นายกฯแก้มปริ นักธุรกิจสหรัฐ ยอไทยน่าลงทุน


เพิ่มเพื่อน    

 

“บิ๊กตู่” ปลื้มปริ่มหารือ “สภาธุรกิจสหรัฐอเมริกา-อาเซียน” แบบกึ่งออนไลน์ ชี้เหมือนพบเพื่อนเก่าในยามยาก “ทูตมะกัน” ชี้ไทยน่าลงทุนประเทศหนึ่งในโลก “ประธาน USABC” เชื่อจะเป็นผู้นำฟื้นฟูหลังโควิด
    เมื่อวันพุธที่ 25 พฤศจิกายน ที่ห้องวิเทศสโมสร กระทรวงการต่างประเทศ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้อนุญาตให้คณะนักธุรกิจจากสภาธุรกิจสหรัฐเมริกา-อาเซียน (U.S. - ASEAN Business Council: USABC) เข้าพบในรูปแบบกึ่งออนไลน์ โดยมีคณะนักธุรกิจบริษัทสมาชิก USABC จำนวน 28 บริษัทเข้าเยี่ยมคารวะ  และอีก 11 บริษัทเข้าเยี่ยมคารวะผ่านระบบการประชุมทางไกล ก่อนหารือในเรื่องเศรษฐกิจ
ทั้งนี้ ระหว่างพักการหารือ พล.อ.ประยุทธ์ได้ยิ้มทักทายสื่อมวลชนอย่างอารมณ์ดี พร้อมชู 2 นิ้วด้วย
    นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกฯ กล่าวสรุปการประชุมว่า นายกฯ ได้กล่าวต้อนรับนายอเล็กซ์ เฟลด์แมน  ประธาน USABC, นายเจฟฟ์ เลอร์แมน กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท Chevron Asia South, คณะผู้บริหาร USABC และผู้แทนบริษัทสมาชิก USABC รวมถึงชื่นชมนายไมเคิล ดีซอมเบร เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ที่มีบทบาทอย่างแข็งขันในการส่งเสริมความร่วมมือไทย-สหรัฐ โดยเฉพาะในด้านเศรษฐกิจ ซึ่งการพบปะหารือคณะผู้แทน USABC เป็นประจำทุกปีเปรียบเสมือนการพบเพื่อนเก่า และการพบกันท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 จึงเปรียบเสมือนเครื่องพิสูจน์ความใกล้ชิดและความพร้อมในการร่วมมือระหว่างกัน
โดยในการหารือนายกฯ ได้เล่าถึงการเข้าร่วมการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 37 และการประชุมสุดยอดอาเซียน-สหรัฐ ครั้งที่ 8 ที่ได้เสนอให้อาเซียน-สหรัฐกระชับความร่วมมือใน 3 ประเด็น ทั้งการส่งเสริมความมั่นคงด้านสาธารณสุข การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกและภูมิภาค และการพัฒนาทุนมนุษย์ รวมถึงการลงนามความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค หรือ RCEP ทั้งนี้ นายกฯ ยังได้กล่าวถึงพัฒนาการที่สำคัญคือ มาตรการด้านสาธารณสุขควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 รวมถึงการฟื้นฟูเศรษฐกิจด้วย
    ขณะที่นายไมเคิลกล่าวว่า ไทยเป็นประเทศที่เหมาะสมต่อการลงทุน เอื้ออำนวยและส่งเสริมสภาวะแวดล้อมที่ดีต่อการลงทุน ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีศักยภาพในด้านการลงทุนอย่างยิ่งในโลก พร้อมกล่าวชื่นชมการรับมือกับการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่ประสบความสำเร็จ และได้รับการยอมรับเป็นที่ประจักษ์
