“ 20 ปี พอช.” พลังองค์กรชุมชนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ประกาศเจตนารมณ์ “ชุมชนท้องถิ่นจัดการตนเองเต็มประเทศในปี 2575”


เพิ่มเพื่อน    

 คณะผู้บริหาร พอช.และผู้แทนหน่วยงานต่างๆ ร่วมงาน 20 ปี พอช.

 

พอช./ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนฯ จัดงาน “20 ปี พอช.พลังองค์กรชุมชนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน” เนื่องในโอกาสการดำเนินงานครบรอบ 20 ปี เพื่อสรุปและทบทวนการทำงานในช่วงที่ผ่านมา  ขณะที่ผู้แทนขบวนองค์กรชุมชน  ภาคประชาสังคม  ร่วมประกาศเจตนารมณ์ “สร้างชุมชนท้องถิ่นจัดการตนเองได้เต็มประเทศภายในปี 2575”

 

สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) หรือ ‘พอช.’  สังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เป็นองค์การมหาชนแห่งแรกที่จัดตั้งขึ้นตาม พ.ร.บ.องค์การมหาชน พ.ศ.2542  เปิดเป็นทางการเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ.2543  ปัจจุบัน พอช.ดำเนินงานครบ 20 ปี  มีภารกิจในการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและองค์กรชุมชนผ่านกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชนด้านต่างๆ  เช่น  สนับสนุนการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยและที่ดินทำกินของประชาชนที่มีรายได้น้อย  ส่งเสริมอาชีพ  เศรษฐกิจชุมชน  การจัดสวัสดิการชุมชน  สภาองค์กรชุมชน  การดูแลอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  การจัดการภัยพิบัติ  ฯลฯ

 

เนื่องในโอกาสที่สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนฯ ดำเนินงานครบรอบ 20 ปี  มีการจัดงาน 20 ปี พอช.พลังองค์กรชุมชนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน” ระหว่างวันที่ 26-27 ตุลาคมนี้  ที่สถาบันฯ  ถนนนวมินทร์  เขตบางกะปิ  กรุงเทพฯ  ภายในงานมีการจัดนิทรรศการแสดงผลการดำเนินงานในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา  การนำเสนอผลการศึกษา “ก้าวย่าง พอช. กับบริบทสังคมที่เปลี่ยนแปลง  การปาฐกถา  การประกาศเจตนารมณ์ของ พอช. และผู้แทนขบวนองค์กรชุมชน  ฯลฯ  มีผู้แทนชุมชน  ผู้แทนหน่วยงานต่างๆ   นักวิชาการ  และแขกผู้มีเกียรติ  เข้าร่วมงานประมาณ 500 คน

 

 

“เหลียวหลัง  แลหน้า 20 ปี พอช.”

นายไมตรี  อินทุสุต  ประธานคณะกรรมการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนฯ  กล่าวเปิดงาน  โดยมีเนื้อหาสรุปว่า การทำงานของ พอช.ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมาถือเป็นความสำเร็จระดับหนึ่ง เช่น สภาองค์กรชุมชนตำบล จดแจ้งจัดตั้ง 90%  จำนวน 7,795 ตำบล  แต่ใช่ว่าจะเข้มแข็งเท่ากัน  กองทุนสวัสดิการชุมชนจำนวน  6,032 ตำบล มีสมาชิก 5.9 ล้านคน เกิดความเข้มแข็งจริง 1 ใน 3  สิ่งที่ต้องทำต่อไปในปีที่ 21 ของ พอช. คือทำให้สภาองค์กรชุมชนตำบลและกองทุนสวัสดิการที่ยังไม่เข้มแข็งพัฒนาไปสู่ความเข้มแข็ง  ส่วนโครงการพัฒนาเศรษฐกิจและทุนชุมชน มีประมาณ 1,800 พื้นที่ต้องทำให้เกิดมูลค่าและคุณค่า  ต้องเชื่อมโยงกับกรมการพัฒนาชุมชน 

