อสส.แจงคดีบอส ดุลยพินิจอัยการ มีอิสระ-สั่งไม่ได้


เพิ่มเพื่อน    

มิติใหม่อัยการแผ่นดิน “วงศ์สกุล” อสส. ระดมความคิดพัฒนาระเบียบปรับโครงสร้างคุ้มครองสิทธิเสรีภาพประชาชน หวังขับเคลื่อนกระบวนการยุติธรรมทั้งระบบให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล รับ "คดีบอส" เป็นบทเรียน แจงเป็นการใช้ดุลยพินิจสั่งสำนวนตามปกติของอัยการเท่านั้น อสส.ไม่ใช้อำนาจเองเพื่อให้เกิดการถ่วงดุล การันตีอัยการทุกคนมีอิสระไม่มีใครสั่งได้  
    ที่อิมแพ็ค ฟอรั่ม ฮอลล์ 4 เมืองทองธานี วันที่ 5 พฤศจิกายน สำนักงานอัยการสูงสุด (อสส.) จัดการสัมมนาเชิงวิชาการ "มิติใหม่อัยการแผ่นดิน" โดยมีผู้บริหารและพนักงานอัยการทั่วประเทศ 1,529 คน พร้อมข้าราชการฝ่ายธุรการกว่า 500 คนเข้าร่วม
    โดยนายวงศ์สกุล กิตติพรหมวงศ์ อัยการสูงสุด กล่าวปาฐกถา เรื่อง "Vision to Mission วิสัยทัศน์สู่มิติใหม่อัยการ” ตอนหนึ่งว่า ในการรับฟังความคิดเห็นจากการประชุมสัมนนาครั้งนี้ แม้ตนจะยึดมั่นในระบบอาวุโส ซึ่งเป็นรากฐานในการปฏิบัติงานของพวกเรามาโดยตลอด แต่ก็มีความเชื่อมั่นในแนวคิดที่จะเปิดโอกาสให้คนรุ่นใหม่ที่มีความสามารถได้มีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนองค์กรอย่างเต็มที่ เพราะความจริงแล้วมองไปไกลกว่านั้น คือมุ่งหวังให้สำนักงานอัยการสูงสุดของเราเป็นหน่วยงานนำ ในการพัฒนาและขับเคลื่อนกระบวนการยุติธรรมของประเทศไทยทั้งระบบ ให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล
     นายวงศ์สกุลกล่าวว่า หลายสิ่งหลายอย่างที่หวังให้เกิดความเปลี่ยนแปลง เช่น การนำนวัตกรรมใหม่ๆ มาใช้อำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงานก็ได้เริ่มขึ้นแล้วอย่างค่อยเป็นค่อยไป ในขณะนี้กำลังดำเนินการพัฒนาระบบเทคโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการทำงานของพนักงานอัยการ โดยเปลี่ยนสารบบคดี ระบบงาน สคช. และระบบข้อมูลบริหารงานบุคคลให้เป็นระบบอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมด ส่วนหน้าที่ในการอำนวยความยุติธรรม การรักษาผลประโยชน์ของรัฐก็ดี รวมไปถึงการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ และช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ประชาชนที่เป็นภารกิจของพวกเรานั้น ล้วนแล้วแต่เป็นหน้าที่ที่สำคัญเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชนทั้งสิ้น
    อย่างไรก็ดี ในการที่จะพัฒนาต่อไปนั้น หากมองในมุมของตัวเองเพียงอย่างเดียวคงไม่รอบด้าน และไม่อาจบรรลุผลได้อย่างแท้จริง สำนักงานอัยการสูงสุดเองก็มีหน้าที่ที่จะต้องบูรณาการการทำงานร่วมกับหน่วยงานอื่นๆ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงานมากที่สุดด้วย
    "ผมอยากให้มองอนาคตสำนักงานอัยการสูงสุดของเราควรจะพัฒนา และก้าวเดินไปในทางใด ขอให้อย่าลืมวัฒนธรรมสำคัญขององค์กรเรา คือ “ความสามัคคีและความเป็นพี่น้อง” สิ่งนี้จะเป็นสิ่งที่ช่วยทำให้องค์กรของเราผ่านปัญหา อุปสรรคต่างๆ ไปได้ และร่วมกันกับผมและคณะผู้บริหารชุดปัจจุบัน เป็นพลังในการขับเคลื่อนสำนักงานอัยการสูงสุดต่อไป เพื่อไปสู่มิติใหม่ อัยการแผ่นดิน” นายวงศ์สกุลกล่าว
    ต่อมานายวงศ์สกุลให้สัมภาษณ์เพิ่มเติมว่า ในช่วงปีที่ผ่านมาอสส.มีการปรับปรุงระเบียบโครงสร้างจำนวนมาก ซึ่งทำให้ตอบสนองในการบริการประชาชน ซึ่งเราจำเป็นจะต้องระดมความคิด จากพนักงานอัยการและประชาชน สื่อมวลชน และผู้มีส่วนร่วมอื่นๆ ในการสะท้อนปัญหาที่เกิดขึ้น โดยยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง และให้ได้ประโยชน์มากที่สุด นับตั้งแต่การใช้กฎหมายอัยการในปี 2553 ซึ่งครบ 10 ปี ตัวระเบียบและข้อกฎหมายอาจจะมีการขัดข้อง
