'จตุพร' เตือน 'บิ๊กตู่' เผื่อใจไว้บ้าง คำวินิจฉัยศาล รธน. คดีบ้านพักทหารอาจเป็นทางลงอย่างสวยงาม


เพิ่มเพื่อน    

5 พ.ย.63 - นายจตุพร พรหมพันธุ์ ประธานแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) เฟชบุ๊คไลฟ์ peace talk กรณีศาลรัฐธรรมนูญ นัดอ่านคำวินิจฉัย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ อาศัยบ้านพักของหลวงนั้น ถ้านำสาระไปเทียบได้กับกรณีของนายสมัคร สุนทรเวช อดีตนายกรัฐมนตรี จัดรายการชิมไปบ่นไป และศาล รธน.วินิจฉัยว่า การรับเงินค่ารถเกิน 3,000 บาทให้พ้นตำแหน่ง ดังนั้น พล.อ.ประยุทธ์ อยู่บ้านพักหลวง หากเทียบเป็นเงินแล้วคงมากกว่า 3,000 บาทแน่นอน แต่ขณะนี้ไม่มีอะไรยืนยันศาลจะใช้มาตรฐานเดียวกันหรือไม่ ในสถานการณ์การเมืองขาลงแล้ว อะไรก็เกิดขึ้นได้ทั้งนั้น เช่นเดียวกับการยุบพรรคพลังประชาชน ชาติไทย มัชฌิมาธิปไตย แล้วส่งผลให้เกิดการตั้งรัฐบาลใหม่ในค่ายทหาร  

“แม้ครั้งนี้เป็นความผิดของพล.อ.ประยุทธ์ เฉพาะตัว แต่ยังไม่รู้การเมืองจะไปอย่างไร คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ อาจเป็นทางลงอย่างสวยงามของพล.อ.ประยุทธ์ ก็ได้ ทั้งที่ย้ำมาตลอดว่า ผิดอะไร ถึงที่สุดนายกฯต้องมีความรับผิดชอบในการทำให้บ้านเมืองเกิดปัญหา ประกอบกับเสียงเรียกร้องให้ลาออกดังไปทั่วประเทศ วันที่ 2 ธ.ค. ต้องคิดเผื่อใจไว้บ้างว่า อาจมีปัญหาเกิดขึ้นเพื่อยุติวิกฤตทั้งปวง และหากนายกฯยังอยู่ วิกฤตก็จะมีอยู่ต่อไปอีก” นายจตุพรกล่าว 

ส่วนการแก้ไขรัฐธรรมนูญ นายชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภา จะเอาร่างแก้ รธน.ของไอลอร์มาพิจารณาด้วย ซึ่งเชื่อว่า ร่างของประชาชนฉบับนี้ คงมีชะตากรรมเหมือนในอดีต ยิ่งถูกกล่าวหาว่ามีความผิดปกติของ 200 ชื่อที่ตรวจสอบแล้ว พบว่า ไม่ได้รู้เห็นในการเสนอร่างไอลอร์นั้น จึงทำให้จะมีสภาพโมฆะหรือไม่ และทำให้การเมืองง่ายขึ้นเพราะไม่ต้องลงมติในสภาด้วย  ทั้งหมดนั้น เป็นการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า เพราะถ้าปล่อยให้ร่างไอลอร์เดินหน้าต่อไปจะยิ่งมีปัญหาเกิดขึ้น ดังนั้น เมื่อดูอาการและพยากรณ์ล่วงหน้าได้ว่า คงไม่รอดจะถูกคว่ำให้มีสภาพเป็นโมฆะ ไม่ให้ไปถึงการโหวตลงมติ 

นายจตุพรกล่าวถึง การตั้งกรรมการสมานฉันท์นั้น คณะราษฎร แถลงจุดยืนไม่ร่วมสังฆกรรม เพราะเป็นการเล่นละครซื้อเวลาให้พล.อ.ประยุทธ์ ดังนั้น พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ อดีตนายกรัฐมนตรี มีความเห็นมาร่วมหารือการสมานฉันท์ว่า น่าจะคุยกันแค่วันเดียวก็จบเรื่องแล้ว ทั้งนี้ขึ้นอยู่รัฐบาลและผู้มีอำนาจจะรับความเห็น กรรมการสมานฉันท์หรือไม่ แต่ปฎิกิริยาของ ส.ส.รัฐบาลออกมาถล่มยับเช่นนี้ การสมานฉันท์ก็ไปไม่รอด 2 ส.ส.รัฐบาลที่ออกมาแสดงความเห็นนั้น ไม่ใช่ความบังเอิญ แต่คงมีการหารือกันแล้ว เพราะจะถูกกดดันขั้นสูงสุดจากอดีตนายกฯ พวกนี้จึงต้องออกมาเตะตัดขาคว่ำเลย ซึ่งเป็นความวิตกกังวล ไม่ไว้เนื้อเชื่อใจนายชวน ดังนั้น ปรากฎการณ์นี้การสมานฉันท์รับรู้ว่าไม่มีผลทางปฏิบัติ แต่จะเป็นมาตรการบังคับทางสังคม ถ้าอดีตนายกฯ เสนอให้ พล.อ.ประยุทธ์ ลาออก แล้วจะเกิดแรงกดดันมากมายอย่างคาดไม่ถึง บวกกับกระแสคำวินิจฉัย 2 ธ.ค.ด้วย ย่อมทำให้ฝ่ายรัฐบาลจะอยู่ในอาการที่ร่อแร่ที่สุด 

พล.อ.ประยุทธ์ไปจังหวัดภูเก็ต ลงพื้นที่เกาะสมุย แล้วเห็นความเงียบเหงาทั้งสองเมือง ซึ่งเศรษฐกิจท่องเที่ยวพินาศย่อยยับ ดังนั้น การอยู่ในตำแหน่งของนายกฯ นั้น เรื่องความเชื่อมั่นจะเป็นเรื่องใหญ่ ถ้าคนไม่เชื่อแล้วยากจะได้รับการยอมรับในการแก้ไขปัญหาอีกต่อไปได้  ดังนั้น เมื่อเศรษฐกิจพินาศ ประกอบกับการเมืองความชอบธรรมหาย และผสมกับ ร่าง รธน.ของไอลอร์ถูกคว่ำ จะเป็นเหตุกดดันอย่างหนึ่ง พร้อมมาถูกแรงคุกคามจากภายนอกประเทศที่พยายามปฏิบัติการทางการทหารให้ไทยเกิดความเสียหายรัฐบาลยิ่งอยู่ลำบากมากขึ้น สิ่งนี้เป็นสภาพล่าสุดของฝ่ายรัฐบาลในวันนี้ การสมานฉันท์คือไม่สมานฉันท์ แต่เชื่อว่า อดีตนายกฯและอดีตประธานรัฐสภา ที่นายชวน พยายามเดินเกมอยู่ ถ้าประชุมกันแค่วันเดียว แล้วเสนอมาตรการต่อสังคม ถ้าสังคมขานรับนั่นคือจุดตายของรัฐบาล


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"