กระจ่าง!'นิพิฏฐ์ 'ไขข้อกฎหมาย พระมหากษัตริย์มิได้ทรงรับรองการยึดอำนาจ


เพิ่มเพื่อน    

22 ต.ค.63-นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า พระมหากษัตริย์มิได้ทรงรับรองการยึดอำนาจ

มีผู้เข้าใจผิดเยอะว่า เวลามีการยึดอำนาจแล้ว ทำไมพระมหากษัตริย์ต้องรับรองการยึดอำนาจด้วย บางคนกล่าวไปไกลถึงว่า พระมหากษัตริย์ "เซ็นต์รับรอง" ผมขอคลายความสงสัยนี้ ด้วยการอธิบายเป็นภาษาชาวบ้าน เรื่องนี้อาจเข้าใจยากหน่อยเพราะเป็นการอธิบายหลักรัฐศาสตร์ และ หลักนิติศาสตร์ ไปในคราวเดียวกัน

อำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ เรียกว่าอำนาจ"รัฏฐาธิปัตย์ " นั้น ในประเทศไทยก่อนปี 2475 อำนาจสูงสุดนี้อยู่ที่พระมหากษัตริย์ แต่อำนาจนี้หมดไปในวันที่ 24 มิถุนายน 2475 เมื่อได้มีการยึดอำนาจนี้จากพระมหากษัตริย์ ถามว่า ตอนนั้น เมื่อยึดอำนาจเสร็จแล้วพระมหากษัตริย์ทรงรับรองการยึดอำนาจหรือเปล่า ? ก็เปล่า ไม่ทรงต้องรับรองอะไร เพราะอำนาจนั้นหลุดจากมือของพระมหากษัตริย์ ไปอยู่ในมือของคณะราษฎรแล้ว จะไปรับรองอะไรได้อีก ผลจากการยึดอำนาจก็มีหลักเพิ่มขึ้นใหม่ ว่า ต่อไปนี้พระมหากษัตริย์จะทำอะไรต้องมีผู้รับสนองพระบรมราชโองการ และผู้ที่เสนอเรื่องให้พระองค์ลงพระปรมาภิไธย ต้องรับผิดชอบในเรื่องที่ตนเสนอ ตามหลักที่เรียกว่า" The King Can Do No Wrong"(พระมหากษัตริย์ไม่ทรงกระทำผิด) หมายความว่า ผู้เสนอเรื่องและรับสนองฯต้องรับผิดในเรื่องที่ตนเสนอไป ดังนั้น การยึดอำนาจ"หลังจากปี 2475 " ย้ำว่า หลังปี 2475 จึงเป็นการยึดอำนาจไปจากรัฐบาลที่ปกครองอยู่ มิใช่ยึดอำนาจไปจากพระมหากษัตริย์ เพราะพระมหากษัตริย์ถูกยึดอำนาจไปก่อนนั้นแล้ว คำสั่งของผู้ยึดอำนาจจึงกลายเป็นกฎหมายทันทีโดยไม่ต้องผ่านสภา พระมหากษัตริย์ก็อยู่ใต้อำนาจนั้นเช่นเดียวกัน หากพระมหากษัตริย์ไม่ลงพระปรมาภิไธย ผู้ยึดอำนาจก็ต้องล้มล้างสถาบันกษัตริย์ไปเลย เพราะถือว่า ไม่มีพระมหากษัตริย์ หรือ ประมุขแล้ว จึงเห็นว่า การยึดอำนาจหลัง 2475 พระมหากษัตริย์ในฐานะประมุขไม่มีทางเลือกใด นอกจากต้องลงพระปรมาภิไธย ตามหลักพระมหากษัตริย์ทรงอยู่ใต้กฎหมายและรัฐธรรมนูญ

เมื่อมีการยึดอำนาจในปี 2475 และพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 7 ทรงสละราชสมบัติ ผู้ยึดอำนาจ มีทาง เลือก 2 ทาง คือ

1.ไม่ให้ประเทศนี้มีพระมหากษัตริย์อีกต่อไป หรือ

2.หาพระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่

ผู้ยึดอำนาจคงเห็นว่า ประเทศนี้ไม่มีพระมหากษัตริย์คงไม่ได้ วุ่นวายแน่ จึงต้องหาพระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่มาครองราชย์ต่อ เราจึงเห็นความโกลาหนนี้เกิดขึ้นทันทีหลัง ร.7 สละราชสมบัติ คณะราษฎร พยายามทุกวินาทีก็ว่าได้ที่ต้องหาพระมหากษัตริย์พระองค์ใหม่มาครองราชย์ให้ได้

ผมกล่าวโดยสรุป หลัง 2475 พระมหากษัตริย์ มิได้มีอำนาจปกครอง(ทางรัฐศาสตร์)และมิได้มีอำนาจทางกฎหมาย(ทางนิติศาสตร์) อีกต่อไปแล้ว การยึดอำนาจหลัง 2475 จึงมิใช่การยึดอำนาจจากพระมหากษัตริย์(เพราะมิได้มีอะไรให้ยึดแล้ว) แต่เป็นการยึดอำนาจจากรัฐบาลที่ครองอำนาจอยู่ การลงพระปรมาภิไธยหลังจากการยึดอำนาจ(ที่บางคนเรียกว่าเซ็นต์) จึงเป็นการลงเพราะพระองค์ยังคงเป็นพระประมุขแห่งรัฐ และทรงอยู่ใต้กฎหมาย ตามหลัก The King Can Do No Wrong เท่านั้นเอง.

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"