เดือดปุดๆ 8 พฤศจิกาสะเทือนถึง 2 ธันวา 'จตุพร' แทงสวน 'วิษณุ' นายกฯบิ๊กตู่ ไม่รอด!


เพิ่มเพื่อน    

6 พ.ย.63 - นายจตุพร พรหมพันธุ์ ประธานแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) เฟชบุ๊กไลฟ์ peace talk ว่า คงต้องจับตาอย่างใกล้ชิดใน 2 วันที่จะถึงนี้ คือกลุ่มราษฎรนัดชุมนุมใหญ่ 8 พ.ย. ที่อนุเสาวรีย์ประชาธิปไตย โดยมีกิจกรรมเขียนจดหมาย ซึ่งทำให้แต่ละฝ่ายวิตกต่อสถานการณ์อย่างยิ่ง 

รวมทั้ง ในวันที่ 2 ธ.ค. ศาล รธน.นัดอ่านคำพิพากษากรณี พล.อ.ประยุทธ์ พักบ้านหลวงหลังเกษียณอายุราชการ และอยู่มาต่อเนื่องยาวนานถึงปัจจุบันร่วม 6 ปี ถ้าเทียบเคียงกับกรณีนายสมัคร สุนทรเวช อดีตนายกรัฐมนตรี ทำรายการอาหาร "ชิมไปบ่นไป" ตามที่ทำมาก่อนเป็นนายกรัฐมนตรี แต่ถูกยื่นให้ ศาล รธน.วินิจฉัยการเป็นลูกจ้างและรับเงินเกิน 3,000 บาท

สิ่งที่น่าสนใจคือ กรณีนายสมัคร ศาล รธน.ใช้พจนานุกรมมาตีความคำว่า "ลูกจ้าง" จนทำให้ต้องพ้นจากนายกรัฐมนตรี แต่กรณีพักบ้านหลวงนั้น หากคิดแค่ค่าน้ำค่าไฟ และมูลค่าบ้านแล้ว อย่างไรก็เกิน 3,000 บาท ปัญหาคือระหว่างกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับระเบียบอนุญาตให้ของกองทัพบก อะไรมีสถานะใหญ่กว่า

ส่วนนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายกฎหมาย บอกว่า ไม่ต้องการพูดชี้นำ แต่รอพูดวันที่ 3 ธ.ค. ซึ่งหลายคนประเมินว่า พูดแบบนี้หมายความว่า พล.อ.ประยุทธ์ รอดแน่ๆ ส่วนคนวงในรัฐบาลมาโวยวายใส่ตนที่คาดเดาล่วงหน้า พร้อมปรามาศว่า เดาผิดพลาดมาตลอด

อย่างไรก็ตาม เรื่องราวทั้งหมดของประเทศไทยขึ้นอยู่กับสถานการณ์ทางการเมือง สมัยนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรี พรรคพลังประชาน เป็นพรรคแกนนำรัฐบาล และเป็นพรรคอันดับที่ 3 ที่ถูกยื่นให้ยุบพรรค โดยมีพรรคชาติไทย และพรรคมัชญิมา ถูกยื่นก่อนเป็นอันดับ 1 และ 2 ตามลำดับ

แต่วันดีคืนดี ศาล รธน.นัดให้มาแถลงปิดคดีทั้งที่ยังมีพยานเหลือเต็มอีกมาก แต่ถูกตัดออก แล้วย้ายมาแถลงปิดคดีที่ศาลปกครอง ซึ่งมีเขตอำนาจศาล ปรากฎว่านายบรรหาร ศิลปอาชา พรรคชาติไทย นางอนุวรรณ เทพสุทิน พรรคมัชฌิมา แถลงด้วยนำตานองหน้า พรรคพลังประชาชน ไม่ส่งคนไปแถลงเพราะรู้ว่าผลคงยุบพรรคแน่

การแถลงปิดคดียุบพรรคเสร็จช่วงเที่ยง บ่ายนัดอ่านคำวินิจฉัย ทั้งที่รับรู้กันว่า ต้องมีคำวินิจฉัยส่วนตัวก่อน จึงมีคำวินิจฉัยกลาง แล้วใครจะเชื่อว่า คำแถลงส่วนตัวของตุลาการ และคำวินิจฉัยกลางด้วยมติเสียงข้างมากจบใน 1 ชม. ซึ่งเกิดขึ้นได้ในประเทศไทย แล้วนายสมชาย พ้นจากนายกรัฐมนตรี ขณะประชุม ครม.สัญจรที่เชียงใหม่

