'โรม' โวย 'ไพบูลย์' มัดมือ ส.ส.ร.


เพิ่มเพื่อน    

27 พ.ย.63 - ที่รัฐสภา นายรังสิมันต์ โรม ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ในฐานะกรรมาธิการ(กมธ.)พิจารณาร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแก้ไขเพิ่มเติม กล่าวถึงการแก้ไขรัฐธรรมนูญว่า ยังเป็นกระบวนการที่ไม่รู้จะจบอย่างไร มีหลายส่วนที่จะต้องพูดคุยกัน แต่ยอมรับว่ากังวลคณะกมธ. จะทำให้สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ(ส.ส.ร.)ที่จะมีขึ้นในอนาคตทำงานยากขึ้น ตนยกตัวอย่างตามที่ นายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ส.บัญชีรายชื่อ รองหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) ในฐานะรองประธานกมธ.ให้สัมภาษณ์ไม่เห็นด้วยที่จะมีการแก้ไขปลดล็อกหมวด 1 หมวด 2 ที่ ส.ส.ร.จะเข้ามาแก้ไขได้ รวมถึงญัตติต่างๆที่เคยตกไปแล้ว ทั้งอำนาจในการเลือกนายกรัฐมนตรีของส.ว. หรือมาตรา 279 ซึ่งเป็นบทบัญญัติรับรองคำสั่งของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) สิ่งเหล่านี้หากเราล็อกไว้หมด ตกลงเรากำลังจะทำหน้าที่แทน ส.ส.ร.หรือไม่ ซึ่งจุดนี้ตนคิดว่าอันตราย การทำหน้าที่ของกมธ.สิ่งที่เราควรจะคิดให้มากที่สุดคือ จะทำอย่างไรให้ส.ส.ร.สามารถทำงานได้ง่าย และร่างรัฐธรรมนูญให้เป็นของประชาชน

“ไม่ใช่ว่าส.ส.ร.ทำเรื่องนั้นเรื่องนี้ไม่ได้ แต่ควรทำเรื่องนี้เท่านั้น ถ้าเราทำแบบนี้แสดงว่าเราทำแทนส.ส.ร. และคิดแทนประชาชน ซึ่งไม่ใช่วัตถุประสงค์ของการตั้งกมธ. ผมคิดว่าการที่นายไพบูลย์ ออกมาให้สัมภาษณ์ในลักษณะนี้ เท่ากับว่านายไพบูลย์คิดเอาแต่ได้ ไม่สนใจว่ารัฐธรรมนูญของประชาชนจะเป็นอย่างไร ถ้านายไพบูลย์คิดเรื่องดังกล่าวมาก ผมเสนอว่า นายไพบูลย์ควรทำ 2 อย่างคือ 1.ไปรณรงค์ในวันที่มี ส.ส.ร.เพื่อโน้มน้าวให้ส.ส.ร.รับฟังเหตุผล และร่างรัฐธรรมนูญในสิ่งที่นายไพบูลย์ต้องการออกมา และ 2.นายไพบูลย์ลาออกไปเป็นส.ส.ร.จะดีกว่าการที่จะมาใช้กลไกลของกมธ. เพราะเราอยากเห็นรัฐธรรมนูญที่มาจากสสร.ที่เป็นตัวแทนของประชาชน” นายรังสิมันต์ กล่าว

ด้านนายจิรวัฒน์  อรัณยกานนท์ ส.ส.กทม. พรรคก้าวไกล ขอให้ประชาชนจับตาจากการให้สัมภาษณ์ของนายไพบูลย์ในประเด็นเสนอให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมฉบับรัฐบาล ที่เดิมมาตรา 256/13 วรรค 5 เขียนไว้ว่าห้ามแก้หมวด 1และหมวด 2  และให้คงบทเฉพาะกาลไว้ ในมาตรา 269 , 272 และ 279 คือเมื่อมีการเลือกตั้งส.ส.ร.จะยกร่างทั้งฉบับ แต่ต้องมีบทเฉพาะกาลอันนี้ไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ก็หมายความว่านายไพบูลย์ต้องการให้ 3 มาตรานี้คงไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ท้ายที่สุดจะใช้เวทีของส.ส.ร.นี้ทำเพื่อประโยชน์ของใคร จึงต้องจับตาการทำหน้าที่ของส.ส.ร.ให้ดี  และการที่เอาบทบัญญัติตามมาตราในบทเฉพาะกาลนี้ซึ่งเป็นปัญหาที่มีความขัดแย้งในสังคมอยู่แล้ว และต้องมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตราไปด้วยนั้น 3 มาตราที่จะคงในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ จะต้องถูกแก้และเสนอญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตรามาอีกครั้งหนึ่ง ดังนั้น ตนคิดว่าถ้ามีการคงไว้ 3 มาตรานี้ และล็อคส.ส.ร.ไว้จะเกิดความขัดแย้งเป็นฝืนเป็นไฟอีกครั้ง

เมื่อถามว่าการปล่อยให้ส.ส.ร.มีอำนาจเต็มในการแก้ไขรัฐธรรมนูญจะทำให้มีการตีเช็คเปล่าหรือโอนอำนาจหรือไม่ นายรังสิมันต์ กล่าวว่า อย่าใช้วาทกรรมตีเช็คเปล่าอะไรเลย เพราะการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ส.ส. และ ส.ว. มีอำนาจในการแก้ไขรัฐธรรมนูญก็เป็นการตีเช็คเปล่าเหมือนกัน การที่เราให้อำนาจ ส.ส.ร. มาจากการเลือกตั้งเป็นกระบวนการหนึ่งที่เราสร้างความชอบธรรมที่จะทำให้รัฐธรรมนูญฉบับถัดไปเป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ และแก้ปัญหา ถ้าบอกว่าเป็นการตีเช็คเปล่าก็แปลว่าเราไม่ไว้ใจประชาชน ดังนั้น อย่าให้มีส.ส.ร.แต่งตั้งแบบที่รัฐบาลกำลังทำ ถ้าเป็นแบบนั้นรัฐธรรมนูญฉบับถัดไปก็มีปัญหา บ้านเมืองก็ไม่ไปไหน.


เมื่อวานคุยเล่น  เรื่องลูกพรรคเพื่อไทย ร้องขอให้ "นายใหญ่" ส่งเมีย "คุณหญิงพจมาน" มาเป็น "ขอนไม้ดุ้นใหม่" ของพรรค ให้ลูกกบ-ลูกเขียดในพรรคได้เกาะ  วันนี้ ขอคุยซีเครียดซักนิด

อนาคต 'คนนินทาเมีย'
'โควิดคลาย-โรคอิจฉาคุ'
ไทย"เหนือคาดหมาย"เสมอ
วิสัยทัศน์"อินทรี-อีแร้ง"
"การ์ดเชิญ"๒๑ ตุลา.
เปิดประเทศ"เปิดตรงไหน?"