ไทยเข้าสู่ฤดูหนาวแล้ว น้ำท่วมกลายเป็นน้ำเน่า


เพิ่มเพื่อน    


    ประเทศไทยเข้าสู่ฤดูหนาวแล้ว อุตุฯ เตือน 7 จังหวัดอากาศเย็นจัด ส่วน กทม.ต้องรอปลายธันวา.ถึงต้นมกรา. ด้านสถานการณ์น้ำท่วมในโคราช ชาวบ้านสองฝั่งแม่น้ำมูลเดือดร้อนหนัก ระดับน้ำสูง 1 เมตร แถมเน่าเสียเพราะขังนาน
    กรมอุตุนิยมวิทยาออกประกาศเรื่อง การเริ่มต้นฤดูหนาวอย่างเป็นทางการ พ.ศ.2563 ระบุว่า ประเทศไทยได้เริ่มเข้าสู่ฤดูหนาวแล้วตั้งแต่วันที่ 22 ตุลาคม 2563 โดยลมที่พัดปกคลุมบริเวณประเทศไทยที่ระดับความสูง 100 เมตร ถึงความสูง 3,500 เมตร ได้เปลี่ยนเป็นลมตะวันออกเฉียงเหนือหรือลมตะวันออก ส่วนลมระดับบนที่ความสูงตั้งแต่ 5,000 เมตรขึ้นไป ได้เปลี่ยนเป็นลมฝ่ายตะวันตก ประกอบกับอุณหภูมิต่ำสุดในช่วงเช้าบริเวณประเทศไทยตอนบนลดลงอยู่ในเกณฑ์อากาศเย็นเกือบทั่วไปแล้ว อย่างไรก็ตาม ในช่วงเริ่มต้นของฤดูหนาวในปีนี้ ลักษณะอากาศบริเวณประเทศไทยตอนบนยังคงแปรปรวน โดยจะมีฝนตกในบางช่วง แต่ปริมาณไม่มากนัก ส่วนบริเวณภาคใต้ยังคงมีฝนตกชุกหนาแน่นต่อไป
    ทั้งนี้ คาดว่าประเทศไทยตอนบนอุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ยตลอดฤดูหนาวปีนี้อยู่ที่ 21 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอย ยอดภู และเทือกเขา จะมีอากาศหนาวจัดและมีน้ำค้างแข็งเกิดขึ้นบ่อยครั้ง โดยจังหวัดที่มีอากาศหนาวที่สุด ได้แก่ น่าน พะเยา เชียงราย แม่ฮ่องสอน สกลนคร นครพนม และเลย โดยเกณฑ์อุณหภูมิต่ำสุดในช่วงฤดูหนาวแบ่งเป็น อากาศเย็น อยู่ที่ 16.0-22.9 องศาเซลเซียส อากาศหนาว อยู่ที่ 8.0-15.9 องศาเซลเซียส และอากาศหนาวจัด ต่ำกว่า 8.0 องศาเซลเซียส
    ขณะเดียวกัน กรมอุตุนิยมวิทยาออกประกาศเรื่องพายุโซนร้อนกำลังแรง "โซเดล" (พายุระดับ 4) บริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลาง มีศูนย์กลางอยู่ที่ละติจูด 16.4 องศาเหนือ ลองจิจูด 116.2 องศาตะวันออก มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง กำลังเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตกอย่างช้าๆ คาดว่าจะเคลื่อนเข้าใกล้ชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนบนในช่วงวันที่ 25-26 ต.ค.63 หลังจากนั้นจะอ่อนกำลังลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลทำให้ด้านตะวันออกและตอนล่างของภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีฝนบางแห่งกับมีลมแรง
    นางสาวกรรวี สิทธิชีวภาค รองอธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา ฝ่ายปฏิบัติการ รักษาราชการแทนอธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา กล่าวว่า ฤดูหนาวปีนี้ ช่วงต้นฤดูอุณหภูมิแต่ละพื้นที่จะลดลงไล่เลี่ยกัน เริ่มจากภาคอีสาน เหนือ กลาง และตะวันออก ซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัยในแต่ละช่วงด้วย อย่างไรก็ตาม คาดว่าฤดูหนาวปีนี้บริเวณตอนบนของประเทศ ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จะมีอุณหภูมิต่ำสุดเป็นเลขตัวเดียว ซึ่งเป็นปกติของทุกปี แต่จะหนาวมากหรือน้อยต้องดูมวลอากาศเย็น และข้อมูลในระยะสั้นประกอบ ส่วน กทม. อากาศเย็นจะเริ่มช่วงครึ่งหลังของเดือนธันวาคมถึงมกราคม
    ในส่วนของพายุโซเดล น.ส.กรรวีคาดว่าจะอ่อนกำลังลงในประเทศเวียดนาม และสลายตัวก่อนที่จะเข้าประเทศไทย ซึ่งอาจทำให้ไทยมีเมฆมากและมีฝนบางแห่ง ช่วงวันที่ 25-26 ต.ค.