 

ส่วนผลงานที่โดดเด่น และการใช้งบประมาณส่วนใหญ่ของ พอช.เป็นการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยของผู้ที่มีรายได้น้อยทั่วประเทศ โดยงบประมาณ 3 ใน 4 ของปีที่แล้วและปีนี้ คือ เรื่องบ้าน โดยเฉพาะการพัฒนาชุมชนริมคลองลาดพร้าว  ทำให้เกิดบ้าน 3,323 หลัง  เป็นวิมานของคนที่อยู่ริมคลอง โดย พอช.เป็นตัวกลาง และทำให้เกิดขึ้นได้เพราะชาวบ้านเห็นด้วย  ทำให้ชุมชนริมคลองปรับสถานะจากชุมชนบุกรุกเป็นพลเมืองเป็นคนดี 

 

“เฉพาะโครงการบ้านมั่นคง  สร้างสำเร็จจำนวน  113,000 หลังคาเรือน  หากเป้าหมายอีก 20 ปี   คือ ‘housing for all’ วันนี้เป้าหมายจะเพิ่มมากขึ้น  โดย 20 ปีที่ผ่านมา ตระกูลบ้านทั้งหมด เช่น  บ้านมั่นคง  บ้านพอเพียง บ้านริมคลอง บ้านจังหวัดชายแดนภาคใต้ ทำไปแล้วรวม 240,000 หลังคาเรือน  ส่วนเป้าหมายในปี 2579 หรืออีก 15-16 ปี  เราต้องดำเนินการให้ได้ 700,000 หลังคาเรือน  เป็นเรื่องหนักที่ พอช.ต้องพัฒนาคุณภาพชีวิต”  นายไมตรีกล่าว

 

นายไมตรี  อินทุสุต 

 

ประธานคณะกรรมการสถาบันฯ กล่าวถึงความเปลี่ยนของโลกสมัยใหม่  ซึ่ง พอช.ต้องเผชิญมีอยู่ 5 ด้าน  คือ 1.  Digital transformation  โลกสมมติเกิดขึ้น  และมีความเร็วเข้ามาเกี่ยวข้อง  วันนี้ พอช.ต้องเผชิญ คือ การปรับตัวท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น  2. ภัยคุกคามรูปแบบใหม่ที่มากับโรคระบาด ทำให้ต้องจัดระเบียบตนเอง สังคม และความเป็นอยู่ใหม่  ซึ่งพวกเราทำได้อย่างดีโดยเฉพาะในชุมชน มีการแก้ไขปัญหาอย่างฉับพลันทันที

3. ภัยคุกคามเชิง Cyber เพราะคนจะย้ายจากเมืองไปสู่ชนบท  โดย 45% จะไม่กลับมาอยู่เมืองอีก  ภาวะในเมืองจะขยายไปสู่ภาคชนบท  มีการขนคน ขนข้าวของที่รวดเร็วมาก  ปรากฎการณ์ในกรุงเทพฯ จะเห็นความเปลี่ยนแปลงได้ ความเป็นเมืองทำให้มีรั้ว มีตึกมาขวางกั้น บทบาทที่ พอช.ไปสนับสนุนชุมชนให้เปลี่ยนแปลง  เช่น  สภาองค์กรชุมชนตำบลจะทำงานยากขึ้น  เพราะสภาพกลายเป็นเมืองมากขึ้น   ทำงานได้ยากกว่าชุมชนชนบท  สภาพความเป็นเมืองขยายใหญ่ขึ้น  พอช.ต้องใช้ศาสตร์การบริหารใหม่ที่ต้องประสานสัมพันธ์กับภาคีมากขึ้น