    "ในการสัมมนาวันนี้ มีพนักงานอัยการและบุคลากร 60-70 เปอร์เซ็นต์ทั่วประเทศมาร่วมให้ความคิดเห็น ซึ่งข้อคิดเห็นที่ได้ในการจัดสัมมนา จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงกฎหมายและระเบียบข้อบังคับในอนาคตได้ เรามีบุคลากรใหม่ในช่วง 1-2 ปีเพิ่มขึ้นนับพันคน ถือเป็นสายเลือดใหม่ของอัยการ ก็จะนำสู่การเปลี่ยนแปลง"
     ผู้สื่อข่าวถามถึงกรณีองค์กรอัยการเผชิญวิกฤติศรัทธาจากประชาชนในช่วงที่ผ่านมา เช่นคดีนายวรยุทธ อยู่วิทยา หรือบอส  นายวงศ์สกุลกล่าวว่า ในกระแสที่พี่น้องประชาชนคิดอะไรต่างๆ อสส.เราได้แถลงให้ทราบในหลายเรื่อง ใช้ข้อเท็จจริงที่อยู่ในสำนวนการสอบสวน ใช้กฎหมาย กฎระเบียบ สิ่งต่างๆ ในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา อสส.แก้ไขปัญหาได้ดีระดับหนึ่ง จะเป็นบทเรียนของ อสส.ส่วนหนึ่ง เราอาจจะต้องปรับปรุงกฎระเบียบที่รองรับ เอื้อต่อการอำนวยความยุติธรรมมากขึ้น เราจะเห็นได้ว่าสุดท้ายเมื่อข้อเท็จจริงปรากฏ เป็นการใช้ดุลยพินิจสั่งสำนวนของอัยการท่านหนึ่งเท่านั้นเอง เป็นเรื่องปกติของ อสส.และกระบวนการยุติธรรมไทยทั่วไป
    นายวงศ์สกุลกล่าวต่อว่า การร้องขอความเป็นธรรมเรามีมาหลายสิบปี ตั้งแต่มีระเบียบอัยการในปี 2528 ในสมัยนั้นต้องให้รองอธิบดีเป็นผู้ใช้อำนาจนี้ นับตั้งแต่สมัย ดร.คณิต ณ นคร เป็นต้นมา ไม่มีอัยการสูงสุดท่านใดเลยไปใช้อำนาจในเรื่องคดีร้องขอความเป็นธรรม ก็เพื่อจะให้มีการตรวจสอบถ่วงดุลตามมาตรา 145 ส่วนการร้องขอความเป็นธรรมมีขั้นตอนอยู่ ถ้ามีพยานหลักฐานเกี่ยวข้อง บางคดีเหตุเกิดเป็นสิบปีพยานหลักฐานเพิ่งปรากฏก็มี บริบทแต่ละเรื่องมีความแตกต่างกันไป ร้องได้ตลอดเวลา อยู่ในเงื่อนไขพยานหลักฐานฟังได้หรือไม่ก็แล้วแต่ละเรื่องไป
    เมื่อถามถึงการทำงานของ อสส.หลังปรับโครงสร้างคดีที่ยังมีข้อคลางแคลงใจต้องเรียกมาดูหรือไม่ นายวงศ์สกุลกล่าวว่า การทำงานของสำนักงานอัยการสูงสุดในปีๆ หนึ่ง อัยการสูงสุดต้องดูแลเฉพาะสำนวนที่อัยการสูงสุดต้องสั่งเอง ในคดีความผิดนอกราชอาณาจักร, พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทุจริต และชี้ขาดความขัดแย้ง ทั้ง 3 ประเภทนี้อัยการสูงสุดต้องสั่งถึง 6,000-7,000 เรื่องในปีหนึ่ง เรื่องขอความเป็นธรรม อสส.สามารถมอบหมายให้รอง อสส. หรือผู้ตรวจราชการที่รับผิดชอบเข้าไปช่วยดำเนินการดูแล ผู้ได้รับมอบหมายจะมีอำนาจสิทธิ์ขาดดำเนินไปในส่วนนั้นๆ ตามรัฐธรรมนูญ ตามกฎหมายอัยการ
    "พนักงานอัยการทุกคนมีอิสระในการพิจารณาสำนวนคดีเป็นของตนเอง ไม่มีใครสามารถสั่งได้ คล้ายกับผู้พิพากษาของศาลยุติธรรม อสส.จะไปชี้นำสั่งอย่างไรไม่ได้เลย เป็นหลักประกันอัยการทำงานภายใต้ดุลยพินิจ อสส.จะเข้าไปควบคุมได้ต่อเมื่อมีเหตุ เช่น พนักงานอัยการสั่งสำนวนช้าจนผู้ต้องหาหรือผู้เสียหายร้องเข้ามา เราก็จะเข้าไปดูปฏิบัติตามระเบียบขั้นตอนหรือเปล่า แต่ดุลยพินิจในการสั่งคดียังเป็นของเขาเหมือนเดิม"
    เมื่อถามถึงแนวทางการรับมือของอัยการต่อคดีการเมืองในยุคนี้ที่จะมีมากขึ้น นายวงศ์สกุลกล่าวว่า หลักการทำงานของ อสส.เราใช้พยานหลักฐานเป็นหลัก พิจารณาตามพยานหลักฐาน ภายใต้กฎหมายระเบียบที่เกี่ยวข้อง.

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"