    ด้านสถานการณ์น้ำท่วมในจังหวัดนครราชสีมา นายวิเชียร จันทรโณทัย ผวจ.นครราชสีมา ได้ไปติดตามสถานการณ์น้ำที่เขื่อนลำตะคอง ต.คลองไผ่ อ.สีคิ้ว ก่อนเปิดเผยว่า ล่าสุดภาพรวมทั้งจังหวัดมีพื้นที่ประสบภัยรวม 13 อำเภอ 56 ตำบล 1 เทศบาลนคร 2 เทศบาลเมือง 1 เทศบาลตำบล 215 หมู่บ้าน 24 ชุมชน รวม 11,079 ครัวเรือน ขณะนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ระดมสรรพกำลังให้การช่วยเหลืออย่างเต็มกำลัง
    สำหรับสถานการณ์น้ำท่วมใน อ.พิมาย จ.นครราชสีมา ยังคงส่งผลกระทบต่อประชาชนที่อาศัยอยู่ติดแม่น้ำมูล หลังปริมาณน้ำเพิ่มสูงขึ้นเอ่อล้นเข้าท่วมบ้านเรือนของประชาชน บ้านวังกุ่ม หมู่ 14 ต.ในเมืองพิมาย ปริมาณน้ำท่วมสูง 1 เมตร ชาวบ้านกว่า 20 หลังคาเรือน เดือดร้อนหนักเนื่องจากถูกน้ำท่วมขังนานกว่า 1 สัปดาห์ น้ำที่ท่วมขังหลายวันเริ่มเน่าเสียส่งกลิ่นเหม็น วอนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งช่วยเหลือแก้ไข
    สระแก้ว ยังมีน้ำท่วมพื้นที่ อ.กบินทร์บุรี รวมทั้งตลาดเทศบาลตำบลกบินทร์ ฝ่ายปกครอง ทหาร อปท.ลงพื้นที่ขนย้ายของและแจกอาหารให้ประชาชนที่ถูกน้ำท่วม นอกจากนี้พบว่าที่บ้านโนนสุขภูมิ ม.7 ต.วังตะเคียน เป็นอีกหนึ่งหมู่บ้านที่น้ำท่วมหนัก ประชาชนนำรถยนต์ออกมาไว้ข้างนอกโดยจัดคนนอนเฝ้า
    พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง ผู้ว่าราชกรุงเทพมหานคร เปิดเผยว่า ตามที่กรมชลประทานมีหนังสือแจ้งเตือน 11 จังหวัด ได้แก่ อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี ปทุมธานี นนทบุรี สมุทรปราการ และกรุงเทพมหานคร ที่อาจจะได้รับผลกระทบจากการระบายน้ำผ่านเขื่อนเจ้าพระยา ให้เตรียมพร้อมรับสถานการณ์และเฝ้าระวังติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด สำหรับกรุงเทพมหานครมีแนวป้องกันน้ำท่วมริมแม่น้ำเจ้าพระยา ที่สามารถรองรับน้ำไหลผ่านแม่น้ำเจ้าพระยาได้ 2,500-3,000 ลูกบาศก์เมตร/วินาที และได้มีการเตรียมความพร้อมรับสถานการณ์น้ำเหนือ โดยได้ดำเนินการตรวจสอบความแข็งแรงและดำเนินการปรับปรุงแก้ไขจุดที่ชำรุดและรั่วซึมของแนวป้องกันน้ำท่วมถาวรริมแม่น้ำเจ้าพระยา คลองบางกอกน้อยและคลองมหาสวัสดิ์ คลองชักพระและคลองพระโขนง ตลอดแนวพื้นที่กรุงเทพมหานคร สำหรับพื้นที่ช่องเปิดหรือแนวฟันหลอของแนวป้องกันน้ำท่วมถาวรได้มีการดำเนินการเรียงกระสอบทรายเป็นแนวป้องกันชั่วคราวแล้ว โดยในปี 2563 สำนักการระบายน้ำได้ดำเนินการเรียงกระสอบทราย ความยาวประมาณ 3.2 กิโลเมตร
    ทั้งนี้ ระดับน้ำที่สูงขึ้นอาจจะส่งผลกระทบต่อชุมชนนอกแนวป้องกันน้ำท่วม ซึ่งปัจจุบันมี 17 ชุมชน 358 ครัวเรือน กรุงเทพมหานครได้เตรียมการช่วยเหลือไว้แล้ว.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"