4.สังคมสูงวัย  ปีหน้าจะมีผู้สูงอายุคิดเป็น 18%  ของจำนวนประชากร  ในปี 2574 คาดว่าผู้สูงอายุจะมีจำนวนมากถึง 28%  ดังนั้น พอช.จะทำอย่างไรให้ผู้สูงอายุมีศักยภาพในการพึ่งตนเองได้  ขณะที่เยาวชน ยุวชน ที่มีหลักคิดต่อโลก สังคม Digital ซึ่งแตกต่างจากเดิม  สังคมจะหลากหลายมากขึ้น

 

 

5. ช่องว่างทางทัศนคติ  นอกจากเรื่องวัยและเรื่องระบบการศึกษา  คนรุ่นใหม่สามารถพึ่งพิงตนเองได้  สามารถเป็นผู้ประกอบการตั้งแต่วัยเด็ก หรือ Start up  โดยใช้ Digital Transformation

จากสถานการณ์ความเปลี่ยนแปลงและภัยคุกคามดังกล่าว  นายไมตรีให้ข้อแนะนำว่าแก่ พอช.ว่า 1.เดินอย่าเดินทรงเดิมต้องเปลี่ยนทรงใหม่  ที่ไม่ใช่วิธีคิดเดิม   2.การเดินให้ทะลุ  เชื่อมโยงภาคี   มีการทำงานร่วมกันหรือบันทึกข้อตกลงการทำงานร่วมกัน Meeting  Mou  

3.ผูกภาคีกับภาคเอกชน   พอช.ทำโครงการบ้านมั่นคง  แต่งบประมาณมีน้อย   เช่น  กรณีบ้านมั่นคงบึงบางซื่อ  กรุงเทพฯ  มีมูลนิธิมาร่วมสนับสนุนงบประมาณ   กรณีบ้านที่เกิดภัยพิบัติ  บ้านห้วยขาบ อ.บ่อเกลือ  จ.น่าน  มีบริษัทเอกชนร่วมสนับสนุนการสร้างบ้าน  เป็นต้น

4.กระทรวงการพัฒนาสังคม  ต้องเข้าไปตอบโจทย์ความมั่นคงของมนุษย์   เรื่อง  เด็ก  เยาวชน  ครอบครัว  สังคมในชุมชน   ถือเป็นงานเดียวกัน  ทำอย่างไรให้ลดความรุนแรงของครอบครัว  เข้าใจโจทย์  ตระหนักรู้ภัยพิบัติของชุมชน  อยากให้ พอช.ผูกโยงกับกระทรวงการพัฒนาสังคมอย่างเหนียวแน่น 

 

“ก้าวย่าง พอช.กับบริบทสังคมที่เปลี่ยนแปลง”

ผศ.ดร.ยุพิน  วรสิริอมร วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  และคณะ  นำเสนอผลการศึกษาเรื่อง “ก้าวย่าง พอช.กับบริบทสังคมที่เปลี่ยนแปลง”  มีเนื้อหาโดยสรุปว่า  พอช.มีแนวคิดในการจัดตั้งองค์กร  คือ ส่งเสริมการพัฒนาที่ดำเนินการโดยประชาชน  เพื่อประชาชน  ก้าวสู่การเป็นองค์กรของประชาชนอย่างแท้จริง  เป็นหน่วยงานสนับสนุนและช่วยเหลือองค์กรชุมชนและเครือข่ายองค์กรชุมชน  ด้านการพัฒนาอาชีพ  การเพิ่มรายได้  การพัฒนาที่อยู่อาศัยและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนการพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของสมาชิกในชุมชน  ทั้งในเมืองและชนบท  รวมทั้งสนับสนุนและให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่องค์กรชุมชนและเครือข่ายองค์กรชุมชนให้มีความเข้มแข็งยิ่งขึ้น

 

ผศ.ดร.ยุพิน  วรสิริอมร 

 

