แผนสืบพันธุ์สัตว์น้ำ


เพิ่มเพื่อน    

 

          การประมงในประเทศไทยถือว่ามีศักยภาพที่ดีแล้วเป็นผู้นำอันดับต้นๆ ของโลก เนื่องจากภูมิศาสตร์ของประเทศที่ติดกับทะเลทั้งฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน ทำให้อาชีพหลักของคนในพื้นที่ภาคใต้ส่วนใหญ่นั้นทำประมงกันมาตั้งแต่ยุคอดีตจนถึงปัจจุบัน โดยข้อมูลจากองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ไทยติดอันดับ 1 ใน 20 ของการประมงโลก มีการผลิตสัตว์น้ำจากการจับทางธรรมชาติและการเพาะเลี้ยงต่อปีเกิน 1 ล้านตันต่อปี สะท้อนให้เห็นถึงความเข้มแข็งของภาคการประมงอย่างดีเยี่ยม

                แต่ขณะเดียวกันการทำอุตสาหกรรมดังกล่าวเป็นเรื่องที่ต้องคำนึงถึงผลกระทบที่จะตามมา โดยการเร่งจับสัตว์น้ำอาจจะเป็นเรื่องที่ส่งผลไปยังคุณภาพของสัตว์ที่ลดน้อยลง และการแพร่ขยายพันธุ์สัตว์น้ำให้สามารถคงอยู่ได้ต่อไป กลุ่มบริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ. เห็นถึงปัญหาดังกล่าวจึงเริ่มทำโครงการที่จะเพาะปลูกสัตว์น้ำ โดยเฉพาะปูที่กำลังเป็นที่นิยมในอุตสาหกรรมอาหารมากขึ้น โดยอาศัยพื้นที่และศักยภาพของบริษัทต่อยอดการอนุรักษ์ด้านต่างๆ 

                ทั้งนี้ ได้ร่วมมือกับกลุ่มชาวประมงพื้นบ้านบ้านปากน้ำแพรกเมืองและบ้านพังเค็ม และหน่วยงานในจังหวัดนครศรีธรรมราชและจังหวัดสงขลา ร่วมกันเปิดศูนย์การเรียนรู้เพาะฟักลูกปูกลุ่มปากน้ำแพรกเมือง และศูนย์การเรียนรู้เพาะฟักลูกปูกลุ่มพังเค็ม ส่งเสริมการทำประมงเชิงอนุรักษ์ เพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้กับท้องทะเล และสร้างรายได้ให้ชาวประมงพื้นบ้านอย่างยั่งยืน พร้อมขยายเครือข่ายฯ และตั้งศูนย์การเรียนรู้ฯ ครบทั้ง 17 จังหวัดรอบอ่าวไทย

                สำหรับศูนย์การเรียนรู้เพาะฟักลูกปู ก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ปี  2556 โดยศูนย์การเรียนรู้เพาะฟักลูกปูกลุ่มปากน้ำแพรกเมือง และศูนย์การเรียนรู้เพาะฟักลูกปูกลุ่มพังเค็ม ที่เปิดใหม่ทั้งสองแห่งนี้ ถือเป็นศูนย์ที่ 4 และ 5 จากที่ได้มีการเปิดศูนย์การเรียนรู้ฯ มาแล้วในจังหวัดสงขลาและปัตตานี และที่ผ่านมาศูนย์การเรียนรู้เพาะฟักลูกปูที่ได้จัดตั้งขึ้นนั้น สามารถเพาะฟักลูกปูและปล่อยคืนสู่ทะเลได้กว่า 2,000 ล้านตัว ซึ่งเป็นการช่วยเพิ่มทรัพยากรสัตว์น้ำให้กับทะเล และทำให้ชาวประมงพื้นบ้านมีรายได้เพิ่มขึ้นเฉลี่ยครัวเรือนละ 60,000 บาทต่อปี

                นายปิยะ สุขุมภาณุเมศร์ รักษาการรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มงานทรัพยากรบุคคล กิจการองค์กรและกำกับดูแล ปตท.สผ. กล่าวว่า ตระหนักถึงความสำคัญของการฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเล และส่งเสริมการสร้างรายได้อย่างยั่งยืนให้แก่ชาวประมงพื้นบ้าน โดยเฉพาะปู ซึ่งเป็นสัตว์น้ำที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ จึงจัดทำโครงการดังกล่าวขึ้นมาในการเสริมสร้างทรัพยากรธรรมชาติ และส่งเสริมชุมชนให้สามารถเติบโตอย่างยั่งยืน

                ขณะที่ นายสันติ นิยมเดชา ประธานกลุ่มอนุรักษ์ปูม้าชายฝั่งปากน้ำแพรกเมือง อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้ออกมากล่าวว่า ทุกวันนี้ทรัพยากรมีน้อยลง แต่เครื่องมือทำประมงมีจำนวนมาก ไม่สมดุลกัน จึงต้องช่วยกันฟื้นฟูทรัพยากรเพื่อให้ลูกหลานสามารถทำอาชีพประมงได้ต่อไป  อาชีพประมงก็จะมั่นคง ครอบครัวมีความสุข อยู่ได้อย่างยั่งยืน จึงเป็นเรื่องดีที่โครงการดังกล่าวเกิดขึ้นในพื้นที่นี้ จะเสริมให้ชาวบ้านสามารถใช้การประมงเป็นเครื่องมือในการทำมาหากินต่อไปได้

                อย่างไรก็ตาม โครงการดังกล่าวได้พัฒนาความรู้ด้านการเพาะฟักลูกปู สามารถสร้างเครือข่ายฯ และขยายผลจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ฯ เพิ่มขึ้นในพื้นที่ต่างๆ ได้แก่ ศูนย์การเรียนรู้เพาะฟักลูกปูกลุ่มพังสาย อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา ศูนย์การเรียนรู้เพาะฟักลูกปูกลุ่มปะนาเระ อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี ล่าสุดคือศูนย์การเรียนรู้เพาะฟักลูกปูกลุ่มปากน้ำแพรกเมือง อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช และศูนย์การเรียนรู้เพาะฟักลูกปูกลุ่มพังเค็ม อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา อีกด้วย

                ต้องยอมรับว่าทะเลคือชีวิต คือแหล่งทำมาหากินของชาวประมง ถ้าออกเรือจับสัตว์น้ำทุกวันแต่ไม่อนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์น้ำเลย ในวันหนึ่งทรัพยากรเหล่านั้นก็จะหมดลง ดังนั้น ต้องช่วยกันอนุรักษ์ทรัพยากรตั้งแต่วันนี้เพื่อให้สัตว์น้ำมีอยู่ตลอดไป ถ้าทะเลสมบูรณ์ ลูกหลานก็สามารถทำอาชีพนี้ต่อไปได้ และคนในชุมชนจะพึ่งตัวเองได้อย่างยั่งยืน.

 

 ณัฐวัฒน์ หาญกล้า

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"