ส.ส.-ส.ว. โหวตผ่านตั้ง สสร. ร่าง รธน. 'ฉบับไอลอว์' ส่อคว่ำเหตุแตะหมวด 1-2


เพิ่มเพื่อน    

16 พ.ย.63 - ผู้สื่อข่าวรายงานจากรัฐสภาถึงการพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ 7ฉบับในวันที่ 17-18 พ.ย. ว่า ที่ประชุมวิป 3 ฝ่าย ได้เแก่ วิปฝ่ายรัฐบาล วิปฝ่ายค้าน และวิปวุฒิสภา ได้ข้อสรุปร่วมกันว่า จะพยายามพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้ง 7 ฉบับ ให้เสร็จภายในช่วงเย็นวันที่ 17พ.ย. ไม่อยากให้เลยไปถึงช่วงค่ำ เพราะเกรงว่าอาจมีปัญหาเรื่องความปลอดภัยในการเดินทางออกจากรัฐสภา ที่มีกลุ่มผู้ชุมนุมมาล้อมรัฐสภา จากนั้นจะมาโหวตร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้ง 7 ฉบับ ในวันที่ 18 พ.ย. เวลา 09.30 น. โดยวิธีการขานชื่อทีละคน คาดว่าจะใช้เวลา 4 ชั่วโมง จะรู้ผลการลงมติ อย่างไรก็ตามต้องดูสถานการณ์เฉพาะหน้าประกอบด้วย หากมีผู้อภิปรายยืดเยื้ออาจทำให้การลงมติล่าช้าออกไปจากเวลาที่ตั้งไว้

ผู้สื่อข่าวรายงานอีกว่า สำหรับแนวโน้มการลงมตินั้น ขณะนี้ค่อนข้างแน่นอนแล้วว่า ที่ประชุมรัฐสภาจะลงมติรับหลักการแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญ วาระ1 เฉพาะร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับที่1และ 2 ของฝ่ายค้านและฝ่ายรัฐบาลเท่านั้น ที่ให้ตั้งส.ส.ร. มายกร่างรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับ ทั้ง 2 ร่างดังกล่าว วิปรัฐบาลและวิปฝ่ายค้านมีมติเรียบร้อยแล้วให้ลงมติรับหลักการ ขณะที่เสียงฝั่งส.ว.ที่จะต้องมีเสียงสนับสนุน 84 เสียงในการรับหลักการนั้น ล่าสุด ส.ว.ได้เช็กเสียง เมื่อเช้าวันที่ 16 พ.ย. ปรากฎว่ามีเสียง ส.ว.สนับสนุนเกิน 84 เสียง ทั้งสองร่างไปแล้ว โดยมีเสียงสนับสนุนจาก ส.ว. อยู่ระหว่าง 100-150 เสียง แต่จะมี ส.ว.บางส่วนที่ยืนยันในจุดยืนเดิม ลงมติไม่เห็นด้วยกับร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับที่ 1 และ 2

ผู้สื่อข่าวรายงานต่อว่า ส่วนร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญอีก 4 ฉบับที่เป็นการแก้ไขรายมาตรา ได้แก่ ฉบับที่ 3 ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 270 และ 271 ที่ให้ยกเลิกอำนาจ ส.ว.ในการปฏิรูปประเทศ ฉบับที่ 4 ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 272 เรื่องการยกเลิกอำนาจ ส.ว.โหวตเลือกนายกรัฐมนตรี ฉบับที่ 5 ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 279 ที่ให้ยกเลิกประกาศคำสั่งอันเป็นผลสืบเนื่องจากคำสั่งหัวหน้าคสช. และฉบับที่ 6 ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ที่ให้กลับไปใช้บัตรเลือกตั้ง 2 ใบนั้น มีแนวโน้มจะไม่ผ่านความเห็นชอบจากที่ประชุมรัฐสภา เพราะมีเพียงเสียงจากฝ่ายค้านเท่านั้นที่จะลงมติรับหลักการทั้ง 4 ร่าง ขณะที่เสียงจาก ส.ส.ฝั่งรัฐบาลและส.ว.จะลงมติงดออกเสียงและไม่รับหลักการ

ส่วนร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับที่ประชาชนเข้าชื่อเสนอ หรือฉบับไอลอว์นั้น มีแนวโน้มสูงที่จะไม่ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภา เพราะเสียง ส.ส.ฝ่ายรัฐบาลและส.ว. ไม่เอาด้วย เพราะเห็นพ้องต้องกันว่าไม่ได้มีข้อยกเว้นเรื่องการห้ามแก้หมวด 1 และ 2 ที่เกี่ยวกับเรื่องราชอาณาจักรไทยและสถาบัน รวมถึงยังมีเนื้อหาที่สร้างความไม่สบายใจ อาทิ การให้ยกเลิกพ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทุจริต และการให้ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญและกรรมการองค์กรอิสระทุกชุดพ้นจากตำแหน่ง อาจมีผลทำให้เป็นการนิรโทษกรรมคดีทุจริตในทางปฏิบัติ เพราะ พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทุจริตถูกยกเลิก และอาจทำให้ประเทศตกอยู่ในภาวะสุญญากาศไม่มีพ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทุจริต บังคับใช้หลายเดือน ทำให้ ส.ส.รัฐบาล และ ส.ว.ไม่สบายใจ จึงจะไม่เห็นชอบร่างของไอลอว์


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"