ด้านการพัฒนาที่อยู่อาศัยผู้มีรายได้น้อย เมืองและชนบท (บ้านมั่นคง) :  คณะศึกษาเสนอว่า  ความสำเร็จ เนื่อง จากมีปัจจัยจากการมีองค์กรเข้มแข็งจัดการตนเองได้ 100 แห่งจาก 400 แห่ง  ปัจจัยเอื้อ : มีกองทุนให้สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำของตนเอง  รัฐบาลกลางให้การอุดหนุนงบประมาณจำนวนมาก   และสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ชาติในการพัฒนาที่อยู่อาศัย 20 ปี

ปัจจัยเสี่ยง : ความเร่งรัดที่ต้องสร้างบ้าน  ทำให้บางขั้นตอนถูกละเลย  มีการขายสิทธิให้คนอื่น  ปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำและสถานการณ์ COVID-19 อาจส่งผลต่อการเป็นหนี้ที่ไม่ก่อรายได้มากขึ้น

ด้านกองทุนสวัสดิการชุมชน  : ความสำเร็จ : เกิดขึ้นเกือบทั่วประเทศ  ร้อยละ 60 เป็นองค์กรชุมชนที่เข้มแข็ง และร้อยละ 40 จำเป็นต้องพัฒนาเพิ่ม  ปัจจัยเอื้อ  : ความรู้ ความเข้าใจและการตัดสินใจจากชุมชน รัฐบาลให้การสนับสนุนเป็นระยะๆ  ปัจจัยเสี่ยง  :  อปท.ที่ร่วมสมทบน้อยกว่าประชาชน  คณะกรรมการอายุมากขึ้นแต่ต้องพัฒนาข้อมูลบัญชีด้วย IT   จัดสวัสดิการให้มากเกินขีดความสามารถของกองทุนฯ

ด้านสภาองค์กรชุมชน :  แนวคิด  ชุมชนเข้มแข็งเป็นที่ยอมรับ  รวมตัวเป็นสภาองค์กรชุมชนตำบล จะเป็นผู้กำหนดทิศทาง แนวทางการพัฒนาตนเอง   กระบวนการ : สภาองค์กรชุมชนที่ก่อรูปร่างจากกลุ่มบ้านมั่นคงหรือกองทุนสวัสดิการชุมชนหรือกลุ่มอาชีพ  และสภาองค์กรชุมชนเข้าสำรวจจดแจ้งและจัดตั้ง   รับรองเป็นองค์กรชุมชนในตำบล

กลไก :  สภาองค์กรชุมชนในตำบล คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนจังหวัด 

ความสำเร็จ : ผลการสอบทานของ พอช. พบว่า ร้อยละ 58.27 อยู่ระดับ C ที่จำเป็นต้องพัฒน  ปัจจัยเอื้อ : ได้งบประมาณสนับสนุนการจัดตั้งเป็นไปอย่างรวดเร็ว  เกิดแผนพัฒนาตำบลท้องถิ่นที่ได้รับการสนองตอบจากหน่วยงานต่าง ๆ พอสมควร   

ปัจจัยเสี่ยง :  การเร่งรัดจัดตั้งเกือบเต็มทุกตำบล ทำให้คณะกรรมการยังไม่เข้าใจบทบาทหน้าที่ของตนเอง หน่วยงานภาครัฐ  ท้องถิ่น  ท้องที่  บางส่วนไม่เข้าใจเป้าหมายการจัดตั้ง  คือการเป็นเวทีกลางในระดับพื้นที่  ส่งผลต่อบทบาทสภาองค์กรชุมชนมีแนวโน้มที่จะเป็นสภาอำนาจ  มากกว่าสภาบารมี

 

 

