'จตุพร'ไม่โลกสวยฟันธงปลายทางฉีก'รธน.'เหมือนเดิม


เพิ่มเพื่อน    

19 พ.ย. 2563 ที่ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก ศาลนัดสืบพยานโจทก์ คดีแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ชุมนุมขับไล่รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ครั้งแรกเมื่อปี 2552 ซึ่งพนักงานอัยการสำนักงานคดีอาญา 10 ยื่นฟ้อง นายวีระกานต์ มุสิกพงศ์ อดีตประธาน นปช., นายจตุพร พรหมพันธุ์ ประธาน นปช., นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ เลขาธิการ นปช., นายแพทย์เหวง โตจิราการ แกนนนำ นปช. กับพวก เป็นจำเลยรวม 13 คน ในความผิดฐานยุยงปลุกปั่น ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116, และเป็นหัวหน้าหรือผู้สั่งการตามมาตรา 215, มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป และฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ซึ่งจำเลยให้การปฏิเสธ

 

วันนี้ศาลเบิกตัวนายณัฐวุฒิ จำเลยที่ 3 ที่ถูกคุมขังอยู่ในเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ตามคำพิพากษาศาลฎีกาคดีชุมนุมบ้านสี่เสาเทเวศร์ ปี 2550 มาศาล ส่วนจำเลยอื่นเดินทางมาศาล

 

นายจตุพร พรหมพันธุ์ ประธาน นปช. ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่รัฐสภาไม่รับหลักการร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมฉบับประชาชน (ไอลอว์) ว่า การที่ทุกคนไม่ช่วยกันหาทางออก เท่ากับเป็นการผลักไสให้ผู้ชุมนุมพุ่งเป้าหมายไปที่ข้อเรียกร้องข้อที่ 3 คือการปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์แต่เพียงข้อเดียว ซึ่งทุกคนต่างรู้ว่าเมื่อวานหากมีการรับหลักการทั้ง 7 ร่าง แล้วไปแก้ไขในชั้นกรรมาธิการ อีกทั้งการแก้ไขรัฐธรรมนูญตามมาตรา256 ยังมีมาตรา255 ที่จะควบคุมการแก้ไขเอาไว้ โดยไม่สามารถที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขได้ ส่วนการที่มีความพยายามจะปั่นกระแสว่าร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมฉบับไอลอว์จะทำให้อดีตนายกรัฐมนตรีกลับประเทศไทยนั้น ก็ไม่มีข้อเท็จจริงปรากฏอยู่ เพราะรัฐธรรมนูญไม่สามารถทำให้ใครกลับบ้านได้

 

ทั้งนี้ นายจตุพร ยังกล่าวว่า นอกจากไม่มีการพยายามช่วยหาทางออกให้กับสถานการณ์แล้ว ยังมีข้อสงสัยว่าคนของรัฐก็ร่วมในการสร้างสถานการณ์โดยการนำคนเสื้อเหลืองที่กลับไปแล้วกลับเข้ามาอีกเพื่อให้เกิดการปะทะ และจะใช้มาตรการ เช่น การประกาศใช้กฎอัยการศึก หรือจะเพิ่ม พ.ร.บ.ฉุกเฉิน เข้ามา และปิดท้ายด้วยการรัฐประหาร

 

“ดังนั้นนายกรัฐมนตรีต้องสอบสวนรัฐมนตรีร่วมคณะ ว่าคนเสื้อเหลืองที่มาชุดหลังใครเป็นคนเอามา ผมพยายามเรียกร้องกันมาตั้งแต่ต้นว่า กลุ่มการเมือง ไม่ว่าจะเป็นนักเคลื่อนไหวทางการเมือง หรือจะเป็นนักการเมือง อดีตนักการเมือง ในการเคลื่อนไหวทางการเมืองต้องไม่นำเสื้อเหลืองเข้ามาสวมใส่ เสื้อเหลืองควรจะเป็นส่วนเฉพาะให้กับพสกนิกรของพระเจ้าแผ่นดิน จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่าคนเสื้อเหลืองที่ไปแสดงออกซึ่งความจงรักภักดีก็จะเป็นไปด้วยความงดงาม ความเรียบร้อย แต่เสื้อเหลืองที่มาจากนักการเมืองหรือคนทางการเมือง มักแสดงความก้าวร้าว รุนแรงพร้อมจะปะทะ” นายจตุพร กล่าว

 