ถึงวันนี้ วันที่ พล.อ.ประยุทธ์ เส้นใหญ่ แข็งแรง เหนียวแน่นมาก แต่เมื่อ 2 นายกฯที่ผ่านมานั้น ถ้าเทียบเคียงก็โดนเล่นงานมาแล้ว ตนจึงแทงว่า ไม่รอด ต้องพ้นจากตำแหน่ง เผื่อฟลุ๊ก แม้แต่พจนานุกรมยังทำให้นายสมัคร พ้นจากนายกฯได้ แล้วพักบ้านหลวงจะแตกต่างกันได้อย่างไง

“เมื่อนายวิษณุ บอกว่า จะอธิบายความวันที่ 3 ธ.ค.เท่ากับตีความว่า พล.อ.ประยุทธ์ รอด แต่ผมสวนนายวิษณุ ไม่รอด เพราะสถานการณ์การเมืองเป็นตัวกำหนด และการเมืองช่วงจากนี้ไปแปรเปลี่ยน สถานการณ์ก็พลิก ขนาดพจนานุกรมยังคว่ำนายกรัฐมนตรได้ เมื่อบ้านหลวงให้ ผบ.ทบ.พัก แล้วเลยจาก ผบ.ทบ.มีสิทธิ์หรือเปล่าละ"

นายจตุพร กล่าวว่า ปัญหามีว่าเมื่อเคยมีการวินิจฉัยเรื่องเหล่านี้มา หลายคนบอกจบลงตรงเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ แต่ตนมองคนละเรื่อง เพราะสถานการณ์เปลี่ยน เรื่องราวเปลี่ยน ดังนั้น จะคิดแบบหลักการเดิมๆก็ไม่ง่ายเหมือนเดิม กลับมาถถูกต่อว่า ไปคาดเดาล่วงหน้า 

"เมื่อวิษณุ บอกพูดวันที่ 3 ธ.ค.นั่นตีความว่า รอด แต่ผมสวนว่า ไม่รอด เพราะเอาปัจจัยทางการเมืองในวันที่แข็งแรง วันกระแสสูงกับวันกระแสต่ำ วันที่เคยเป็นจุดแข็งแล้วกลายเป็นจุดอ่อน แล้วมาว่าผมคาดเดาผิด ก็ว่าไม่ถือสากัน เมื่อต่างคนต่างเชื่อ นั่นเป็นประชาธิปไตย”

สิ่งสำคัญ ตนมองว่า ช่องศาล รธน.มันแปลกๆ เพราะเมื่อ 3 ธ.ค. ปี 2551 มีนายกรัฐมนตรีโดนไปแล้ว แล้ววันที่ 2 ธ.ค.จะรอดหรือไม่ แม้ที่ผ่านมารอดมาแล้วทุกกรณี แต่เมื่อสถานการณ์ไม่เอื้อแล้ว เนื่องจากการชุมนุม 8 พ.ย.จะส่งผลต่อวันที่ 2 ธ.ค. ดูจากสถานการณ์คนจะมาชุมนุมแบบทะลุเพดานก็ได้ ดังนั้นเหตุการณ์ในไทยในแต่ละสถานการณ์ผกผันตลอด แล้วจะเอาอะไรมาเชื่อละว่ารอด เห็นผลก่อนหรือหรือไร ตนจึงแทงว่าไม่รอด อาจทายผิดก็ได้ 

อย่างไรก็ตาม ตนเชื่อว่า คำวินิจฉัย ศาล รธน. วันที่ 2 ธ.ค.เป็นทางลงเดียวของบ้านเมืองนี้ อีกอย่าง นายชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภา เร่งหารืออดีตนายกฯ หาทางออกประเทศ ถ้าประชุมกันวันเดียวแล้วแถลงเลย ซึ่งคงไม่มีอะไรซับซ้อน
“ถ้านายกฯ ปัจจุบันถูกอดีตนายกฯแถลงอย่างเอกฉันท์ ควรเสียสละลาออก เรื่องราวก็ง่ายขึ้น อีกทั้งเมื่อการชุมนุม 8 พ.ย. ส่งผลสะเทือนถึง 2 ธ.ค. ถ้าประยุทธ์ ลาออกก่อนอาจไม่มีการพิจารณาในวันที่ 2 ธ.ค.ก็ได้”