ด้านความสำเร็จจากนวัตกรรมที่ พอช. ริเริ่ม เพื่อให้ขบวนประชาชนเติบโต  คณะศึกษาเสนอว่า  เกิดจาก 1.กระบวนการผลักดันนโยบายที่กลมกลืนระหว่าง องค์กรชุมชน  พอช. และบุคคลที่ขับเคลื่อนภายในกลไก เกิดการจัดความ สัมพันธ์เชิงโครงสร้างแบบเท่าเทียม  (Balance of Power)  2.การมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชนทำให้เกิดการพัฒนาตนเอง  ทั้งระบบคิด  ทักษะ  การบริหารงาน  และทักษะการทำงานต่างๆ สามารถร่วมกำหนดทิศทาง  แผนงาน  และบริหารร่วมกับ พอช. ในระดับต่างๆ  ทำให้  “พอช.เป็นองค์กรเดียวในประเทศไทยที่ใช้กระบวนการมีส่วนร่วมสู่การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมชัดเจนและเต็มพื้นที่มากที่สุด

จุดแข็ง พอช. :  ผู้แทนองค์กรชุมชนมีส่วนร่วมมาก  สร้างการเรียนรู้แนวราบ ทีมผู้บริหารเข้าใจและยึดมั่นต่ออุดมการณ์  มีฐานข้อมูลเป็นของตนเอง  ได้รับเงินอุดหนุนโครงการ  มีระบบ IT ที่เชื่อมโยง  มีศักยภาพการผลักดันนโยบาย กฎหมาย ระเบียบ 

ฯลฯ

 

โครงการบ้านมั่นคงเป็นโครงการหนึ่งที่สร้างการมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชนและขบวนองค์กรชุมชน

 

จุดที่ท้าทาย/ ควรปรับปรุงใน พอช.  เช่น  ผู้นำองค์กรชุมชนรุ่นใหม่ขาดโอกาสเติบโต   ขาดการบูรณาการงาน พอช.และงานอื่นๆ ในระดับพื้นที่   องค์กรชุมชน โดยเฉพาะผู้นำชุมชนไม่สามารถใช้ประโยชน์จากฐานข้อมูล  คณะประสานงานจังหวัดยังขาดงบประมาณเพื่อสร้างขบวนให้เข้มแข็ง  เจ้าหน้าที่และผู้เกี่ยวข้องยังใช้ข้อมูลจากฐานข้อมูลเพื่อการวางแผนและตัดสินใจไม่มากเท่าที่ควร  ตัวชี้วัดต่างๆ ที่มีอยู่ยังต้องปรับปรุงแก้ไขให้เหมาะสม

ความเสี่ยง  :  การรับรู้โดยทั่วไปของของสังคมและหน่วยงานราชการอื่นๆ ยังไม่มีความเข้าใจวัตถุประสงค์การก่อตั้ง พอช. มองว่าเป็นหน่วยงานราชการหนึ่งระดับกรม  การเปลี่ยนแปลงนโยบายของภาคการเมือง โดยเฉพาะรัฐมนตรีที่กำกับงาน พอช.  หน่วยงานภาครัฐสร้างระบบการตรวจสอบ  และประเมินผลตามตัวชี้วัด ทำให้เป็นภาระงานของเจ้าหน้าที่และองค์กรชุมชนภาครัฐในช่วงตั้งแต่ปี 2557 เป็นต้นมา  รวมศูนย์อำนาจและสั่งการมากขึ้น กระทบความคล่องตัวในการดำเนินงาน

บทเรียน 20 ปีจากการเป็นองค์การมหาชนแห่งแรก  :   เอกลักษณ์ของ พอช. เป็นองค์กรที่เดินด้วยพลังของชาวบ้าน และอุดมการณ์ที่เจ้าหน้าที่ พอช.ทุกคน  ทุกตำแหน่ง  ยึดถือไม่เปลี่ยนแปลงคือ  การสร้างพลังชุมชนและการสร้างองค์กรชุมชนให้เข้มแข็ง ให้สามารถบริหารจัดการตนเอง (Self Management) ให้ได้ทั้งการบริหารคน แผน และเงิน

 

