เสนอปฎิรูป"หลายกระทรวง"ที่เกี่ยวข้องการศึกษา-เด็ก-เยาวชนไม่ใช่เฉพาะศธ.เท่านั้น   


เพิ่มเพื่อน    

 

บอร์ดอิสระฯ เสนอปฏิรูปโครงสร้างหน่วยงานหลายกระทรวงที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา เด็กและเยาวชนทั้งหมด ไม่ได้ทำเฉพาะโครงสร้างเฉพาะภายใน ศธ. เท่านั้น "เฉลิมชัย"ชี้เป็นครั้งแรกที่ทำการปฎิรูปจากล่างสู่บน จากเด็ก โรงเรียน สู่ระดับกระทรวง

 

นพ.จรัส สุวรรณเวลา ประธานคณะกรรมการอิสระเพื่อปฏิรูปการศึกษา กล่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษาว่า ที่ประชุมได้มีการหารือเรื่องร่างพ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. .... ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการ ยังไม่ได้ข้อสรุปชัดเจน ส่วนที่ได้มีการพิจารณาและมีความคืบหน้า คือ การปฏิรูปโครงสร้างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา เพื่อให้ส่งผลต่อการพัฒนาโรงเรียนทั้งหมด 33,000 กว่าโรง และโรงเรียนเอกชนอีก 10,000 กว่าโรง จะต้องมีการทดลองการพัฒนาโรงเรียนต้องมีความหลากหลาย ไม่ใช่รูปแบบ แต่หลากหลายอย่างให้เหมาะสมกับโรงเรียนแต่ละขนาด ไม่ว่าจะเป็น ขนาดใหญ่ กลาง เล็ก หรือโรงเรียนห่างไกล แต่มุ่งเน้นการปฏิรูปโรงเรียนเป็นหลัก ซึ่งขณะนี้มีการดำเนินการทดลองการพัฒนาแล้วในกลุ่มโรงเรียนประชารัฐ 3,000 กว่าโรง และโรงเรียนร่วมพัฒนา 40 กว่าโรง และจะต้องขยายไปให้ครบถ้วนทั้งกว่า 3 หมื่นโรง

 

ด้านนพ.เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ ประธานคณะอนุกรรมการปฏิรูปโครงสร้างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา กล่าวว่า การปฏิรูปโครงสร้าง ไม่ได้ทำเฉพาะกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เท่านั้น แต่ต้องปฏิรูปโครงสร้างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาเด็กและเยาวชนทั้งหมดด้วย  เช่น กระทรวงมหาดไทย (มท.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นต้น ซึ่งหน้าที่ของคณะอนุกรรมการฯ ชุดนี้ จะดำเนินการตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร ไทย พ.ศ. 2560 หมวด 16 การปฎิรูปประเทศ มาตรา 258 จ ด้านการศึกษา ข้อ 4 ที่ระบุว่าปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนทุกระดับ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนได้ตามความถนัด และปรับปรุงโครงสร้างของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อบรรลุเป้าหมายดังกล่าว โดยสอดคล้องกัน ทั้งในระดับชาติ และระดับพื้นที่ และที่ผ่านมามีการปฏิรูปโครงสร้างหลายครั้ง ซึ่งสำเร็จบ้าง ไม่สำเร็จบ้าง แต่การปรับปรุงโครงสร้างครั้งนี้ ไม่ใช่เป้าหมาย เพื่อปฏิรูปการศึกษาอย่างเดียว แต่มีเป้าหมายชัดเจน คือ เด็ก เยาวชน พลเมือง ทุกช่วงวัยเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ, กระบวนการเรียนการสอนมีคุณภาพ  และครู คณาจารย์ที่มาจัดการเรียนการสอนต้องมีคุณภาพ ซึ่ง 3 ส่วนนี้เป็นเป้าหมายหลัก การปฏิรูปโครงสร้างจึงเป็นเพียงเครื่องมือหนึ่งในการสนับสนุนเป้าหมายดังกล่าวให้บรรลุผล  ไม่ได้มีเจตนามุ่งปรับปรุงโครงสร้างโดยไม่สนใจเรื่องอื่น

 

"อยากย้ำว่าการปฏิรูปการศึกษาครั้งนี้ ไม่ได้ปฏิรูปโครงสร้าง ศธ.เหมือนที่ผ่านมา ซึ่งเมื่อมีการพิจารณาโครงการมีหลักการเพื่อตอบสนองให้มีพัฒนาการต่อเนื่องดีขึ้นอย่างได้ผล และทำให้การปฎิรูปการศึกษาเป็นไปอย่างราบรื่น และครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่มีการปฏิรูปโครงสร้างจากล่างขึ้นบน คือ เริ่มจากปฏิรูปนักเรียน และโรงเรียน โดยยึดสถานศึกษาเป็นศูนย์กลางในการปฏิรูปการศึกษา  กระจายอำนาจไปสู่สถานศึกษา และมีดุลยภาพพอเหมาะ มีความกระทัดรัด และมีความทันสมัย รวมถึงมีความเรียบง่าย เพราะที่ผ่านมาโครงสร้างมีความซับซ้อน และซ้ำซ้อนด้วย ซึ่งทำให้เกิดความยุ่งยาก และครอบคลุมทุกมิติเรื่องการศึกษา"นพ.เฉลิมชัย กล่าวและว่า นอกจากนั้น ที่ประชุมได้มีข้อเสนอเบื้องต้น โดยพิจารณาด้านนโยบาย การกำกับดูแล และหน่วยปฏิบัติ ซึ่งขณะนี้มีการศึกษาเรื่องนี้แล้ว แต่ยังไม่ได้ข้อยุติว่าหน่วยงานใดจะกำกับ ดูแล ทั้งนี้ ที่ประชุมได้มีการพิจารณาถึงชื่อเรียกของสถานศึกษารูปแบบอื่นๆ ด้วย


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"