ส่วนการอ่านคำวินิจฉัยกรณีการอาศัยบ้านพักราชการของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหม ในวันที่ 2 ธ.ค. นี้ นายจตุพร เชื่อว่าลึกๆสังคมมีความหวังว่านี่จะเป็นจุดคลี่คลายของสถานการณ์ ซึ่งไม่ว่าศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยอย่างไรตนไม่ไปก้าวล่วง แต่เชื่อว่าการวินิจฉัยในวันดังกล่าวไม่ว่าผลจะออกมาในรูปแบบใดก็ตามจะนำไปสู่สถานการณ์ที่มีความแตกต่างกัน

 

นายจตุพร ยังกล่าวว่า ต้องยอมรับความจริงว่านายกรัฐมนตรีเป็นปัญหา อย่างเช่นกรณีคดี ม.112 ที่นายกรัฐมนตรีได้พูดว่าใครจะพูดอะไรก็ได้ในหลวงไม่เอาความผิด ถือว่าเป็นการเปิดประตู แต่เจตนารมจริงๆของคดีคือต้องการไม่ให้ใครก็ได้ไปฟ้องร้องคดี แต่เป็นการให้อำนาจเฉพาะอัยการสูงสุดเป็นโจทย์เท่านั้น แต่การพูดของนายกรัฐมนตรีเป็นการไปเปิดประตู และเป็นจุดเริ่มต้นของปัญหาตั้งแต่วันนั้น ดังนั้นจะเห็นว่านายกรัฐมนตรีไม่ได้แก้ไขเรื่องความแตกแยกและความสมานฉันท์อย่างแท้จริง ทั้งที่เข้ามาด้วยข้ออ้างว่าคนในชาติเกิดความแตกแยก ซึ่งที่ผ่านมาคู่ขัดแย้งเดิมต่างให้ความร่วมมือด้วยดีมาตลอด

 

“ในแต่ละเรื่องราวถ้านายกรัฐมนตรีได้มองสถานการณ์ว่า ถ้าไม่ช่วยแบกรับเรื่องรัฐธรรมนูญ หรือปัญหาต่างๆ ที่ตัวเองจะต้องเสียสละเป็นคนแรก หรือเรื่องรัฐธรรมนูญเพียงท่านเปล่งวาจาว่าจะให้ผ่านแล้วไปแก้ในวาระที่ 2 ผมเขื่อว่าที้ง ส.ว.และพรรครัฐบาลก็รับกันไปทั้ง 7 ร่าง วัวไม่ให้ช้ำ น้ำไม่ให้ขุ่น แล้วไปว่ากันในชั้นคณะกรรมาธิการ ก็จะลดทอนปัญหา แทนที่จะพุ่งเป้าไปที่สถาบันพระมหากษัตริย์ แปลว่าทั้งรัฐบาลและรัฐสภาต่างช่วยเป็นด่านหน้าแบกรับ ซึ่งควรจะเป็นเช่นนั้น ไม่ใช่ว่าตัวเองเอาตัวรอด แล้วให้สถาบันพระมหากษัตริย์ได้รับผลกระทบ อันนี้เป็นเรื่องที่ควรต้องได้รับการตำหนิ” นายจตุพร กล่าว

 

นอกจากนี้ นายจตุพร ยังขอพยากรณ์การแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2560 ว่า ไม่มีวันจะได้รับการแก้ไขโดยเด็ดขาด เชื่อว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้จะเหมือนกับรัฐธรรมนูญปี 2540 และ 2550 ที่จะถูกฉีก ทุกอย่างที่เกิดขึ้นในวันนี้ ทั้งการขนกำลังเพื่อให้เกิดการปะทะกันเป็นเงื่อนไขเพื่อให้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ถูกฉีก เพราะฉะนั้นมีการออกแบบมาตั้งแต่ต้นว่าไม่ได้ร่างไว้เพื่อให้สามารถแก้ไขได้ แต่มีไว้เพื่อส่งให้กับคณะรัฐประหารชุดใหม่

 

“เพราะฉะนั้นการที่ไม่รักษาบรรยากาศทั้ง 2 วันมันชี้ได้ชัดว่า ต่างก็รู้ปลายทางว่าอย่างไรก็ตามนั้นมันต้องจบเหมือนที่เคยจบ เพียงแต่ว่าสถานการณ์ในขณะนี้มันเปราะบาง แต่ก็อ่านออกกันได้ว่า ทั้งรัฐบาลและรัฐสภาต่างไม่ช่วยเป็นด่านหน้าเพื่อปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างแท้จริง ถ้าสองส่วนนี้ต่างช่วยกันผมเชื่อว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย แต่นี่พิสูจน์ได้ชัดว่าต่างคนต่างเอาตัวรอด ไม่ได้ปกป้องสถาบัน” นายจตุพร กล่าวทิ้งท้าย


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"