ปรับใหญ่วิชาประวัติศาสตร์  "ณัฏฐพล"ย้ำต้องนำเสนอข้อเท็จจริง เยาวชนจะรับหรือไม่  ไม่ใช่ปัญหา  ถือเป็นสิทธิ  แต่ศธ. จะต้องนำเสนอข้อมูลความจริงครบทุกด้าน


เพิ่มเพื่อน    


4 พ.ย.63-นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) กล่าวว่า ขณะนี้ทางกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) มีแนวคิดที่จะนำเรื่องราวที่ดีต่างๆ ที่เกิดขึ้นในประเทศไทยที่ผ่านมา นำมาเผยแพร่สู่สถานศึกษา และขับเคลื่อนสร้างความเข้าใจให้แก่นักเรียนไม่ว่าจะเป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริต่างๆ โครงการลูกเสือไทย หรือประวัติศาสตร์ไทยที่จะนำเนื้อหามาบรรจุไว้ในการปรับปรุงหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 สำหรับโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำรินั้นบางโครงการก็ไม่ได้ถูกบรรจุไว้ในหลักสูตร เช่น โครงการแก้มลิงของรัชกาลที่ 9 เด็กมีความเข้าในถึงโครงการนี้อยู่จำนวนเท่าไหร่ และที่มาที่ไปของโครงการมีความเป็นมาอย่างไร เพราะโครงดังกล่าวก็ไม่ได้มีการบรรจุไว้ในหลักสูตรเดิม เนื่องจากรัชกาลที่ 9 ไม่ใช่กษัตริย์นักรบแต่คือกษัตริย์นักพัฒนา ซึ่งเรื่องราวเหล่านี้ควรจะถูกบันทึกไว้ในการเรียนประวัติศาสตร์ด้วย เพราะถือเป็นพื้นฐานความสำเร็จการพัฒนาที่เกิดขึ้นต่อประเทศไทย โดยขณะนี้คณะทำงานปรับหลักสูตรกำลังรวบรวมข้อมูลต่างๆว่าจะนำมาใส่ไว้ในวิชาสังคมศึกษาหรือไม่ 

“เรามีความจำเป็นที่ต้องบูรณาการหลักสูตรต่างๆ เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกในยุคปัจจุบัน โดยรูปแบบการนำเสนอเรื่องราวต่างๆ ในห้องเรียนของครูผู้สอนจะต้องเปลี่ยนใหม่ ซึ่งไม่ใช่การสอนเพื่อให้เด็กมานั่งจดและท่องจำอย่างเดียว แต่ต้องกาสร้างเด็กและเยาวชนในอนาคตให้สัมผัสถึงโครงการเข้าใจพื้นฐานของประเทศไทยว่าที่มาที่ไปเป็นอย่างไรด้วย โดยมีใครที่ทำการสำรวจการพัฒนาจนถึงตอนนี้ประวัติศาสตร์ในอดีตได้สร้างอะไรไว้ให้แก่คนรุ่นหลังบ้าง เพื่อที่คนที่ได้เรียนรู้ประวัติศาสตร์จะได้มีความคิดไปในทิศทางเดียวกัน และต่อยอดไปสู่คนรุ่นต่อไป เนื่องจาก ศธ.ต้องการให้เด็กและเยาวชนรับรู้ข้อมูลประวัติศาสตร์ไทยอย่างครบถ้วนทุกด้าน และผมเชื่อมั่นว่าเด็กจะมีความภูมิใจในความเป็นไทยอย่างแน่นอน”รมว.ศธ.กล่าว

