ที่เห็นชอบให้เอ็กซิมแบงก์อนุมัติปล่อยกู้ดอกเบี้ยต่ำให้รัฐบาลเมียนมา วงเงิน 4,000 ล้านบาท โดยคิดอัตราดอกเบี้ยในอัตรา 3% ต่อปี ซึ่งต่ำกว่าราคาต้นทุนของเอ็กซิมแบงก์ โดยรัฐบาลต้องตั้งงบประมาณชดเชยผลขาดทุนให้แก่เอ็กซิมแบงก์ในระยะเวลา 12 ปี เป็นเงินรวมทั้งสิ้น 670,436,201.25 บาท ในโครงการพัฒนาระบบโทรคมนาคมของเมียนมา เพื่อหวังประโยชน์ในธุรกิจดาวเทียมที่มีการสั่งซื้ออุปกรณ์จากบริษัท ชินแซทเทอร์ไลท์ บริษัทในเครือชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ของตระกูลชินวัตร
“แม้ว” กระอักสารพัดคดี
และเมื่อวันที่ 16 ก.ย.2551 ศาลฎีกาได้ออกนั่งบัลลังก์เพื่อพิจารณาคดีนัดแรก แต่ พ.ต.ท.ทักษิณไม่มา ศาลเชื่อว่ามีเจตนาหลบหนี จึงให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความชั่วคราว และให้ออกหมายจับอีกคดี
คดีที่สาม ศาลฎีกานัดความในวันที่ 10 ก.ค. เวลา 09.30 น. คดีดำที่ อม.9/2551 และคดีแดงที่ อม.5/2551 ซึ่ง อสส.เป็นโจทก์ฟ้อง พ.ต.ท.ทักษิณ ในความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการกรณีการแปลงสัญญาสัมปทาน โดยนัดตรวจพยานหลักฐาน ทั้งนี้เมื่อวันที่ 21 พ.ย.2560 อสส.ได้ยื่นคำร้องให้รื้อคดีดังกล่าว หลังจาก อสส.ได้ยื่นฟ้องเมื่อวันที่ 11 ก.ค.2551 และเมื่อศาลนั่งบัลลังก์ครั้งแรก พ.ต.ท.ทักษิณก็ไม่มาตามนัด ศาลจึงได้ออกหมายจับเมื่อวันที่ 15 ต.ค. 2551 
และเมื่อวันที่ 6 มี.ค.2561 ศาลฎีกาได้ออกนั่งบัลลังก์พิจารณาคดีครั้งแรก ซึ่ง อสส.ได้ฟ้องนายทักษิณในความผิดฐานเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ เป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทที่รับสัมปทาน หรือเข้าเป็นคู่สัญญาในลักษณะดังกล่าว, เป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่จัดการหรือดูแลกิจการใดเข้าไปมีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อประโยชน์สำหรับตัวเอง หรือผู้อื่น, เป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 152, 157 และ พ.ร.บ.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 มาตรา 4 ,100, 122 กรณีแปลงค่าสัมปทานกิจการโทรคมนาคมเป็นภาษีสรรพสามิต ด้วยการตราพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.พิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต (พ.ศ.2527) 2546 เอื้อประโยชน์ธุรกิจบริษัท ชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ทำให้รัฐเสียหาย 6.6 หมื่นล้านบาท เมื่อปี 2551
และคดีสุดท้ายในวันที่ 25 ก.ค. เวลา 13.30 น. คดีดำที่ อม.1/2551 และคดีแดงที่ อม.10/2552 ซึ่ง คตส. โดย ป.ป.ช. เป็นคู่ความแทนเป็นโจทก์ฟ้อง พ.ต.ท.ทักษิณที่ 1 กับพวก รวม 47 คน ในความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการกรณีหวยบนดิน 2 ตัว 3 ตัว ซึ่งนัดพิจารณาครั้งแรก โดยคดีนี้เมื่อครั้งยังไม่มี พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง 2560 ศาลได้จำหน่ายกรณีนายทักษิณไว้ โดยได้ออกหมายจับเมื่อวันที่ 26 ก.ย.2551 
ขณะเดียวกัน เมื่อวันที่ 30 ก.ย.2552 ศาลฎีกาได้อ่านคำพิพากษาคดีดังกล่าวว่า จำเลยที่ 10 นายวราเทพ รัตนากร อดีต รมช.การคลัง และจำเลยที่ 31 นายสมใจนึก เองตระกูล อดีตปลัดกระทรวงการคลัง มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157, 83, จำคุกจำเลยที่ 10 มีกำหนด 2 ปี และปรับ 20,000 บาท จำคุกจำเลยที่ 31 มีกำหนด 2 ปี และปรับ 10,000 บาท จำเลยที่ 42 นายชัยวัฒน์ พสกภักดี อดีตผู้อำนวยการสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลจำคุก 2 ปี และปรับ 10,000 บาท ซึ่งจำเลยไม่เคยกระทำความผิดมาก่อน ประกอบกับพิเคราะห์พฤติการณ์แห่งคดีแล้ว เห็นสมควรให้รอการลงโทษจำคุกจำเลยที่ 10 จำเลยที่ 31 และจำเลยที่ 42 ไว้มีกำหนดคนละ 2 ปี.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"