นายจตุพร กล่าวว่า สถานการณ์ประเทศไทย ช่วงนี้ต้องพิจารณาเป็นตอนๆไป เผลอๆวันที่ 8 พ.ย.ชุมนุมใหญ่ พล.อ.ประยุทธ์ อาจไปก่อนก็ได้ ดังนั้น ทางการเมืองต้องใจเย็นเข้าไว้ ตนจัดรายการวิเคราะห์การเมือง ไม่ใช่เวทีปราศรัย อีกอย่างพวกมาป่วน ไม่อยากฟังก็ไม่ต้องฟัง หลีกไปให้พ้น

“ฝ่ายรัฐบาลจะคิดอย่างไรก็ตาม แต่ประชาธิปไตยเห็นต่างกันได้ ไม่ได้ทำร้ายล้าง ถ้ารัฐบาลแตะต้องไม่ได้ก็เป็นปัญหา ขนาดตั้งสมานฉันท์ ยังทะเลาะกันเกือบตาย ทั้งขู่ฟ้องไว้ล้วงหน้า วันนี้ต้องการอะไร ถ้าบ้านเมืองไม่มีทางออก เล่นการเมืองกันจนพัง เอาเหลี่ยมคูทางการเมืองนิดหน่อย เพื่อไปโชว์ผู้มีอำนาจ ผมเห็นความฉิบหายมามากแล้ว”

ดังนั้น วันนี้บรรยากาศของไทย อาการน่าเป็นห่วงจริงๆ ถ้าเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้นมา เกิดอุบัติเหตุจากอะไรก็แล้วแต่ ตนประเมินด้วยสถานการณ์ที่น่าห่วงใย เพราะชุมนุมวันที่ 8 พ.ย.จะเป็นปรากฎการณ์ที่เหนือกว่าชุมนุมหน้าสถานทูตเยอรมัน ซึ่งแต่ละฝ่ายจะละเลยสถานการณ์วันที่ 8 พ.ย.ไม่ได้ ตนมีความเชื่อเลยว่า ครั้งนี้จะหนักที่สุด และครั้งนี้ต้องคิด เพราะเปราะบางที่สุด 

นายจตุพร ย้ำว่า รัฐมีหน้าที่ปกป้องคนหนุ่มสาว ขอให้มองเขาอย่างลูกหลาน ควรใช้หลักนิติศาสตร์ หลักรัฐศาสตร์ สิ่งสำคัญต้องไม่ใช้ความรุนแรง โดยการชุมนุมมี 3 ระยะ คือระยะแรกสวยงาม กลางไม่กระทบกระทั่ง  ส่วนระยะท้ายเป็นการป้องกันแทรกแซง ซึ่งจะนำไปสู่อะไรต้องเตรียมใจในสิ่งที่อาจเป็นอุบัติเหตุเกิดขึ้น

“ต้องไม่ใช้ความรุนแรง ทุกอย่างต้องจบด้วยสันติวิธี รัฐต้องไม่ปราบปรามประชาชน พร้อมป้องกันพวกมือที่สาม เท้าที่สี่ด้วย ดังนั้น เส้นทางยกสุดท้ายนี้ ได้เลยระยะโลกสวยกันแล้ว ผมไม่อยากให้มีวีรชนเกิดขึ้นในประเทศอีก อาการประเทศไทยช่วงนี้จึงน่าเป็นห่วงจริงๆ เชื่อว่า 8 พ.ย.หนักจริง แล้วการเมืองส่อจะกลับไปสู่เรื่องเดิมๆ” 

นายจตุพร ทิ้งท้ายว่า ความจริงไม่ควรจบลงในทุกเหตุการณ์ที่ผ่านมา ขอให้ทุกฝ่ายใช้ทวงทำนองระมัดระวัง ให้จบลงด้วยสันติวิธี และหวังว่า พล.อ.ประยุทธ์ จะลุกออกจากตำแหน่ง เพื่อคลี่คลายสถานการณ์ที่น่าเป็นห่วงนี้.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"