ปรับตัวรับนิวนอร์มอล


เพิ่มเพื่อน    

         การแพร่ระบาดของไวรัสโควิดนั้นได้ส่งผลกระทบไปทั่วโลกทั้งเศรษฐกิจและสังคม รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน ที่ก้าวเข้าสู่ภาวะนิวนอร์มอล (New Normal) หรือความปกติใหม่ หรือชีวิตวิถีใหม่ หรืออะไรก็ตามทำให้โลกเปิดการแปลงแปลงอย่างชัดเจน ที่จะมีเรื่องของเทคโนโลยีรูปแบบใหม่เข้ามามีบทบาทมากขึ้น รวมถึงพฤติกรรมของผู้บริโภค ที่หันมาเน้นในด้านสุขภาพและพลังงานสะอาด ดังนั้น ทั้งคนและภาคอุตสาหกรรมต้องยอมรับและปรับเปลี่ยนตัวเองให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของโลก  

                เช่นเดียวกับ บมจ.ปตท. บริษัทพลังงานรายใหญ่ของไทยก็ต้องปรับตัวเช่นกัน ซึ่งหันมาปรับทิศทางของตัวเองทั้งในเรื่องของพลังงานที่เทรนของโลกให้ความสำคัญกับพลังงานสะอาดในรูปแบบใหม่ๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านการผลิตไฟฟ้า แบตเตอรี่รถยนต์ ยานยนต์ไฟฟ้า หรือรถอีซี รวมไปถึงยังให้ความสำคัญกับธุรกิจใหม่ๆ ที่ต่อยอดจากผลิตภัณฑ์เดิมและสร้างมูลค่าเพิ่มจำนวนมหาศาล เช่น กลุ่มยาและอุปกรณ์ทางการแพทย์

                ซึ่งแม่ทัพใหญ่ อรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ปตท. ออกมาระบุอย่างชัดเจนว่า ปตท.จะให้ความสำคัญกับธุรกิจพลังงานใหม่ หรือ New Energy โดยเฉพะในกลุ่มของพลังงานหมุนเวียนและเทคโนโลยีด้านพลังงานรูปแบบใหม่ๆ  

                และสดๆ ร้อนๆ เมื่อวันที่ 18 พ.ย.ที่ผ่านมานั้น คณะกรรมการบริหาร ปตท. ได้ไฟเขียวตั้งบริษัท อินโนบิก (เอเซีย) จำกัด ด้วยทุนจดทะเบียนเริ่มแรกไม่เกิน 300 ล้านบาท และอนุมัติเพิ่มทุนเป็นประมาณ 2,000 ล้านบาท เพื่อรองรับการลงทุนของ ปตท. และบริษัทในกลุ่ม ปตท. ในธุรกิจใหม่ตามกลยุทธ์ New S-Curve : Life Science อาทิ ธุรกิจยา ธุรกิจ Nutrition ธุรกิจอุปกรณ์การแพทย์ เป็นต้น รวมถึงยังเป็นการพัฒนาศักยภาพความสามารถของ ปตท.ในด้าน Life Science (วิทยาศาสตร์ชีวภาพ) และเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับประเทศ ทั้งนี้ บริษัท อินโนบิก (เอเซีย) จำกัด ถือเป็นบริษัทย่อยของ ปตท.

                งานนี้ บุรณิน รัตนสมบัติ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่บริหารกลยุทธ์กลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นปลาย ปตท. ในฐานะที่กำกับดูแล ก็ไม่ล่าช้าลุยเดินหน้าอย่างรวดเร็วทันใจ เตรียมคัดเลือกบุคลากรที่เป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านเวชภัณฑ์ และพนักงานส่วนหนึ่งจาก ปตท. รวมประมาณ 15-20 คน เพื่อมาร่วมกัน กำหนดทิศทางการดำเนินนโยบายของบริษัทภายในครึ่งหลังของปี 2564 และตั้งเป้าหมายวิจัยพัฒนาและผลิตเพื่อจำหน่ายเชิงพาณิชย์ได้ในปี 2565 เช่น ยา หน้ากากอนามัย ถุงมือยาง อาหารเพื่อสุขภาพ เป็นต้น

                ซึ่งตามเป้าหมายที่ ปตท.ได้วางไว้นั้น ในระยะแรกปีที่ 1-5 จะเป็นการร่วมมือกับพันธมิตรจากต่างประเทศ หรืออาจเป็นการซื้อกิจการเพื่อลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาด้านเวชภัณฑ์มากขึ้น เพื่อยกระดับให้ ปตท.เป็นผู้นำอุตสาหกรรมยาและเวชภัณฑ์ในภูมิภาคอาเซียนภายในปี 2573 ซึ่งข้อมูลในปี 2561 พบว่าไทยมีมูลค่าตลาดยาอยู่อันดับ 3 ของอาเซียน รองจากเวียดนามอันดับ 2 และอินโดนีเซียอันดับ 1

                และขณะนี้ ปตท.อยู่ระหว่างศึกษาความเป็นไปได้ในการสร้างโรงงานผลิตยารักษาโรคมะเร็งขั้นละเอียด (Detailed Feasibility Study) ร่วมกับองค์การเภสัชกรรม (อภ.) แห่งแรกของประเทศไทย ตั้งอยู่ในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมวนารมย์ของ ปตท. หรือ PTT WEcoZi อ.บ้านฉาง จ.ระยอง คาดว่าใช้เวลาประมาณ 14 เดือนแล้วเสร็จ เพื่อสรุปผลการศึกษาและแนวทางขับเคลื่อนต่อไป ซึ่งตามแผนก่อสร้างในปี 2565 เพื่อให้สามารถทำการวิจัยพัฒนาและผลิตยารักษาโรคมะเร็งเพื่อจำหน่ายเชิงพาณิชย์ได้ในปี 2570

                อย่างไรก็ตาม การเดินหน้าลุยธุรกิจใหม่ของ ปตท.นั้นถือว่าสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาประเทศ ในการมุ่งเน้นเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน เศรษฐกิจสีเขียว (BCG Economy) ซึ่งเป็น New S-Curve ของประเทศไทย โดยอุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร (Comprehensive Medical Industry) เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพ และจะมีบทบาทสำคัญในการผลักดันเศรษฐกิจของไทยเป็นศูนย์กลางทางด้านสุขภาพและวิทยาศาสตร์เพื่อชีวิตที่ดีขึ้น (Life Science) ซึ่งเป็นยอดพีระมิดสูงสุดในอุตสาหกรรมชีวภาพ และที่สำคัญคือการปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในโลกยุคดิจิทัล จึงจะทำให้องค์กรสามารถเดินหน้าและเติบโตได้ แต่ถ้าไม่ยอมที่จะปรับตัวย่ำอยู่กับในยุคดิจิทัลดิสรัปชัน (digital disruption) สุดท้ายก็ต้องล้มหายตายจากไป.

 

บุญช่วย ค้ายาดี


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"