“พอช.เป็นองค์กรเดียวในประเทศไทย ที่ใช้ กระบวนการมีส่วนร่วมสู่การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมชัดเจนและเต็มพื้นที่มากที่สุด   ผู้นำชุมชนที่ได้ร่วมงานกับ พอช. มีความสามารถ พร้อมที่จะกำหนดทิศทาง แผนงาน และบริหารร่วมกับ พอช. ในทุกระดับในอนาคต    กระบวนการขับเคลื่อนผลักดันนโยบาย ทำให้เกิดจัดปรับความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างแบบเท่าเทียม”  ผลการศึกษา เรื่อง “ก้าวย่าง พอช.กับบริบทสังคมที่เปลี่ยนแปลง”  ของ ผศ.ดร.ยุพิน  วรสิริอมร และคณะ  ระบุในตอนท้าย

 

คำประกาศเจตนารมณ์ :  เป้าหมายการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นจัดการตนเอง พ.ศ.2575

 

ในช่วงท้ายของการจัดงาน “ 20 ปี พอช.ฯ” วันนี้ (26 ตุลาคม)  ผู้บริหาร พอช.  เจ้าหน้าที่ ผู้แทนชุมชน และเครือข่ายประชาสังคม  ร่วมกันประกาศเจตนารมณ์ “เป้าหมายการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นจัดการตนเอง พ.ศ.2575”  มีเนื้อหาโดยสรุปว่าว่า

 

“เครือข่ายองค์กรชุมชน  เครือข่ายประชาสังคม  และ พอช. ซึ่งร่วมกันทำงานฟื้นฟูชุมชนท้องถิ่นในมิติต่าง ๆ ตลอดระยะเวลา 20 ปีที่ผ่านมา  ได้ร่วมกันกำหนดเป้าหมายการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นเนื่องในโอกาสที่สถาบันพัฒนาชุมชน หรือ ‘พอช.’ทำงานมาครบ 20 ปี  ในปี 2563  โดยกำหนดเป้าหมาย  และยุทธศาสตร์การพัฒนาในระยะต่อไป  ดังนี้

 

         

 เป้าหมายการพัฒนาโดยรวมของเรา คือ ชุมชนท้องถิ่นจัดการตนเองเต็มแผ่นดินในปี2575 ยุทธศาสตร์หลัก คือ      “ ใช้พื้นที่เป็นตัวตั้ง  องค์กรชุมชนเป็นแกนหลักในการขับเคลื่อนงานพัฒนาชุมชนท้องถิ่น”      

            

ชุมชนท้องถิ่นจัดการตนเอง คือ การที่ชุมชนท้องถิ่นทั้งเมืองและชนบท  มีพละกำลังเข้มแข็ง  มีความรู้ความสามารถในการบริหารจัดการ  และแก้ปัญหาของชุมชน  มีความพร้อมที่จะรับมือกับความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ในทุก ๆ ด้าน  เป็นส่วนหนึ่งของประชาธิปไตยทางตรง (Direct democracy) ซึ่งเจ้าของอำนาจธิปไตยลุกขึ้นมาจัดการปัญหาของตนเอง  ทั้งยังเป็นการกระจายอำนาจไปสู่ท้องถิ่นในความหมายที่แท้จริง

 

เราจึงกำหนดเป้าหมายและยุทธศาสตร์การพัฒนาในแต่ละด้าน  เช่น 1.ส่งเสริมให้มีการจัดตั้งกองทุนสวัสดิการชุมชน ทั่วประเทศไม่น้อยกว่า 7,000 กองทุน   มีสมาชิกกองทุนไม่น้อยกว่า 10 ล้านคน  2.ส่งเสริมให้ คนจนเมือง คนจนในชนบทและผู้ยากไร้ ไม่น้อยกว่า  260,000 ครัวเรือน  มีที่อยู่อาศัย และที่ดินทำกินที่มั่นคง