    ส่วนนายอเล็กซ์กล่าวชื่นชมการจัดการโรคโควิด-19 ว่าทำให้ประเทศไทยมีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการลงทุนของสหรัฐ โดยไทยเป็นตลาดการค้าที่สำคัญในภูมิภาคเอเชีย มั่นใจว่าประเทศไทยจะมีบทบาทสำคัญในการฟื้นฟูอาเซียนภายหลังโรคโควิด-19 ซึ่ง USABC ได้จัดตั้งคณะกรรมการเพื่อแสวงหาความร่วมมือใน 3 ด้าน ได้แก่ 1.ส่งเสริมความร่วมมือด้านสาธารณสุข 2.สร้างความมั่นใจต่อผู้บริโภค และ 3.ฟื้นฟูเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน นอกจากนี้ สหรัฐยังยินดีร่วมมือกับไทยในการแจกจ่ายวัคซีนอย่างทั่วถึงและราบรื่น พร้อมหวังว่าไทยจะเปิดเสรีในการเดินทางข้ามพรมแดนมากขึ้นเพื่อฟื้นฟูการท่องเที่ยว
ต่อมาในเวลา 12.20 น. พล.อ.ประยุทธ์แถลงหลังประชุมกับสภาธุรกิจสหรัฐอเมริกา-อาเซียน ว่าได้หารือทั้งหมด 10 กลุ่ม ประกอบด้วย 1.เวชภัณฑ์และเครื่องมือแพทย์ 2.เครื่องดื่มแอลกอฮอล์และน้ำอัดลม 3.กลุ่มยาสูบ 4.กลุ่มอุตสาหกรรม 5.กลุ่มพลังงาน 6.กลุ่มโลจิสติกส์และบริการ 7.กลุ่มเทคโนโลยีและสารสนเทศ 8.กลุ่มระดับที่ปรึกษา 9.กลุ่มประกันภัย และ 10 กลุ่มบริษัทบัตรเครดิต ซึ่งทั้งหมดมีการประกอบการในประเทศไทยอยู่แล้ว จึงชักชวนให้มาลงทุนสิ่งใหม่ๆ เพิ่มขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับโลกยุคดิจิทัล
    "ผมได้กล่าวขอบคุณและชื่นชมที่เขายินดีลงทุนอย่างต่อเนื่อง โดยเน้น 3 ด้านด้วยกัน มีความมั่นคงด้านสาธารณสุข การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกและภูมิภาค  และการพัฒนาทุนมนุษย์ และผมบอกเขาว่าทำอย่างไรเราถึงจะมีช่องทางพิเศษเพื่อใช้ส่งสินค้าและเดินทางระหว่างกันระหว่างประเทศต่อประเทศ? เรากำลังดำเนินการอยู่ในมาตรการของศูนย์บริหารสถานการณ์เศรษฐกิจที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 (ศบศ.) ถ้าเราทำตรงนี้ได้จะลดอุปสรรคในการขนส่งสินค้า และผมย้ำกับเขาว่าขอให้เชื่อมั่น” พล.อ.ประยุทธ์กล่าว
    พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า ในเรื่องของเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ได้มุ่งเน้นไปว่าเราให้สิทธิประโยชน์ที่มากพอสมควรและต้องดูว่าถ้าหากเขาต้องการในภูมิภาคอื่น เราจะมีมาตรการพิเศษตรงนั้นเพิ่มขึ้นมาได้อย่างไรเพื่อจูงใจ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) และกระทรวงการคลังกำลังดูแลในส่วนนี้อยู่
    เมื่อถามถึงการหารือมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจกับนายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกฯ และ รมว.พลังงาน และนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.การคลัง นายกฯ กล่าวว่า เป็นการหารือนอกรอบเป็นการส่วนตัว ได้พูดคุยกันว่าจะดูแลช่วยเหลือเยียวยาค่าครองชีพกันอย่างไร โดยเฉพาะผู้ที่ได้รับผลกระทบ จากนั้นได้หารือเรื่องการลงทุนภาครัฐ โครงสร้างพื้นฐาน น้ำ ราง ถนน เป็นการใช้จ่ายภาครัฐทำให้เกิดการหมุนเวียนในระบบข้างล่าง ทำอย่างไรจะดึงดูดนักลงทุนชาวต่างชาติเข้ามา ซึ่งวันนี้ก็ได้พูดคุยไปแล้ว เราต้องพิจารณาเรื่องของกฎหมาย ภาษี โดยยึดว่าประชาชนและประเทศจะได้ประโยชน์อะไร เราจำเป็นต้องรู้ข้อมูลต่างๆ ของประชากร ซึ่งไม่ใช่ไปละเมิดสิทธิมนุษยชน แต่ต้องรู้ข้อมูลเพื่อช่วยเหลือและให้เม็ดเงินลงไปอย่างทั่วถึง.

 


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"