ปรับตัวรับโควิด


เพิ่มเพื่อน    

 

            เมื่อพูดถึงเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่แพร่กระจายไปทั่วโลก ทำให้เกิดผลกระทบเป็นวงกว้าง ทุกอุตสาหกรรมต้องหยุดชะงักเนื่องจากเชื้อโควิด แน่นอนว่าในช่วงเวลาดังกล่าวทำให้ประชาชนคนส่วนใหญ่ที่ต้องดิ้นรนในการทำงานต้องได้รับผลกระทบไปตามๆ กัน เนื่องจากหลายประเทศทั่วโลกได้มีการประกาศล็อกดาวน์ห้ามคนออกจากบ้าน แน่นอนว่าผลกระทบที่ตามมาคือขาดรายได้ เช่นเดียวกับประเทศไทยเราก็ได้รับผลกระทบเช่นเดียวกัน

                เช่นเดียวกับ กรุงศรี คอนซูมเมอร์ ผู้ให้บริการด้านบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล ประกอบด้วย บัตรเครดิตกรุงศรี, บัตรกรุงศรีเฟิร์สช้อยส์, บัตรเครดิตเซ็นทรัล เดอะวัน และบัตรเครดิตเทสโก้ โลตัส วีซ่า ได้ให้ข้อมูลว่า สถานการณ์โควิด-19 ในประเทศไทย แม้จะได้รับผลกระทบ แต่พฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป รวมถึงบรรยากาศการจับจ่ายที่เริ่มฟื้นตัว ส่งผลให้ผลประกอบการในไตรมาสที่ 3/2563 ของกรุงศรี คอนซูมเมอร์ เริ่มปรับตัวดีขึ้นเทียบกับช่วงล็อกดาวน์ โดยมียอดใช้จ่ายผ่านบัตร 196,000 ล้านบาท ยอดสินเชื่อใหม่ 58,000 ล้านบาท ยอดสินเชื่อคงค้าง 133,000 ล้านบาท

                อย่างไรก็ตาม ขณะที่ไตรมาสที่ 4/63 คาดว่ายอดใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตจะเติบโตกว่า 20% เทียบกับในไตรมาสที่ 3 และคาดว่าตลอดทั้งปี 2563 จะมียอดใช้จ่ายผ่านบัตร 280,000 ล้านบาท ติดลบ 11% ยอดสินเชื่อใหม่ 83,000 ล้านบาท ติดลบ 15% และยอดสินเชื่อคงค้าง 144,000 ล้านบาท

                ขณะที่ยอดการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตจะเริ่มดีขึ้น เพราะว่าตอนนี้ถ้าไม่มีสถานการณ์ทำให้เกิดความไม่สบายใจ จริงๆ แล้วไตรมาส 4 คาดว่าลูกค้าจะมาใช้มากขึ้น 20% แต่จากการประเมินสถานการณ์ตอนนี้ ถึงแม้ว่าจะมีผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจและอารมณ์ของคน ก็ยังมีการใช้จ่ายผ่านบัตรอยู่ ปลายปี 63 น่าจะได้ 25%

                ทั้งนี้ยอมรับว่า หลังโควิดพบว่าอัตราลูกหนี้คงค้าง หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ หรือหนี้เสีย (NPL) สูงขึ้น และยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น หากเทียบกับปัจจุบันหนี้เสียโดยรวมของกรุงศรี คอนซูมเมอร์ อยู่ที่ระดับ 2.25% โดยช่วงก่อนโควิด เดือน ก.พ. อยู่ที่ระดับ 2.14% ซึ่งคาดว่าภาวะหนี้เสียจะไม่เกิน 2.5% ไปจนถึงสิ้นปี 2563 เพราะผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจและโควิด-19 ส่งผลให้รายได้ลูกหนี้ลดลง โดยมีรายละเอียด NPL ดังนี้ จากสินเชื่อบัตรเครดิต อยู่ที่ 1.51% ขณะที่ช่วงก่อนโควิด เดือน ก.พ. อยู่ที่ระดับ 1.37% ขณะที่สินเชื่อส่วนบุคคล (P-Loan) ปัจจุบันอยู่ที่ 3.02% ขณะที่ช่วงก่อนโควิด เดือน ก.พ. อยู่ที่ 2.9%

                สำหรับสภาวะการดำเนินธุรกิจสินเชื่อรายย่อยอย่างบัตรเครดิต และสินเชื่อส่วนบุคคลในปัจจุบันค่อนข้างผันผวน ความสามารถในชำระคืนยังต่ำ เพราะรายได้ของลูกหนี้ลดลง แม้ว่าในช่วงล็อกดาวน์ บริษัทได้หามาตรการต่างๆ เพื่อช่วยเหลือลูกหนี้ ด้วยมาตรการพักชำระหนี้ให้ 2 เดือน ประมาณ 1 ล้านบัญชีไปแล้ว ซึ่งพบว่าหลังจากพักชำระหนี้ 2 เดือน ลูกหนี้เริ่มชำระคืนมากขึ้น

                ส่วนใครที่ยังจ่ายไม่ไหว ก็เข้าโครงการพักชำระหนี้ต่อไป ทั้งรีไฟแนนซ์และปรับลดดอกเบี้ยลงด้วย โดยตัวเลขผู้เข้าร่วมมาตรการรีไฟแนนซ์ ในระยะที่ 1 และ 2 พบว่า มีประมาณ 90,000 บัญชี เป็นวงเงินประมาณ 4,000 ล้านบาท ซึ่งมาตรการนี้ยังเปิดรับเข้าร่วมมาตรการรีไฟแนนซ์ได้จนถึงปลายปี 2563

                เพราะฉะนั้นถ้าดูกันตอนนี้ โอกาสหนี้เสียโดยรวมปลายปี อาจอยู่ที่ 2.5% ก็มีโอกาสเป็นไปได้ ถ้าหากสถานการณ์ยังแย่และอะไรก็ไม่ดีขึ้น เพราะว่าลูกหนี้ส่วนใหญ่มีปัญหา ไม่มีคนจ้างงาน รายได้ลดน้อยลงมันก็จะยาวขึ้น เราคาดการณ์ว่าสถานการณ์นี้จะยาวๆ ไปจนถึงปลายปี 2564 แน่นอน เพราะฉะนั้นตัวเลขที่ดูดีขึ้น ยังสบายใจไม่ได้

                ต้องยอมรับว่า กรุงศรี คอนซูมเมอร์ แม้จะได้รับผลกระทบจากโควิด แต่ยังดูแลเอาใจใส่ลูกค้า จึงไม่แปลกใจว่าทำไมลูกค้ายังคงเหนียวแน่น ซึ่งแม้ว่าจะสิ้นสุดมาตรการช่วยเหลือระยะที่ 2 ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในสิ้นปีนี้ แต่กรุงศรี คอนซูมเมอร์ ก็ยังมีมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ต่อเนื่อง ทั้งการลดดอกเบี้ยให้ลูกหนี้และปรับโครงสร้างหนี้ โดยมีการยืดระยะเวลาการผ่อนชำระคืนให้ลูกหนี้ถึง 96 เดือน (8 ปี) ซึ่งสูงที่สุดเท่าที่บริษัทเคยมี จากที่กำหนดระยะเวลาผ่อนชำระหนี้ 48 เดือน เรื่องนี้ก็ถือเป็นเรื่องราวดีๆ กลับคืนให้แก่ลูกค้า.

 กัลยา ยืนยง


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"