3.เราจะสร้างความมั่นคงด้านอาหาร (Food security) ของชุมชน  ให้ผู้คนไม่อดอยาก  และจะพัฒนาให้ทุกตำบลมีระบบเกษตรอินทรีย์ หรือเกษตรกรรมยั่งยืนอื่นๆ  มีผลผลิตทางการเกษตรที่ปลอดภัยไร้  4.เครือข่ายองค์กรชุมชนจะเข้าไปมีส่วนร่วม ใน การบริหารจัดการน้ำ ในระบบภูมินิเวศน์ของท้องถิ่น ให้สามารถตอบสนองความต้องการการใช้น้ำของทุกภาคส่วนอย่างยั่งยืน

5.เราจะพัฒนา กำลังคนของชุมชนท้องถิ่น ทุกเพศทุกวัยให้มีส่วนร่วมในงานพัฒนาท้องถิ่น  เป็น พลเมืองตื่นรู้ (Active citizen) ผู้ยึดมั่นในศาสนธรรมของตนเอง  มีความกล้าหาญทางจริยธรรมและเชื่อมั่นในแนวทางชุมชนท้องถิ่นจัดการตนเอง  6.ชุมชนท้องถิ่นจะมีส่วนร่วมใน การจัดการศึกษา ที่ตอบสนองปัญหา  ความต้องการของชุมชนท้องถิ่น  ให้แต่ละกลุ่มชาติพันธุ์มีสิทธิเสรีภาพในการจัดการศึกษาเพื่อสืบทอดศิลปะวัฒนธรรม  และวิถีชีวิตดั้งเดิมของตนเอง  ฯลฯ

           

การที่จะขับเคลื่อนงานเหล่านี้ให้มีผล เราจะใช้ แผนแม่บทชุมชน เป็นตัวกำกับทิศทางการพัฒนา ใช้ สภาองค์กรชุมชน ซึ่งจัดตั้งขึ้นแล้วเต็มประเทศ  มีสมาชิกมากกว่า 156,000 องค์กรชุมชน  เป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อน  ฯลฯ  ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล  มาสนับสนุนการจัดการชุมชนในทุกด้าน  เช่น  การเกษตร   การพัฒนาอาชีพ  การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การแก้ปัญหาเศรษฐกิจสังคมด้านอื่น ๆ”

          

 ด้วยการขับเคลื่อนงานพัฒนาท้องถิ่นในทุก ๆ ด้านดังกล่าวแล้วนี้  ร่วมกับภาคีการพัฒนาทุกภาคส่วน  เราจึงจะสร้างชุมชนท้องถิ่นจัดการตนเองได้เต็มประเทศในปี 2575 ซึ่งเป็นปีครบรอบ 100ปี แห่งการพัฒนาประชาธิปไตยของประเทศไทย ให้มวลมหาประชาชน  มีความร่มเย็นเป็นสุขอย่างยั่งยืนสืบไป  (ประกาศ ณ วันที่ 26 ตุลาคม 2563

ที่สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน  กรุงเทพมหานคร)

 

                                                                      

ทั้งนี้ในการจัดงาน “ 20 ปี พอช.ฯ”  มีผู้แทนหน่วยงานต่างๆ ที่มาร่วมงาน เช่น  นายสุริยน  พัชรครุกานนท์  รองเลขาธิการสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) ผศ.ดร.จิตติ มงคลชัยอรัญญา คณบดีวิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ้งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รศ.ปาริชาติ  วลัยเสถียร  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์   นางสาวกรรณิการ์  ว่องกุศลกิจ  ผู้อำนวยการด้านพัฒนาชุมชน  บริษัทน้ำตาลมิตรผล  นางเบญจมาศ  ศรีนิล   ผู้แทนธนาคารอาคารสงเคราะห์  พลเอกสุรินทร์  พิกุลทอง  อดีตประธานคณะกรรมการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนฯ  นางสาวสมสุข  บุญญะบัญชา  ที่ปรึกษาคณะกรรมการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนฯ   นายสุรินทร์  กิจนิตชีว์  ปราชญ์ชาวบ้าน  ฯลฯ


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"