นายณัฏฐพล กล่าวต่อว่า ปัจจุบันเราถือว่ามีข้อมูลอยู่พอสมควร แต่การรวบรวมเพื่อนำเสนอในรูปแบบที่น่าสนใจนั้น ตนได้มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ไปรวบรวมโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริด้านต่างๆ และประวัติศาสตร์ไทย เพื่อวางแนวทางการเผยแพร่สู่สถานศึกษาทั่วประเทศแล้ว และในการบูรณาการเรื่องหลักสูตรจะต้องให้ทุกภาคส่วนเข้ามาร่วมดำเนินการ รวมถึงยอมรับในความเป็นจริง เพราะ ศธ.มีหน้าที่นำเสนอประวัติศาสตร์ที่เป็นข้อเท็จจริง 
สำหรับการปรับเปลี่ยนรูปแบบการเรียนการสอนนั้น มีคณะทำงานที่กำลังดำเนินการอยู่ โดยแบ่งตามศาสตร์ของแต่ละเรื่อง ดังนั้นตนคิดว่าคงต้องใช้ระยะเวลา เพราะการดำเนินการในครั้งนี่ถือเป็นการพลิกประวัติศาสตร์การศึกษาไทย ที่จะทำให้เด็กของเราเรียนได้อย่างสนุกสนาน และเข้าใจในหลักสูตรที่เรียน ซึ่งจะต้องมีการปรับเปลี่ยนในเรื่องการดำเนินเสนอข้อมูลอย่างแน่นอน 


"ผมคิดว่าข้อมูลหลายๆ อย่างตอนนี้ เด็กๆ ยังได้รับข้อมูลที่ไม่ครบถ้วน ทำให้การผสมผสานในการตัดสินใจ อาจจะไปในทิศทางที่ไม่ตรงกับความเป็นจริง อีกทั้งผมไม่ต้องการให้ผู้เรียนจดจำแค่ว่าปีไหนเกิดเหตุการณ์อะไรบ้าง แต่ต้องการให้เห็นความสำคัญที่มาที่ไปของประวัติศาสตร์ในอดีตจนนำไปสู่ผลกระทบด้านดีหรือไม่ดี  ให้กับประเทศไทย เพราะการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ในอดีตต้องเรียนรู้จากบนพื้นฐานความเป็นจริงเท่านั้น"


นายณัฏฐพลกลาวว่า  ทั้งนี้ในส่วนของระยะเวลาในการดำเนินการ ตนมองว่าไม่ควรใช้เวลานาน เพราะตอนนี้เราเห็นความจำเป็น และความตื่นตัว เพียงแต่ว่าในบริบทที่ต้องทำความเข้าใจจริงๆ เป็นเรื่องละเอียด การที่หลายคนมองว่าแค่ใส่ประวัติศาสตร์เข้าไปแล้วสถานการณ์ทุกอย่างก็จะเปลี่ยนแปลง หรือดีขึ้นนั้น มันไม่เป็นความจริง เพราะเรื่องเหล่านี้อยู่ที่วิธีการนำเสนอ ส่วนเยาวชนจะรับหรือไม่นั้น ก็ไม่ใช่ปัญหาอะไร เพราะถือเป็นสิทธิของนักเรียน แต่ตนเพียงขอโอกาสให้ ศธ.ได้นำเสนอข้อมูลที่ครบทุกด้านเท่านั้นเอง

 

ก่อนหน้านี้ นายอิทธิพล คุณปลื้ม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) ได้ออกมาเปิดเผยว่า นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี มอบหมายให้ วธ.ประสานงานกับศธ.  และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการพิจารณารายละเอียดปรับเนื้อหาของการจัดการเรียนการสอนด้านศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ของไทยเพื่อสร้างการรับรู้และเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ ในระดับชั้นต่างๆ กลับมาอีกครั้ง ซึ่งเดิมเคยมีวิชานี้อยู่ แต่ภายหลังได้มีการปรับเรื่องของกลุ่มสาระวิชารวมกันให้อยู่ในวิชาสังคมศึกษา ทำให้เด็กและเยาวชนอาจไม่ได้มีการเรียนรู้ประวัติศาสตร์เป็นการเฉพาะ  หรือรับรู้รายละเอียดเนื้อหา จึงเห็นว่าควรให้แยกวิขาประวัติศาสตร์ออกจากวิชาสังคมศึกษา เป็นวิชาประวัติศาสตร์โดยเฉพาะ ซึ่งจะเริ่มตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษา มัธยมศึกษา และอุดมศึกษา    คาดว่าจะใช้เวลาดำเนินการแล้วเสร็จภายในปีการศึกษาที่ 2 ของปี 2563  เพื่อให้ทันการใช้ในการเปิดภาคเรียนปีการศึกษาที่ 1 ของปี 2564  
 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"