อลหม่านสัมปทานสายสีเขียว


เพิ่มเพื่อน    

    ยังคงเป็นประเด็นร้อนฉ่ากรณีขยายสัมปทานรถไฟฟ้าสายสีเขียว ซึ่งก่อนหน้านี้คณะรัฐมนตรี (ครม.) ตีกลับหลายรอบ แม้ผลการเจรจาระหว่างกรุงเทพมหานคร (กทม.) กับ บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ(BTSC) จะได้ข้อสรุปทั้งเงื่อนไขสัญญาโครงการบีทีเอสเดิม และการต่อสัญญาที่ผนวกรวมกับสายสีเขียวส่วนต่อขยายช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ และหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต ที่ กทม.รับโอนมาจากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) อีก 30 ปี (2572-2602) หลังมีคำสั่ง คสช. เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2562 เร่งรัดการดำเนินการให้รวดเร็วขึ้น

                ล่าสุดการนำเสนอคณะรัฐมนตรี ครม. เมื่อวันที่ 17 พ.ย.2563 เป็นขั้นตอนต่อเนื่องจาก ครม. วันที่ 13 ส.ค.2563 ที่ติดปัญหารอ ครม.ชุดใหม่ ขณะที่ความเห็นของกระทรวงคมนาคมเพิ่งมีการเสนอไปที่เลขาธิการ ครม. ก่อนประชุมเพียงวันเดียว ดังนั้นการที่ ครม.ยังไม่มีมติในรอบนี้ได้เพื่อให้การดำเนินการครบถ้วน โดยกระทรวงมหาดไทยจะต้องทำความเห็นเป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อชี้แจงกรณีกระทรวงคมนาคมมีความเห็นไว้ และนำเสนอ ครม.อีกครั้ง

                สำหรับเหตุผลที่ก่อนหน้านี้กระทรวงคมนาคมได้มีการคัด ค้านมหาดไทยและบีทีเอส ซึ่งมองว่าเกิดการกินรวบ สายสีเขียว+ส่วนต่อขยาย ไปอีก 40 ปี คือ 1.ม44 หมดอายุไปแล้ว  อะไรที่ทำเสร็จสิ้นถือว่าคุ้มครอง อะไรที่ทำไม่เสร็จไม่คุ้มครอง เปรียบเหมือนยาหมดอายุ เอามาใช้ไม่ได้ 2.กทม.ให้คิดดอกเบี้ย 7% ทั้งที่ตอนนี้สถาบันการเงินคิดแค่ 2.5% 3.ค่าโดยสาร ตลอดสาย 65 บาท ทั้งที่เปรียบเทียบสายสีน้ำเงิน ตลอดสาย 42 บาท ถือว่าแพงมาก เพราะท่อนแรก หากครบกำหนดสัญญา (อายุสัมปทานเดิมปี 2572) การคำนวณต้นทุนต้องไม่มีค่างานก่อสร้างแล้ว คิดแค่ค่าเดินรถ ค่าโดยสารจะถูกลงมาก ส่วนท่อน 2, 3 ที่จะคำนวณต้นทุนคือ ค่าก่อสร้าง ค่าเดินรถ แต่รวมแล้วตลอดสายไม่น่าจะแพงขนาดนี้ คนขึ้นวันละเป็นล้าน ขณะที่สายสีน้ำเงิน คนขึ้นวันละ 3 แสน

                4.กทม.ปล่อยให้เอกชนเอาเปรียบ ประชาชนไปถึงไหน เด็กๆ ที่มาม็อบ ต้องรับภาระไปอีก 40 ปี รู้กันหรือยัง ไม่เห็นออกมาคัดค้านเรื่องนี้ 5.ทรัพย์สิน ที่กำลังกลับมาเป็นของรัฐ ของประชาชน ในอีก 8-9 ปี จะต้องกลายเป็นของเอกชนอีก 40 ปี 6.มีคดีเดิมระหว่างพรรคประชาธิปัตย์ ที่เป็นผู้บริหาร กทม.  ที่ให้ บ.กรุงเทพธนาคม และบีทีเอส ที่ทำสัญญากันโดยไม่มีการประมูล ขั้นตอนใน ป.ป.ช. กรณีการลงนามหนังสือสัญญาว่าจ้างการเดินรถในระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ หรือรถไฟฟ้าบีทีเอส ระหว่าง กทม.กับ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ  จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอสซี ระยะเวลา 30 ปี มูลค่า 190,000 ล้านบาท และ 7.ทางออกคือรอครบกำหนดสัมปทานแล้ว PPP ส่วนการเดินรถส่วนต่อขยายตอนนี้ ให้จ้าง รฟม.เดินรถ หรือเปิดประมูลใหม่ในช่วงรอยต่อนี้

                ขณะที่ “ศักดิ์สยาม ชิดชอบ” รมว.คมนาคม ได้กล่าวก่อนหน้านี้ว่า พลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทย รับความเห็นและข้อสังเกตของกระทรวงคมนาคมไปทำการบ้าน ซึ่งคมนาคมได้เคยให้ความเห็นไปก่อนแล้วว่าการดำเนินงานต้องถูกต้องครบถ้วนตามกฎหมายและหลักธรรมาภิบาล ขณะที่เห็นว่าขั้นตอนการดำเนินการ PPP ยังไม่ครบถ้วน ส่วนการใช้มาตรา 44 เพื่อให้ประหยัดเวลา แต่ไม่ได้ให้ละเว้นขั้นตอนที่ พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ กำหนดให้ทำ ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีหน้าที่ดำเนินการให้ครบถ้วนตามระเบียบ กรณีเจรจากับบีทีเอสผู้เดินรถรายเดิม แต่ไม่มีข้อมูลเปรียบเทียบกรณีเจรจากับเอกชนรายอื่นซึ่งรัฐอาจได้ผลประโยชน์และอัตราค่าโดยสารที่ต่ำกว่านี้อีกก็ได้

                ต้องมาลุ้นกันว่าท้ายที่สุดสัมปทานสายสีเขียวจะออกมาเป็นอย่างไร หากบีทีเอสได้รับสัมปทานการเดินรถในครั้งนี้ ต้องรอดูกันว่าค่าโดยสารที่บอกว่าไม่เกิน 65  บาทตลอดสาย ผลออกมาจะเป็นอย่างไร เนื่องจากขณะนี้กระแสสังคมไม่เห็นด้วยกับค่าโดยสารในราคานี้ ซึ่งมองว่าแพงเกินไปในยุคข้าวยากหมากแพง.

กัลยา ยืนยง


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"