'เพชรชมพู' โชว์กึ๋น 'ปฏิรูปนักการเมือง' ประชาชนต้องเข้าใจอำนาจหน้าที่ ส.ส. ไม่ใช่คนแจกข้าวของในพื้นที่


เพิ่มเพื่อน    

23 พ.ย.63 - นางสาวเพชรชมพู กิจบูรณะ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรครวมพลังประชาชาติไทย(รปช.) โพสต์เฟซบุ๊กเขียนบทความหัวข้อ "ปฏิรูป​นักการเมือง​ -​ หน้าที่​ ส.ส.​ และ​ หน้าที่ประชาชน" มีเนื้อหาดังนี้​ การปฏิรูปการเมือง​ และการปฏิรูป​นักการเมือง​ เป็นเรื่องที่เราพูดกันมาทุกยุคทุกสมัย​ แต่ไม่สามารถ​นำมาปฏิบัติ​ได้อย่างเต็มรูปแบบสักที​ เมื่อวันก่อนมีผู้มาแสดงความเห็นในโพสต์​ของเพชร​ ขอให้เพชรพูดถึงเรื่องนี้​ วันนี้​เลยขออนุญาต​มาอธิบาย​ถึงหน้าที่ของ ส.ส.​ การปฏิรูป​นักการเมือง​ และ​ การมีส่วนร่วม​ของประชาชนที่จะทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลง​ที่แท้จริงค่ะ 

อันดับ​แรก​ ก่อนที่เราจะปฏิรูปนักการเมือง​ได้​ เราต้องรู้ก่อนว่า​ สิ่งไหน​และอะไรคือหน้าที่ที่แท้จริงของคนที่เราเลือกมาเป็นผู้แทนของเรา​ เมื่อไหร่​ก็ตามที่ความเข้าใจ​ในส่วน​นี้​คลุมเครือ​ เราก็ไม่อาจแก้ปัญหา​ได้อย่างตรงจุด 

รัฐสภา​ เป็นองค์กรนิติบัญญัติ​ ซึ่งเป็น 1 ใน​ 3 เสาหลักในประชาธิปไตยที่คอยถ่วงดุล​อำนาจซึ่งกันและกัน​ (อำนาจบริหาร​ อำนาจนิติบัญญัติ​ และ​ อำนาจตุลาการ)​ คำว่า​ นิติบัญญัติ​ หากแปลตรงตัว คือ​ การตรากฎหมาย​ เพราะฉะนั้น​จริงไม่ใช่เรื่องแปลกเลย​ที่ในต่างประเทศ​ นอกจากการเรียกสมาชิกรัฐสภา​ว่า​ Member​ of Parliament แล้ว​ ยังใช้คำว่า​ Lawmaker หรือผู้ตรากฎหมาย​นั่นเองค่ะ 
อำนาจและหน้าที่ของสมาชิก​สภาผู้แทน​ราษฎร​ ถูกแบ่งออกเป็น​ 2 ส่วนหลักๆ​ ด้วยกัน​ คือ​ การพิจารณา​/เสนอกฎหมาย​ และ​ การกำกับควบคุม​การบริหารราชการแผ่นดิน​ของฝ่ายบริหาร​ โดยเพชรจะขออธิบายเป็นรายละเอียด​ย่อยๆ​ ดังนี้ค่ะ 

1. ส.ส. มีหน้าที่เสนอและพิจารณา​ร่างพระราชบัญญัติ​ (พ.ร.บ.) เพชรเคยเขียนเรื่องกระบวนการ​การ​ตรากฎหมาย​อย่างละเอียด​ไว้แล้ว​ในโพสต์​นี้ค่ะ​ https://facebook.com/story.php?story_fbid=3464183183650390&id=608898795845524 

2. ส.ส.​ มีหน้าที่ให้ความเห็นชอบอนุมัติ​หรือไม่อนุมัติ​พระราชกำหนด​ (พ.ร.ก.) ที่ออกโดยฝ่ายบริหาร​ พ.ร.ก. นั้นต่างกับ พ.ร.บ.​ ตรงที่ถูกตราขึ้นในกรณีฉุกเฉิน​ที่มีความจำเป็นเร่งด่วนอันมิอาจหลีกเลี่ยง​ได้​ เพื่อประโยชน์ในการรักษาความปลอดภัย​ของประเทศ​ ความปลอดภั​ยสาธารณะ​ ความมั่นคง​ทางเศรษฐกิจ​ หรือเพื่อป้องปัดภัยพิบัติ​สาธารณะ​ ใช้ในกรณีที่หากรอต้องรอสภาฯ​ ตรา​กฎหมาย​ขึ้นมาอาจจะไม่ทันการ​ พ.ร.ก. มีผลบังคับใช้​ทันที​ แล้วจึงเป็นหน้าที่ของสภาฯ​ ในภายหลัง​ที่จะอนุมัติหรือไม่อนุมัติ​ ถ้าอนุมัติ​ พ.ร.ก. ก็มีผลเหมือนเป็น​ พ.ร.บ. ฉบับหนึ่ง​ ถ้าไม่อนุมัติ​ พ.ร.ก. ฉบับนั้นก็ตกไป​ และถือว่าไม่มีผลบังคับใช้​ตั้งแต่วันที่สภาฯ​ มีมติไม่อนุมัติ 

3. ส.ส. มีหน้าที่พิจารณา​ พ.ร.บ. งบประมาณ​รายจ่าย​ประจำปีงบประมาณ​ ซึ่งถือเป็น​ พ.ร.บ. ที่มีความสำคัญ​มากที่สุด​ พ.ร.บ. หนึ่งในแต่ละปี​ เพราะเป็นเรื่องงบประมาณ​แผ่นดิน​ในปีนั้นๆ​ และมีผลเป็นอย่างยิ่งในการดำเนิน​นโยบายของรัฐบาล 

