กกต. เตือน ขรก.การเมือง-เจ้าหน้าที่รัฐใช้โซเชียลหาเสียงผู้สมัคร อบจ. เสี่ยงถูกร้องตรวจสอบ


เพิ่มเพื่อน    

4 พ.ย.63 - ร.ต.อ.มนูญ วิเชียรนิตย์ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนงานสืบสวนสอบสวน สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) ชี้แจงถึงการคัดค้านการเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดและนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด(อบจ.) นั้นว่า ผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่น้อยกว่า 2 คน หรือผู้สมัคร ผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอในเขตเลือกตั้งนั้น มีสิทธิยื่นคัดค้านต่อ กกต.ได้ในเขตเลือกตั้งที่ตนมีสิทธิเลือกตั้ง ซึ่งการยื่นคำร้องคัดค้านการเลือกตั้งยื่นที่สำนักงานกกต.จังหวัดดีที่สุด เพราะหากยื่นที่ สำนักงาน กกต.ส่วนกลางก็จะต้องส่งให้ กกต.จังหวัดเหมือนเดิม โดยระยะเวลาในการยื่นคัดค้านได้ตั้งแต่วันที่ประกาศให้มีการเลือกตั้ง 26 ต.ค. จนถึง 30 วันนับแต่วันประกาศผลการเลือกตั้ง  ส่วนการคัดค้านเรื่องค่าใช้จ่ายในการเลือกตั้ง จะมีเวลาตั้งแต่วันเลือกตั้ง จนถึง 180 วันนับแต่วันประกาศผลการเลือกตั้ง นอกจากนั้นการคัดค้านเกี่ยวกับการนับคะแนนให้คัดค้าน ให้คัดค้านระหว่างเวลาที่ยังนับคะแนนไม่แล้วเสร็จ หรือในกรณีคัดค้านการรวมคะแนน ให้คัดค้านก่อนประกาศผลการนับคะแนนที่หน่วยเลือกตั้ง ไม่ใช่ประกาศผลเลือกตั้งแล้ว ผู้สมัครพบว่ามีคะแนนสูสีกัน แล้วจึงมาร้องคัดค้าน โดยที่ไม่ได้อยู่ในเหตุการณ์ ทั้งนี้เมื่อ กกต.ได้รับคำคัดค้านการเลือกตั้งแล้ว ก็จะดำเนินการสืบสวนหรือไต่สวน เพื่อหาข้อเท็จจริง และพิจารณาดำเนินการต่อไป

เมื่อถามว่ากรณีข้าราชการการเมือง ส.ส. ส.ว. ผู้บริหารท้องถิ่น สมาชิกสภาท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ กดไลค์กดแชร์โพสต์หาเสียงของผู้สมัครเลือกตั้ง จะถือเป็นกรณีตามมาตรา 34 พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ.2562 หรือไม่ ร.ต.อ.มนูญ กล่าวว่า การแชร์ถือเป็นการหาเสียงให้ผู้สมัครอยู่แล้ว ซึ่งการกดไลค์กดแชร์ไม่ควรกระทำ เพราะเป็นเหตุให้ถูกร้องได้ ดังนั้นจึงไม่ควรเสี่ยงที่จะกระทำ ส่วนผู้ที่จะชี้ว่าผิดหรือถูกคือ กกต.
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"