4. หน้าที่ของ​ ส.ส.​ ในการกำกับควบคุม​การบริหารราชการแผ่นดิน​ของฝ่ายบริหาร​​ สามารถ​ทำได้ในหลายรูปแบบด้วยกัน​ เช่น​ การตั้งกระทู้ถามรัฐมนตรี​เรื่องการดำเนินนโยบาย​ของรัฐบาล​ในขณะนั้น​ การเปิดอภิปราย​ทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐมนตรีเป็นรายบุคคล​หรือทั้งคณะ​ การเปิดอภิปราย​ทั่วไปเพื่อซักถามข้อเท็จจริง​หรือเสนอแนะปัญหา​ต่อคณะรัฐมนตรี​ หรือ​ การเปิดอภิปราย​ทั่วไปในที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา ​เป็นต้น 

5. อำนาจของ​ ส.ส. ในการแต่งตั้งคณะกรรมาธิการ​ ถือเป็นเรื่องอีกเรื่องที่ไม่สามารถ​ละเลยได้​ เพราะเป็นการตั้งคณะบุคคลมาทำงานเฉพาะเรื่อง​ เพื่อสอบหาข้อเท็จจริง​ หรือศึกษา​เรื่องใดๆ​ ตามที่สภาฯ​ มอบหมาย​ จริงเป็นที่สังเกตุ​ได้ว่า​ เรื่องที่จำเป็นต้องลงลึก​ ต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญ​และนักวิชาการ​มาให้ข้อมูลประกอบ​ หลังจากอภิปราย​กันพอสมควร​ในสภาฯ​ แล้ว​ ก็จะมีการตั้งคณะกรรมาธิการ​ขึ้นมาเพื่อเจาะให้ถึงแกนกลาง​ของปัญหา​ และเสนอวิธีแก้ไข​ที่ชัดเจน​และครอบคลุม​ค่ะ 

6. การเข้าชื่อถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง​ และผู้ดำรงตำแหน่ง​ในองค์กร​อิสระ​ เป็นสิ่งที่​ ส.ส. พึงทำได้​ โดยจะมีกระบวนการในการส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญ​วินิจฉัย​สมาชิกภาพของสมาชิกรัฐสภา​ หรือ​ ให้​ศาลฎีกามีการตั้งผู้ไต่สวนอิสระในกรณีที่​มีกรรมการ​ ป.ป.ช. มีพฤติการณ์​ร่ำรวยผิดปกติ​ ทุจริต​ต่อหน้าที่​ จงใจปฏิบัติ​หน้าที่​หรือใช้อำนาจขัดต่อกฎหมาย 

7. เรื่องที่ไม่พูดถึง​ไม่ได้เด็ดขาด​ คือ​ อำนาจของ​รัฐสภา​ในการให้ความเห็นชอบแต่งตั้ง​บุคคลเป็นนายกรัฐมนตรี​ ไทยเป็นประเทศ​ที่ใช้ระบบรัฐสภา​ ประชาชนเป็นคนเลือกผู้แทน​ และผู้แทนจึงไปเลือกนายก​รัฐ​มน​ตรี​ ไม่เหมือนระบบประธานาธิบดี​ที่ประชาชนเลือกผู้นำรัฐบาล​โดยตรง เพราะฉะนั้น​ ในระบบรัฐสภา​ ผู้แทนจึงมีหน้าที่รับผิดชอบ​โดยตรงต่อประชาชน​ และ​ นายกรัฐมนตรี​ในฐานะหัวหน้าฝ่ายบริหารจึงมีหน้าที่รับผิดชอบ​โดยตรงต่อสภาฯ​ นั่นเอง 

ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้​ คือ​ สรุปภาพรวมอำนาจหน้าที่ของ​ ส.ส.​ จะเห็นได้ว่า​ ส.ส. ไม่ได้มีหน้าที่ทำโครงการ​สร้างถนน​ สะพาน​ หรือ​ สาธารณูปโภค​ต่างๆ​ ไม่ได้มีหน้าที่แจกข้าวของ​เครื่องใช้​ เครื่องอุปโภคบริโภค​ นั่นคือหน้าที่ของหน่วยงานรัฐ​ที่เกี่ยวข้อง​ หน้าที่ของฝ่ายบริหาร​ และ​ หน้าที่ขององค์กร​ปกครอง​ส่วนท้องถิ่น

ถ้าเราอยากปฏิรูป​นักการเมือง​ อยากปฏิรูป​การเมือง​ เราก็จำเป็นต้องมีความเข้าใจที่ตรงกัน​ในเรื่องอำนาจหน้าที่ของ​ ส.ส.​ ที่ถูกต้อง​ ประชาชน​ผู้มีสิทธิ​เลือกตั้ง​คือ​ หัวใจของการเปลี่ยนแปลง​นี้​ ถ้าอยากเห็นการเมืองที่ดี​ อยากได้นักการเมือง​ที่ดี​ ก็ต้องเริ่มจากการเลือกผู้แทนที่ปฏิบัติ​หน้าที่ตามที่กฎหมาย​กำหนด​ ผู้แทนที่ยึดถือประโยชน์​ของประเทศชาติ​และ​ประชาชน​เป็นหลัก​ การเปลี่ยนแปลง​อะไรสักอย่าง​ ไม่สามารถ​ทำได้ในวันสองวัน​ แม้จะเห็นผลช้า​ แต่นี่จะ​เป็นการเปลี่ยนแปลง​ที่ยั่งยืน​ที่สุดค่ะ 

เพชร​ชมพู​ กิจ​บูรณะ​
23 พฤศจิกายน​ 2563


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"